อุบัติเหตุประหลาด รถไฟสยามชนช้างป่า


Le Petit Journal ออกวางจำหน่ายในฝรั่งเศสเมื่อ9 สิงหาคม 1908 ตีพิมพ์ภาพหน้าปกที่เห็นข้างล่าง เนื้อข่าวพาดหัวว่า

“โศกนาฏกรรม ประหลาดเกิดขึ้นกับรถไฟในเมืองสยาม
หัวรถจักรชนกับช้างในตอนกลางคืน

เนื้อ ข่าวข้างในบรรยายไว้ดังนี้

ที่สยาม

เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ขึ้นบนทางรถไฟระหว่างบ้านภาชีจะมามากรุงเทพ เมื่อเข้าทางโค้ง พนักงานขับรถจักรมองเห็นไม่ชัดในความมืดมิด จึงเกิดเหตุเฉี่ยวชนช้างตัวใหญ่ที่กำลังพยายามจะข้ามทางรถไฟ

ทุกคน ตกใจอย่างสุดขีดเมื่อรถจักรถูกเหวี่ยงตกราง ตู้โดยสารแตกเป็นเสี่ยงๆทำให้ชายสองคนตายและผู้โดยสารหลายคนบาดเจ็บกันระนาว ช้างถูกฉีกกระจายออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ห่างจุดปะทะถึง20เมตร

เหตุการณ์ ที่รถไฟชนช้างและตกรางนี้เกิดขึ้นในสยามเป็นครั้งที่สองแล้ว เมื่อเดือนกุมภาพันธุ์ปีก่อน ก็มีช้างตัวหนึ่งถูกรถไฟชนตายที่ลพบุรี แต่ครั้งนั้นรถไฟตกรางเสียหายน้อยกว่าครั้งนี้มาก

ในภาพเป็นหัวรถ จักรที่ใช้ในสมัยนั้น ซึ่งเป็นช่วงปลายของรัชกาลที่ห้า ระหว่างปี พ.ศ 2449 จนถึง พ.ศ 2453 ก็ได้มีการทะยอยนำเข้ารถจักรไอน้ำ "โมกุล” ที่ผลิตขึ้นโดย บริษัท แฮนโนเวอร์เช แมชชีนเนนเบอะ (ยอร์จ อีเกาทอฟ์ฟ) หรือที่รู้จักกันในชื่อเดิม คือ "ฮาโนแมก" แห่งประเทศเยอรมัน มาใช้งานในกรมรถไฟหลวงรวม 13 คัน

 

 



 
 

ตัวเลขที่บรรยายจะมาร์คไว้ตรงรูปครับ

จากบันทึกของกรมรถไฟหลวง  ผิดไปจากข่าวของฝรั่งเล็กน้อย แต่มีรายละเอียดมากกว่า ดังนี้

-วัน ที่ 4 มิถุนายน 2451 รถไฟที่มีต้นทางจากนครราชสีมา แล่นมาถึงระหว่างสถานีเชียงรากใหญ่ กับ เชียงรากน้อย ชนกับช้างพังที่ขึ้นมาบนคันดินรถไฟ พนักงานถึงแก่ความตาย 3 คน (หัวมุดเข้าเตาไฟไป 1 คน, พนักงานห้ามล้อตัวขาด 2 ท่อน ไป1 คน และอีกคนหนึ่งบาดเจ็บสาหัส ทนพิษบาดแผลไม่ไหว) บาดเจ็บหนึ่ง รถไฟตกราง 13 คัน (ไม่ตกราง 13 คัน)

พนักงาน ห้ามล้อที่ตาย 2 คน ทางราชการต้องจ่ายบำเหน็จ 300 บาทเพื่อไถ่ตัวพ่อแม่ของพนักงานห้ามล้อที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งยังเป็นทาสที่ไถ่ถอนค่าตัวไม่หมด ให้เป็นอิสระ และ อีก 175 บาทให้ครอบครัวพนักงานห้ามล้ออีกคนเพื่อ ใช้ในงานศพ

-สาเหตุที่ชน เพราะเป็นเวลากลางคืนช้างเดินข้ามทางรถไฟในเวลาที่รถแล่นมาอย่างกระชั้นชิด

-เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เจ้ากรมไวเลอร์และ เจ้าหน้าที่ กรฟ.ไปที่เกิดเหตุในวันที่ 5 มิถุนายน 2451 พร้อมกับช่างภาพซึ่งได้ทำการตั้งกล้องทางฟากตะวันตกของทางรถไฟ

และมีการอธิบายภาพไว้ ด้วย(ตามตัวสะกดเดิม)

ภาพที่1
1.ซาก ช้าง
2.รถจักรคันนำ
3.รถฟืนสำหรับรถจักรคันนำ
4.รถจักรคันหลัง
5.รถบันทุกรางเหล็กเกยพื้นรถกาด
6.พื้นรถกาด (รถของพนักงงานห้ามล้อ) ที่พังกระเด็นลงไปทั้งโครง
7.หลังคารถแบรก
8.รถบันทุกของที่ย่นขัดต่อกันตก รางต่อๆไป

 



 

