คนัง มหาดเล็กซาไก




 คนังเงาะน้อย


ในลักษณ์นั้นว่ามี ท้องตรา

พระราชสีห์มาสั่งให้

แสวงหาพวกเงาะในไพร

จะมี ใครสมัครภักดี



[พระราชนิพนธ์ เรื่อง เงาะป่า ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]

 
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เคยเสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองพัทลุง ครั้งหนึ่ง เมื่อ ร.ศ. ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒) ครั้งนั้นเสด็จ ฯ ขึ้นไปถึงถ้ำพระวัดคูหาสวรรค์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกพระปรมาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” ไว้ที่เพิงหินหน้าถ้ำ การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้น จะได้ทอดพระเนตรเห็นพวกเงาะป่าบ้างหรือไม่ ไม่มีหลักฐานอะไรจะยืนยันได้ ต่อมาได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองต่าง ๆ ในมณฑลปักษ์ใต้อีกหลายคราว คือในปี ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) ทั้ง ๓ คราวนี้ตามที่จดหมายเหตุไม่ปรากฏว่าได้เสด็จฯ พัทลุง เสด็จฯ แต่นครศรีธรรมราชและสงขลา และก็เห็นจะเป็นในคราวเสด็จฯ เมืองนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ ๓ ถึง ๘ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) นั้นเอง ทางบ้านเมืองได้นำพวกเงาะทั้งเด็กผู้ใหญ่ชายหญิงได้หลายรูปแต่ภาพฝีพระ หัตถฟ์ที่ถ่ายภาพพวกเงาะครั้งนั้นไม่มีภาพนายคนังรวมอยู่ด้วย



พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ได้ทรงสังเกตรูปพรรณสัณฐานและบุคลิกลักษณะของพวกเงาะป่าอย่างถี่ถ้วนด้วย ความสนพระราชหฤทัย ทรงพระราชดำริใคร่ที่จะลองเลี้ยงเงาะป่าดูบ้างดังนั้น

เมื่อ เสด็จพระราชดำเนินกลับพระนครแล้ว จึงมีพระราชดำรัสสั่งเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระยาสุขุมนัยวินิต สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช ให้ส่งลูกเงาะป่าไปถวายสักคนหนึ่ง ไม่ได้ทรงเจาะจงว่าจะต้องเป็นเด็กชายเด็กหญิง ต้องพระาชประสงค์แต่เพียงให้ได้เด็กชายขนาดที่พอจะเเลี้ยงสะดวกไม่ใช่เด็ก อ่อนเท่านั้นแต่ได้ทรงกำชับไปว่ามิให้เกณฑ์เกาะกลุ่มให้เป็นที่ตกอกตกใจจนพา กันเตลิดเปิดเปิงไป ให้ใช้วิธีเกลี้ยกล่อมให้ผู้ใหญ่ยินยอมมอบเด็กให้ เจ้าพระยายมราชจึงได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการเมืองพัทลุงให้ดำเนินการสนอง พระราชประสงค์

ในลักษณ์นั้นว่ามีท้องตรา

พระราชสีห์มาสั่งให้

แสวง หาพวกเงาะในไพร

จะมีใครสมัครภักดี

เลือกให้ได้รูปหมดเหมาะ

ตาม เพศพวกเงาะถ้วนถี่

ดูฉลาดลาดเลาท่วงที

อย่าให้มีบังคับจับกุม กัน



ชะรอย “คนัง” คงจะเป็นผู้มีบุญอันได้สั่งสมอบรมมาแล้วแต่บุรพชาติ จึงดลบันดาลให้หลวงทิพกำแหงผู้ว่าราชการเมืองเลือกสรรเจาะจงเอาตัวส่งเข้ามา ถวาย การนำตัวมานั้นทำกันเป็นระยะ ๆ ผู้ว่าราชการเมืองพัทลุงนำส่งให้ท่านสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช อยู่กับท่านสมุหเทศาภิบาลเป็นแรมเดือน ทั้งท่านเจ้าคุณและคุณหญิงช่วยปลอบโยนเอาใจให้หายเหงา

