1. ตนตรีแห่งราชสำนักเวียดนาม (Nha Nhac, Vietnamese Court Music)
ประเทศเวียดนาม
Nha Nhac (ขอเรียกว่า นานัค นะครับ) แปลว่า ดนตรีอันหรูหรา เกี่ยวโยงกับดนตรีและการฟ้อนรำที่แสดงสำหรับราชสำนักเวียดนามตั้งแต่ศตวรรษ ที่ 15 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 อันเป็นช่วงสิ้นสุดราขวงศ์สุดท้าย ลักษณะเด่นของนานัคก็คือ ใช้แสดงเปิดและปิดงานพระราชพิธีต่างๆ ในอดีตนานัคจะประกอบด้วยวงใหญ่ประกอบด้วย นักแสดง นักดนตรี นักร้อง ในเครื่องแต่งกายเต็มยศ นานัคนอกจากจะแสดงในงานพิธีแล้ว หน้าที่อีกอย่างหนึ่งก็คือการสื่อสารและแสดงความเคารพต่อเทพเจ้า เจ้าแผ่นดิน และรวมถึงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล หลังจากที่ราชวงศ์เวียดนามสิ้นไป เหล่านักดนตรีที่เหลือก้ยังคงสืบต่อ และกลายเป็นแรงบันดาลใจแก่ดนตรีสมัยใหม่ในเวียดนาม
2. พื้นที่ของวัฒนธรรมฆ้อง (The Space of Gong Culture)
ประเทศเวียดนาม
พื้นที่ทางวัฒนธรรมฆ้องอยู่ในเขตที่สูง ตอนกลางประเทศเวียดนามในพื้นที่หลายจังหวัด และ 17 ชนเผ่า ในกลุ่มภาษาออสโตรเอเชี่ยน และออสโตรนีเชี่ยน ฆ้องมีความเกี่ยวพันอย่างแนบแน่นระหว่างชีวิตประจำวันและการเปลี่ยนผ่านของ ฤดูกาล ความเชื่อก่อให้เกิดโลกในตำนานลึกลับ ซึ่งฆ้องสามารถใช้สร้างภาษาเพื่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ ทวยเทพ และโลกเหนือธรรมชาติ ฆ้องเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของสิ่งศักสิทธิ์ ทุกครอบครัวจะมีฆ้องอย่างน้อยอยู่หนึ่งตัว ฆ้องแสดงถึงความมั่งคั่ง อำนาจและเกียรติภูมิของเจ้าของ ฆ้องจะถูกใช้ในงานพิธีต่างๆ แตกต่างกันไปตามหมู่บ้านต่างๆ และต่างกันในแต่ละพิธีการ
3. เพลงพื้นบ้าน Quan H? B?c Ninh (Quan Ho Boc Ninh folk songs)
ประเทศเวียดนาม
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเวียดนาม ตอนเหนือของฮานอย มีหลายหมู่บ้านที่เป็นหมู่บ้านฝาแฝดกัน ที่กระชับความสัมพันธ์กันโดยเพลงพื้นบ้าน การขับร้องเพลงจะเป็นการสลับกันระหว่าง นักร้องหญิงสองคนจากหนึ่งหมู่บ้าน และนักร้องชายสองคนจากอีกหมู่บ้าน โดยนักร้องต้องมีเสียงใกล้เคียงกัน ดังนั้นจึงไม่ใช่ทุกคนที่ร้องเพลงได้ การร้อง จะสลับกันร้องโต้ตอบกันโดยผู้ร้องตอบต้องร้องตอบในทำนองเดียวกันแต่ต่าง เนื้อร้อง มีข้อห้ามด้วยว่าชายหญิงที่ร้องเพลงโต้ตอบกัน จะแต่งงานกันไม่ได้ จากการรวบรวมมีเพลงกว่า 400 เพลง และ 213 ทำนอง เนื้อหาจะเกี่ยวกับความรัก การพลัดพลากและความสุขเมื่อได้เจอกันอีกครั้ง การร้องเพลงจะมีขึ้นในงานพิธี ประเพณีประจำปี และงานสังสรรค์ที่ไม่เป็นทางการ เพลงพื้นบ้าน Quan Ho Bac Ninh ได้แสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณ ปรัชญาและอัตลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
4. การขับร้องเพลงคาตรู (Ca tru singing)
ประเทศเวียดนาม
การขับร้อง เพลงคาตรูเป็นการขับร้องเพลงที่ซับซ้อนจากบทกวี การขับร้องมีแอกลักษณ์โดดเด่นเป็นแบบเฉพาะของเวียดนามที่ไม่ได้รับอิทธิพล จากที่อื่น เอกลักษณ์อยู่ที่วงและทักษะการขับร้องขั้นสูงของผู้ขับร้อง หนึ่งวงจะประกอบไปด้วย นักร้องหญิง มือพิณแบบเวียดนามและคนตีกลอง ผู้ขับร้องหญิงจะขับร้องด้วยเสียงสูงและทำปากแคบที่สุด ใช้เทคนิคการหายใจ และไวเบรโต เพื่อให้เกิดเสียงที่น่าฟังและเป็นเอกลักษณ์ มือกลองจะตีเพื่อยกย่องคนร้องหรือตีบอกจังหวะหรือสามารถตีบอกเมื่อคนร้อง ร้องไม่ดี การร้องกาตรูนั้นอาจจะร้องเพื่อความบันเทิง การแข่งขันหรือการขับร้องในวัง กาตรูประกอบไปรูปแบบทางดนตรี 56 แบบ