 
พอเคย หน่อยค่อยสบายหายหวาดเสียว

คนังเหลียวหลังกลืนสะอื้นไห้

เสีย ดาบทับนับวันแต่จะไกล

แสนอาลัยวงศ์วานว่านเครือ

ห่วงเถื่อน ถ้ำลำธารชานไศล

เพื่อนไม้ไผ่คู่ชีวิตคิดถึงเหลือ

เคยเป่านก จับปลามาจานเจือ

จะนั่งเบื่อบ่นร่ำทุกค่ำคืน


ก่อนที่จะ ส่งตัวเข้าไปถวายที่ในพระบรมราชวังนั้น เจ้าพระยายมราชได้ส่งรูปคนังที่ท่านถ่ายไว้พร้อมทั้งได้มีหนังสือกราบบังคม ทูลชี้แจงว่า จะให้ท่านผู้หญิงเป็นผู้นำตัวเข้าเฝ้าฯ ขอให้หาของเล่นสีแดง ๆ ไว้ล่อ และขอให้เตรียมข้าวสุกกับกล้วยน้ำว้าไว้ให้กิน ทั้งยังจำเป็นที่จะต้องมีพี่เลี้ยงเพราะยังเด็กอยู่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงทราบความในหนังสือกราบบังคมทูลแล้ว ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็น พระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ทรงรับเลี้ยง ดังที่เคยทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าพระยายมราชว่า

“... อ้ายคนังตั้งแต่มายังไม่เจ็บเลย เจ้าสาย นั้นหลงรักเหลือเกินทีเดียว เพราะมันไม่ได้ไปเที่ยวข้างไหนเลย อยู่แต่บนเรือน ช่างประจบด้วยความรู้ประมาณตัวเองในสันดาน ทั้งถือตัวว่าเป็นลูก ก็พูดอยู่เสมอว่า ลูกข้าไม่ได้ไว้ตัวเทียบลูกเธอ รักแลนับถือไม่เลือกว่าใคร ไว้ตัวเองเสมอหม่อมเจ้า ไม่มีใครสั่งสอนเลย...”
 

เมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเฉลิมพระราชมณเฑียรพระที่นั่งอัมพรสถานใน ปี พ.ศ. ๒๔๔๙ แล้ว คนังก็ได้มาอยู่ที่พระที่นั่งอัมพรกับพระวิมาดาเธอฯ ที่มุมขวาง ทรงจัดห้องให้อยู่โดยเฉพาะเป็นห้องข้างห้องบรรทมพระวิมาดาเธอฯ เช่นเคย เครื่องตกแต่งห้องหรูกว่าที่เคยอยู่วังหลวงและพระที่นั่งวิมานเมฆมาก มีเตียงนอนเด็กชนิดมีลูกกรงกันตก มุ้งผ้าโปร่งเม็ดพริกไทยเหมือนกับพระวิสูตรเจ้านายอย่างไรอย่างนั้น ที่นอน ผ้าปูที่นอน หมอนปลอกหมอนเย็บเป็นพิเศษด้วยผ้าแดงล้วน ผ้าห่มที่นอนมีทั้งแพรเพลาะแดง ผ้าดอกแดงและผ้าบลังเก็ทแดง (Blanket) นอกจากนี้ก็มีโต๊ะเครื่องแป้ง โต๊ะล้างหน้า เสื้อผ้าชนิดมีกระจกเงา มีแม้แต่กระทั่งหม้อถ่ายปัสสาวะชนิดกระเบื้องอย่างหรูเช่นเดียวกับที่เจ้า นายทรงใช้ ตั้งไว้ให้ในตู้ข้างเตียงนอน รวมความว่าเครื่องใช้สอยไม้บริบูรณ์เกือบจะได้ว่าแทบไม่มีอะไรผิดกว่าของ เจ้านายในสมัยนั้นเลยทีเดียว

 

 พระบาทสมเด็จ พระพุทธเจ้าหลวงโปรดทรงงานในเวลากลางคืนเกินกว่าจะได้เข้าที่พระบรรทมก็จวน รุ่ง บางวันก็เข้าที่พระบรรทมในเวลาราวบ่ายโมง พอได้เวลาที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงตื่นพระบรรทม นายคนังก็ต้องขึ้นไปที่ห้องของตนบนพระที่นั่ง เพื่อแต่งตัวเข้าเฝ้า ฯ ในเวลาเสวยพระกระยาหาร ตอนเสวยกลางวันนี้โดยปรกติประทับเสวยกับพื้น เจ้านายชั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าลูกเธอร่วมโต๊ะเสวยด้วย พระราชวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าที่ทรงชุบเลี้ยงใกล้ชิดเฝ้าปฏิบัติรับใช้ นายคนังมหาดเล็กก็เฝ้าปฏิบัติรับใช้ ใกล้ชิดขนาดพระราชวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าเหมือนกัน โดยปรกติจะรับสั่งให้เข้าไปนั่งชิดพระยี่ภูที่ประทับ ทรงซักถามถึงเรื่องต่าง ๆ เช่นเรื่องความเป็นอยู่ของพวกเงาะป่าที่พัทลุงเป็นต้น และที่จะต้องมีพระราชดำริดำรัสถามอยู่เป็นประจำก็คือถามว่า “เมื่อ เช้านี้กินข้าวกับอะไรบ้าง”

ใน ตอนที่เข้าไปอยู่ใหม่ ๆ อาหารคือข้าวสุกกับกล้วยน้ำว้า ต่อมาพระวิมาดาเธอฯ ท่านก็ให้หัดกินอาหารอย่างอื่น ๆ ด้วยก็รู้สึกว่ากินได้ทุกอย่าง แต่ของหวานที่ต้องมีเป็นประจำเพราะชอบเหลือเกินก็คือข้าวเม่าคลุกกับกล้วย น้ำว้าหรือกล้วยไข่ วันไหนมีอาหารอะไรแปลก ๆ กินแล้วก็ถามชื่อไว้ ตอนแรก ๆ ไม่มีใครทราบว่าแกถามทำไม ภายหลังจึงทราบว่าต้องการรู้จักจะได้กราบบังคมทูลตอบได้ ยิ่งอยู่นานเข้าก็เป็นที่ประจักษ์ว่าคนังเป็นเด็กฉลาดมากที่สุด มีไหวพริบทันคน และรู้จักประจบประแจงเก่งที่สุด ทำตัวให้เป็นที่ตลกขบขันได้ต่าง ๆ โวหารปฏิภาณดีโต้ตอบใครไม่มีจนแต้ม ความจำแม่นยำ สังเกตจิปาถะ แม้กิริยาท่าทางของคนคนังก็สังเกตจดจำทำท่าได้เหมือนหมด การเรียกใครว่าอย่างไรก็ไม่มีใครสอนคิดเรียกเองทั้งนั้น จากคำที่แกเรียกใครต่อใคร ทำให้เห็นว่าเข้าใจประจบ เข้าใจเรียก และเรียกอย่างมีเหตุผลอยู่ไม่น้อย แกเรียกพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้า หลวงว่า “คุณพ่อหลวง เรียกพระวิมาดาเธอฯ ว่า “คุณแม่” เรียกเจ้าพระยายมราชและท่านผู้หญิงว่า “คุณพ่อ-คุณแม่ที่บ้าน” เรียกสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ว่า “คุณพี่เผือก” เรียกสมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนพดารากรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญาว่า “คุณพี่ขาว” เรียกสมเด็จเจ้าฟ้านิภานพดลกรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารีว่า “คุณพี่ดำ” เพราะพระฉวีท่านคล้ำกว่าพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีที่กล่าวพระนามมาแล้ว