5. หนังตะลุง (The Wayang Puppet Theatre)
ประเทศอินโน เซีย
หนังตะลุงมีต้นกำเนิดมาจากเกาะชวา อินโดนีเซีย แล้วแพร่หลายไปที่อื่นๆในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์รวมทั้งประเทศไทย ตลอดหลายร้อยปีที่ผ่านมา หนังตะลุงได้รับความนิยมในราชสำนักชวา บาหลี และรวมถึงชาวบ้านทั่วไป หนังตะลุงจากทุกที่จะต่างกันด้วยขนาด รูปร่าง รูปแบบแต่จะมีความเหมือนกันคือจะทำจากหนังวัวและมีคันชัก และเล่นประกอบดนตรีเครื่องทองเหลืองเช่น ฆ้อง อยู่หลังฉากผ้าขาว เรื่องราวของหนังตะลุงในอินโดนีเซียจะเป็น นิทานท้องถิ่น มหากาพย์จากอินเดียและเปอร์เซีย ในอดีตคนเชิดหนังจะได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่ปลูกฝังค่านิยมและศีลธรรมใน สังคมผ่านการเชิดหนังและเรื่องราวที่ถ่ายทอดผ่านคำพูดและการแสดงของสามัญชน ในเรื่อง ซึ่งนำไปสู่การวิจารณ์ทางสังคมและการเมือง ซึ่งทำให้หนังตะลุงได้รับความนิยมและสิบทอดมาถึงทุกวันนี้
6. กริช (Kris)
ประเทศอินโนเซีย
กริช เป็นดาบสองสั้นสองคม ที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย กริชเป็นทั้งอาวุธและสิ่งของทางจิตวิญญาณเพราะเชื่อว่ากริซมีพลังอำนาจอยู ภายใน กริซมีต้นกำเนิดในเกาะชวาเมื่อประมาณคริสตศตวรรษที่ 10 คุณค่าของกริซอยู่ที่ 3 ส่วน รูปทรงที่มีกว่า 40 แบบ การสลักตกแต่งใบมีดที่มีกว่า 120 ลาย อายุและต้นกำเนิด กริชบางชิ้นนั้นได้รับการตีเป็นอย่างดีด้วยเทคนิคการตีทบไปมาหลายร้อยครังทำ ให้กริชมีความแกร่งและคม กริชยังใช้เป็นเครื่องแต่งกายในงานพิธีต่างๆ ทั้งชายและหญืง เป็นดครื่องแสดงฐานะทางสังคม สัญลักษณ์ของผู้ชนะ และใช้ในพิธีกรรมและการแสดงต่างๆ
7. ผ้าบาติกอินโดนีเซีย ( Indonesian Batik)
ประเทศอินโน เซีย
ผ้าบาติกหรือปาเต๊ เป็นเทคนิคการทำลายบนผ้าที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่เกิดจากการนำขี้ ผึ้งมาวาดลวดลายบนผืนผ้าและลงสี การฟอกย้อมครั้งปล้วครั้งเล่าก่อให้เกิดความงามแก่ผืนผ้า ผ้าบาติกมีปรากฏในหลากหลายพื้นที่ตั้งแต่จีน ญี่ปุ่น อินเดีย อียิปต์โบราณ แต่ที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงที่สุดก็คือผ้าบาติกอินโดนีเซียที่มีหลักฐาน ปรากฏตั้งแต่ ศตวรรษที่ 6-7 บาติกพื้นบ้านจะประกอบด้วยสามสี น้ำเงินเข้ม น้ำตาลและ ขาว แสดงถึงพระพรหม พระศิวะและวิษณุ ผ้าบางลายก็สงวนไว้สำหรับชนชั้นสูงเท่านั้น ผ้าลายกว้าง แถบกว้างจะแสดงถึงชนชั้นสูง นอกจากนี้เมื่อมิพิธี สำคัญเรายังสามรถสังงเกตว่าใครมีเชื้อสายเจ้าจากผ้าที่สวมใส่
8. หนังใหญ่ (Sbek Thom, Khmer Shadow Theatre)
ประเทศ กัมพูชา
สะบักธม หรือการแสดงหนังใหญ่นั้นมีมาตั้งแต่สมัยก่อนนครวัด แรกเริ่มเป็นการแสดงเพื่อถวายแด่ทวยเทพซึ่งจะจัดขึ้นในโอกาสสำคัญเท่านั้น ตัวหนังแกะสลักจากหนังวัวเป็นรูปเทวดาและอสูร ตัวหนังหนึ่งตัวจะแกะสลักจากหนังทั้งผืน เรื่องที่ใช้แสดงคือเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งผู้เล่นก็จะเชิดหุ่นบนฉากผ้าสีขาว ร่วมกับวงมโหรีและผู้ขับร้อง