 เป็น ที่น่าประหลาดใจเหลือเกินที่เฉพาะเจาะจงเรียกคุณพี่แต่พระโอรสพระธิดาในพระ วิมาดาเธอฯ ซึ่งเขาเรียกว่าคุณแม่ กับพระธิดาในพระอัครชายาเธอซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีของพระวิมาดาเธอฯ เท่านั้น เจ้านายพระองค์อื่นไม่เรียกคุณพี่สักพระองค์เดียว แล้วยังซ้ำเรียกว่าอ้ายไม่ว่าใครเสียด้วยเช่นเรียก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธว่า“ อ้ายตาขยิบ” เรียกสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่า “อ้ายนอนนะนิล” เรียกกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยว่า “อ้ายนิลนะหับ” เรียก กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินว่า “อ้ายกำแพงหัก” เรียก เจ้ากรมเอี่ยมว่า “อ้ายหมอนวด”เพราะท่านมีหน้าที่ถวายงานนวด เรียกหม่อมศิริวงศ์วรวัฒน์ (ม.ร.ว. ฉายฉาน ศิริวงศ์) ว่า “อ้ายอา” เป็นต้น

 
ไม่ว่าคนังจะเล่นพูดจาอะไรกับใครว่าอย่างไร ก็ไม่มีใครถือสา ยกให้เสียว่าเป็นคนป่าไม่รู้จักขนบธรรมเนียม กิริยาท่าทางของแกดูจะเป็นครึ่งลิงครึ่งคน แต่ก็ค่อนมากทางคนมากหน่อยดังนั้น ไม่ว่าจะทำอะไรคนก็เอ็นดูขบขันไปหมด ผมของแกก็ไม่เหมือนของคนเราชาวกรุงมันขมวดม้วนไปหมด เวลาพี่เลี้ยงล้างผมจะเห็นยาวสักคืบกว่า ๆ แต่พอเช็ดให้แห้งแล้วก็ไม่ต้องหวีเพียงใช้มือตบ ๆ ก็จะม้วนขมวดกลมเข้ารูปกะโหลกศีรษะได้เองอย่างเรียบร้อย ดูลักษณะของผมที่หยิกขมวด ใคร ๆ ก็ลงความเห็นว่าน่าจะเป็นที่เก็บเหาแต่ไม่ปรากฏว่าเป็นเหา แม้แต่ร่องรอยว่าจะเคยเป็นเหาเมื่ออยู่ป่ามาบ้างก็ไม่มี เพราะผมอย่างนี้ถ้าเคยเป็นเหามาแล้ว ใครจะรูดไข่ออกอย่างไรก็ไม่หมดเกลี้ยงได้คงต้องเหลือให้เห็นบ้าง และที่น่าแปลกอย่างมากก็คือกลิ่นตัวกลิ่นหัวไม่มี ไม่เหม็นสาบเหม็นสางเลย เพราะอย่างนี้พระวิมาดาเธอฯ ท่านถึงได้กอดด้วยความเมตตาปรานีอย่างหลานได้

เมื่อ เดือนธันวาคม ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถ่ายรูปคนังพิมพ์ขายที่ร้านถ่ายรูปหลวงในงานวัดเบญจมบพิตรราคาขายถึงแผ่น ละ ๓ บาท ซึ่งนับได้ว่าเป็นราคาที่สูงมากในสมัยนั้น เพราะค่าของเงินยังไม่สูงมากไม่ต่ำเหมือนเดี๋ยวนี้ ข้าวสารถังหนึ่งราคายังไม่ถึง ๓ บาท แต่ก็ปรากฏว่าขายดีจนไม่พอขาย แต่เดิมโปรดให้พิมพ์รูปได้เพียง ๒๓๐ รูป แต่ขายดีจนไม่พอขายต้องพิมพ์เพิ่ม ได้เงินค่าขายรูปเกือบ ๑,๒๐๐ บาท ทรงแบ่งเงินเป็น ๓ ส่วน ถวายวัด ๑ ส่วน ใช้จ่ายเป็นค่ากระดาษน้ำยาที่ใช้ถ่ายรูป ๑ ส่วน พระราชทานแก่คนัง ๑ ส่วน ครั้นเมื่อคราวแสดงละครเรื่อง “เงาะป่า” เงินดูละครทั้งสิ้นก็พระราชทานแก่คนัง นับได้ว่ารวยมากทีเดียวเพราะมีแต่ได้ไม่มีเรื่องจะต้องใช้เงินเลย แม้ว่าการมาอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารจะมีความผาสุกอย่างไร แต่คนังก็ยังหาได้เคยลืมพี่น้องพวกพ้องและถิ่นเดิมของเขาไม่ เขากราบบังคมทูล ขอให้เขาส่งรูปเขาไปให้พี่น้องพวกพ้องบ้าง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงส่งรูปนั้นไปให้เจ้าพระยายมราชพร้อม ทั้งมีลายพระราชหัตถเลขากำกับไปด้วย"

ไม่ มีใคร ถือสา คนัง 

 หม่อมศิริวงศ์ฯ ผู้นี้ พระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทุกพระองค์ ตลอดจนพระโอรสพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าร่วมพระราชชนนีเดียวกับพระบาทสมเด็จพระ พุทธเจ้าหลวงเรียกว่า “อา” ทั้ง ๆ ที่พระชันษามากกว่าหม่อมศิริวงศ์ฯ มูลเหตุที่ท่านจะเรียกกันอย่างนั้นคือ วันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมีกระแสพระราชดำรัสเป็นเชิงสัพยอกหม่อม ศิริวงศ์ฯ เมื่อยังเด็กอยู่ว่า “ตาฉาย เจ้ารู้ไหมว่าเจ้าเป็นอะไรกับข้า” หม่อมศิริวงศ์ฯ กราบบังคมทูลว่า “เป็นน้อง” ที่กราบบังคมทูลดังนั้นก็เพราะเธอลำดับสายสัมพันธ์ของเธอว่า พระบิดาของเธอคือพระองค์เจ้าฉายเฉิด กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ทรงเป็นพระอนุชาในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ดังนั้นเธอก็ต้องเป็นน้องพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย แม้ในความจริงสายสัมพันธ์จะเป็นดังนั้น แต่ธรรมเนียมไทยแต่ไหนแต่ไรมายกย่องเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ถ้ามิใช่พระราชวงศ์ที่สูงศักดิ์แล้วก็ไม่มีใครที่อาจเอื้อมไปลำดับญาติกับ ท่าน ต้องถือว่าตัวเป็นเพียงข้าแผ่นดินของท่าน เมื่อหม่อมศิริวงศ์ฯ กราบบังคมทูลด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ลำดับญาติกับท่านเข้า ก็ทำให้ผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนที่ได้ยินตกอกตกใจกันมาก เกรงว่าจะทรงพระพิโรธในความบังอาจไม่รู้จักที่ต่ำที่สูงของหม่อมศิริวงศ์ฯ แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงไม่กริ้วกลับพอพระราชหฤทัยเป็นนักหนา ตรัสชมว่าฉลาด และยิ่งทรงพระเมตตาหม่อมศิริวงศ์ฯ ยิ่งขึ้น ส่วนพระราชโอรสพระราชธิดาของท่านตลอดจนพระโอรสพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดชก็เลยทรงเรียกหม่อมศิริวงศ์ว่า “อา” กันแทบทุกพระองค์ นายคนังได้ยินเจ้านายท่านเรียก“อา” ก็เลยเดาะ “อ้ายอา” เข้าบ้าง