9. นาฏศิลป์หลวงของกัมพูชา (The Royal Ballet of Cambodia)
ประเทศ กัมพูชา
นาฏศิลป์หลวงของกัมพูชามีชื่อเสียงเรื่องความสง่างาม และเครื่องประดับที่วิจิตร และได้รับกานฟื้นฟูอีกครั้งหลังยุคเขมรแดง นาฏศิลป์หลวงของกัมพูชามีความเกี่ยวข้องและรับใช้ราชสำนักเขมรมากว่าพันปีใน พิธีหลวงต่าง ตัวละครหลักก็จะประกอบด้วย ตัวพระ ตัวนาง ยักษ์ และลิง ซึ่งจะมีเครื่องแต่งกายและท่ารำต่างกันชัดเจน นักแสดงจะต้องฝึกอย่างหนักเพื่อที่จะสื่ออารมณ์ไปยังผู้ชม และถือเป็นผู้ส่งสารจากพระเจ้าแผ่นดินสู่เทพเจ้าบนสรวงสวรรค์
10. บทสวดฮุดฮุดแห่งอิฟูเกา (The Hudhud Chants of the Ifugao)
ประเทศ ฟิลิปปินส์
ชาวอิฟูเกานอกจากจะมีชื่อเสียงด้านการทำนาขั้น บันไดแล้ว ยังมีบทสวดพื้นบ้านที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอีกด้วยเรียกว่าบทสวดฮัดฮัด ประกอบด้วยบทสวดบรรยายมากกว่า 200 เรื่อง แต่ละเรื่องก็แยกย่อยลงไปอีกเรื่องละ 40 บท เรื่องราวจะเกี่ยวกับบรรพบุรุษ วีรบุรุษ กฎหมาย ศาสนา ความเชื่อ หลักปฎิบัติ การสวดจะกระทำโดยผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ระหว่าง ฤดูเพาะปลูก เก็บเกี่ยว งานศพและพิธีสำคัญต่างกว่าจะทำการสวดเสร็จก็กินเวลาหลายวัน โดยจะสวดกันเป็นหมู่คณะคล้ายการร้แงประสานเสียง
11. มหากาพย์ดาเรงเกนของชาวมารันเนาที่ทะเลสาบลาเนา (The Darangen Epic of the Maranao People of Lake Lanao)
ประเทศฟิลิปปินส์
มหากาพย์ดาเรนเกนเป็นมหากาพย์ โบราณที่แสดงถึงความรู้ของชาวมาราเนา ซึ่งเป็นกลุ่มมุสลิมหนึ่งในสามกลุ่มทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ มหากาพย์ประกอบไปด้วย 18 รอบด้วยจำนวนบรรทัดทั้งหมด 72,000 บรรทัด เล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และบรรพบุรุษ ผู้กล้า ตำนาน ซึ่งแฝงไปด้วยเนื้อหาของความรัก ความตาย การเมือง ผ่านการใช้สัญลักษณ์ การเปรียบเทียบและการประชดประชัน นอกจากนี้มหากาพย์ยังได้แสดงให้เห็นถึง ธรรมเนียมกฎหมาย บรรทัดฐานทางสังคม และชาติพันธุ์ ค่านิยมของท้องถิ่น มหากาพย์มีปรากฎก่อนการเข้ามาของศาสนาอิสลาม ในยุคที่ภาษาสันสกฤษเป็นที่แพร่หลายในแถบนี้ การขับร้องมหากาพทำโดยผู้ที่ได้รับการฝึกมาพิเศษ ที่มีความเป็นเลิศในด้าความจำ การ้องสดและการให้ความบันเทิง ในงานแต่งงานซึ่งกินเวลาหลายคืน ซึ่งผู้แสดงจะต้องมีทักษะการร้องอย่างสูง
12. มหรสพมักยง (Mak Yong Theatre)
ประเทศมาเลย์เซีย
ขอเรียกว่ามัก ยงก็แล้วกันนะครับ มักยงเป็นมหรสพโบราณของชาวมาเลย์ในรัฐกลันตันประเทศมาเซีย ซึ่งรวมศิลปะหลายอย่างเข้าด้วยกันทั้งการร้อง การแสดง ดนตรี ท่าทางและเครื่องแต่งกายที่สวยงาม มักยงแสดงเพื่อความบันเทิง หรือพิธีกรรมเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วย ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ามักยงเริ่มมีก่อนยุคศาสนาอิสลามจากการเป็นการแสดงในราช สำนัก ผู้แสดงส่วนมากเป็นผู้หญิง จะทำการขับร้องเล่าเรื่องในวรรณคดีโบราณเกี่ยวกับราชสำนักและเทพเจ้า และตลก ร่วมกับเครื่องดนตรีท้องถิ่น ประกอบด้วยกลอง ฆ้องและซอสามสายแบบมาเลย์