ผู้ที่ คนังไม่เรียกอ้ายเลยก็มีเหมือนกัน เช่น เรียกสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตว่า “ตุ๊กกระหม่อมชาย” เข้าใจว่าคงจะได้ยินคนอื่นเขาเรียกท่านว่าทูนกระหม่อมชายคิดไม่ออกว่าจะตั้ง ฉายาท่านว่ากระไรก็เลยตามเขา เรียกกรมหลวงสรรพ สาตรศุภกิจ พระเจ้าน้องยาเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า “ดุ๊ก” เรียกเจ้าจอมจรวยว่า “นางรวย” เรียกเจ้าจอมมารดาวาดว่า “ปลาไหล” เหตุที่คนังเรียกเจ้าจอมมารดาวาดว่าปลาไหล ก็เพราะท่านมีหน้าที่แต่งพระภูษาประจำวันถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง คือพอจะทรงเครื่องเสด็จออกข้างหน้าท่านก็จะเชิญพระภูษาเข้าไปแต่งถวาย เวลาแต่งพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็จะมีกระแสพระราชดำรัสกับท่าน บางทีท่านก็กราบบังคมทูลเรื่องราวต่าง ๆ วันหนึ่งทรงพระภูษาต่อหน้าคนัง เผอิญวันนั้นท่านเจ้าจอมมารดาท่านกราบบังคมทูลถึงเรื่องแกงปลาไหล กราบบังคมทูลพลางแต่งพระภูษาไปพลาง นายคนังเลยคิดว่าการแต่งพระภูษา (โจงกระเบน) นั้นเรียกว่าปลาไหลก็เลยตั้งชื่อคุณจอมผู้มีหน้าที่แต่งภูษาว่า “ปลาไหล”

ส่วนเจ้าจอมสมบูรณ์ คนังเรียกว่า “ท่านบุญอาคุณ” ดูเต็มยศเต็มอย่างกว่าใคร ๆ หมด ทั้งนี้ไม่ใช่อะไร เป็นความฉลาดช่างประจบประแจงของเขาเอง เจ้าจอมสมบูรณ์ท่านเป็นหลานเจ้าสัวร่ำรวยมากทั้งยังเป็นคนใจใหญ่ใจกว้าง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ท่านจึงเป็นเจ้าบุญนายคุณของคนมาก นายคนังอยากได้อะไร พี่เลี้ยงสอนให้ไปประจบขอเอาจากท่าน นายคนังก็เข้าไปประจบแล้วก็ได้อะไรต่ออะไรที่อยากได้เสมอ และเห็นทีแกจะได้ยินใคร ๆ พูดว่า ท่านเป็นเจ้าบุญนายคุณเป็นแน่ จึงเลยเรียก “ท่านบุญอาคุณ” ผู้หญิงก็เรียกว่า อ้าย แต่ถ้าเขาเล่าเรื่องของพวกเขา เขาจึงจะใช้ “อี”เช่นเรียก “ลำหับ” ว่า “อีลำหับ” ที่เป็นเช่นนี้จะมีเหตุผลอย่างไรก็ไม่ทราบ"

 คนัง มหาดเล็กผู้มีมารยาทดีเยี่ยม

 ในการที่แกมีโอกาสได้ตามเสด็จออกไปให้ข้าทูล ละอองธุลีพระบาทฝ่ายหน้าเฝ้ากราบบังคมทูลข้อราชการนั้น แกได้ยินคำกราบบังคมทูลและพระราชกระแส แต่ใครอย่าไปถามแกให้ยากเลยว่ามีใครกราบบังคมทูลว่ากระไร และพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงตรัสว่าอย่างไร แกไม่ยอมบอกทั้งนั้น เว้นแต่พระวิมาดาเธอฯ ซึ่งแกเรียกว่าคุณแม่รับสั่งถามแกจึงจะบอก แล้วจะทำท่าทางของผู้เฝ้าฯ ถวายทอดพระเนตรด้วย นับได้ว่าเป็นผู้รักษามรรยาทของมหาดเล็กได้ดีอย่างเหลือเกิน

คนัง เป็นเด็กซึ่งปกครองง่าย ไม่ดื้อรั้น ไม่ขวางหูขวางตารู้จักทีขึ้นทีลง ผ่อนผันตัวเองได้ไม่ว่าเรื่องใดและในสถานที่อย่างใด ไม่กำเริบโอหังถือตัวว่าเป็นคนที่พระบาท

สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรด ปราน ประจบเก่งเข้าใกล้ชิดสนิทสนมได้หมดไม่ว่าใคร ๆ นับได้ว่าเป็นนักสังคมที่เก่งมาก

 

 

ภาพถ่ายคราวเสด็จประพาส ต้น ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๔๙ พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ประทับอยู่หัวแถวซ้ายสุด ถัดมา กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย กรมพระยาสมมตอมรพันธ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ กรมขุนสรรพศาสตร์ศุภกิจ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระยาบุรุษรัตนราชวัลลภ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ทรงขี่คอพระยาโบราณราชธานินทร์ เงาะคนังนั่งบนคอพระยานิพัทธราชกิจ พระยาพิพิธฯและพระยาราชัยสรรค์


 

ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


 


 

ครั้งหนึ่งคะนังเคยแต่งกาย เป็นเจ้าเงาะในละคร
 เรื่องสังข์ทอง ไม่ต้องสวมหัวเงาะก็เป็นเงาะอย่างสมบูรณ์



ข้าว คลุกกะปิ หมูหวาน เครื่องเสวยที่พระพุทธเจ้าหลวงโปรดปราน
 

เครื่องเสวยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวนั้น ได้ยินมาว่า ที่โปรดฯ มากอย่างหนึ่งคือ ข้าวคลุกกะปิซึ่งมีหมูหวานเป็นเครื่องปรุงอยู่ด้วย

          พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร ทรงเรียบเรียงไว้ว่า คุณท้าววรจันทร (วาด) ซึ่งเป็นคุณย่าของพระองค์

 
 คุณ ท้าววรจันทร (วาด)
 
 
ผู้เรียบ เรียงนั้น ได้เคยตั้งเครื่องเสวยถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่บ้าง เป็นครั้งคราว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เมื่อเสด็จฯ ประทับสวนดุสิต (เวลานั้นยังไม่โปรดฯ ให้เรียกว่าพระราชวัง) คุณท้าววรจันทร ซึ่งมีหน้าที่เฝ้าพระบรมมหาราชวัง
อยู่ เวลามีงานพระราชพิธีหรือมีงานจรทางราชการ เช่น เสด็จฯ ออกรับพระราชสาส์นจากทูตต่างประเทศ ซึ่งจะต้องเสด็จเข้า
มาในพระบรม มหาราชวัง บางคราวที่คุณท้าววรจันทรมิได้ตั้งเครื่อง ก็มีรับสั่งขอ

          ครั้งหนึ่ง คุณท้าววรจันทรท่านไม่รู้ตัว ไม่ได้ตระเตรียม พอคุณจอมเชิญพระกระแสรับสั่งมาขอเครื่องเสวยในทันที ท่าน
ก็รีบจัดสำรับของท่านเองถวายขึ้นไป กลับได้รับพระราชดำรัสชมเชยว่ากับข้าวอร่อย โดยเฉพาะหมูหวาน ซึ่งเป็นของประจำสำรับ
ของท่านขาดไม่ได้นั้น ทำให้ทรงระลึกถึงกาลก่อนครั้งทรงพระเยาว์ได้เคยเสวยหมูผัดเช่นนี้บ่อยๆ ทรงอธิบายว่าหมูอย่างนี้ แต่ก่อน
เรียกกันว่า หมูผัด คำว่าหมูหวานเป็นคำใหม่ เกิดขึ้นภายหลัง

          ครั้นสิ้นรัชกาลที่ ๔ แล้ว มิใคร่ได้เสวยหมูผัดเช่นนี้เลย ทรงยกย่องถึงโปรดฯ ให้ตีฆ้องร้องป่าวทั่วพระราชสำนักว่าได้เสวย
หมูผัดของท้าววรจันทร เป็นหมูผัดชนิดหนึ่งซึ่งทำดีเกือบเหมือนที่เคยเสวยครั้งรัชกาลก่อน จะพระราชทานน้ำตาลสามเท่าลูกฟัก
เป็นรางวัล........

ที่มาของข้อมูลจาก หนังสือพระราชอารมณ์ขัน จากวังสวนจิตรฯ และปกิณกะคดีของวิลาศ มณีวัต



 

Credit: http://atcloud.com/stories/78240
15 มิ.ย. 53 เวลา 03:51 8,325 2 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...