ภาพที่2 ตั้งกล้องถ่ายฟากตะวันตกทางรถไฟเยื้องมาข้างเหนือ

อธิบาย ภาพ
5.รถบันทุกรางเหล็กเกย พื้นรถกาด
6.พื้นรถกาดที่ พังกระเด็นลงไปทั้งโครง
7.หลังคา รถแบรก
8.รถบันทุกของที่ ย่นขัดต่อกันตกรางต่อๆไป
9.รถไฟ สำหรับรับส่งผู้โดยสารไปกรุงเก่า



 

ภาพที่3
ตั้ง กล้องถ่ายฟากตะวันตกทางรถไฟเยื้องมาข้างใต้

อธิบายภาพ
2.รถจักรคันนำ
3.รถฟืนสำหรับรถจักรคันนำ
4.รถจักรคันหลัง
5.รถบันทุกรางเหล็กเกยพื้นรถกาด
6.พื้นรถกาด
7.หลังคารถแบรก
8.รถบันทุกของ
9.ตัวรถแบรก
10.รถเครื่องมือสำหรับยกรถที่ เอาไปตั้งทำการ

 


 
 

ภาพที่4

อธิบาย ภาพ
1.รถเครื่องมือกับรถ รับคนโดยสารที่มาจากกรุงเทพฯ
2.รถ จักรคันนำ
3.รถฟืนสำหรับรถ จักรคันนำ
4.รถจักรคันหลัง
7.หลังคารถแบรก
8.รถบันทุกของที่ย่นขัดต่อกัน ตกรางต่อๆไป
 



 

ภาพทั้ง4เป็นเอกสารหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัส ร.5 ยธ 5.6/43 รถไฟตกรางคราวชนช้างครั้งที่2 - 5 มิถุนายน 2451

เหตุที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้เราทราบว่า ในสมัยรัอยปีเศษๆมานี้นั้น แถวทุ่งรังสิตบริเวณเชียงรากน้อยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปตั้งอยู่ ยังมีช้างป่าเดินไปเดินมาอยู่เลย

(ภาพและเรื่องที่นำมาลงในกระทู้นี้ ได้มาจากหนังสือพระพุทธเจ้าหลวงกับชาวกรุงเก่า;สถาบันราชภัฏพระนครศรี อยุธยา2543 และจากเวปของรถไฟไทยดอทคอม)
…………………………………………………………………………………….....….

ผม ลองเข้าGoogle Earth หาจุดเกิดเหตุดู พบว่าทางรถไฟช่วงนั้นตั้งแต่พ้นดอนเมืองมาจนถึงบางปะอิน มีโค้งอยู่โค้งเดียว ซึ่งจะว่าไปแล้วก็ไม่เห็นจะโค้งมากมากมายอะไร

 


 

แต่ที่น่าสนใจ ในระยะสัก5กม.ห่างออกไปทางแม่น้ำ มีตำบลชื่อว่า ตำบลช้างใหญ่ อยู่ในอำเภอบางไทร ตามประวัติ เดิมพื้นที่ชุมชนเป็นป่า ชาวบ้านเล่ากันต่อๆ มาว่าบริเวณที่ตั้งของตำบลนี้ สมัยก่อนมีฝูงช้างมาอาศัยมากมาย เป็นป่าไผ่และมีรางเพนียดช้าง ซึ่งเป็นที่ดักช้างให้หลงมารวมชุมนุมไว้ที่บริเวณแห่งนี้ ซึ่งชาวบ้านเห็นรอยเท้าช้างใหญ่มาก จึงใช้เรียกชื่อตำบลแห่งนี้ว่า “ตำบลช้างใหญ่”
 


 
 
 

เอา รูปการต้อนช้างป่าเข้าเพนียดที่อยุธยาในสมัยรัชกาลที่ห้ามาแถมให้ดู จะเห็นว่าช้างป่าสมัยโน้นชุกชุมจริงๆ
 


 

พระ ราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔

                                    .... ในเดือน ๒ นั้น  ดำรัสว่า  เมื่อเดือน ๑๑ นั้น  มีผู้ได้เห็นช้างเผือกลูกโขลงกินอยู่ที่ท้องทุ่ง แขวงเมืองนครนายก  ครั้นจะให้ออกไปสืบดูก็เป็นฤดูน้ำอยู่  บัดนี้ตกแล้งแล้ว  โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา เสด็จขึ้นไปเอาช้างต่อหมอควาญกรมช้างโขลงไปเที่ยวค้นดู ....

                                    .... ครั้นมาถึงเดือน ๗ ข้างขึ้น  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์ บอกลงมาว่า  ได้ไปต้อนโขลงมารวมตำบลไผ่เขียวไผ่ขาด  พรมแดนเมืองนครนายกเมืองปราจีนบุรีต่อกัน  ฝูงช้างสำคัญออกมาจากป่าหลังวัดน้ำฉ่า  ได้เห็นกลางทุ่งไผ่เขียวไผ่ขาดพร้อม  จึงได้ชักนำโขลงนั้นมาเข้าคอกบ้านนาแขวงเมืองนครนายก  คล้องได้ช้างเผือกเอก เมื่อ ณ เดือน ๗ ขึ้น ๘ ค่ำ (วันอาทิตย์ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๐๗)  ติดลำโยงปลูกโรงเข้าไม้ฝึกหัดที่บ่อโพง  ช้างนั้นสีขาวบริสุทธิ์เป็นเผือกเอก  จักษุขาวใสบริสุทธิ์ขนหางขาวเจือเหลืองสีตัวขาวเจือชาด  จะงอยปากล่างขบขึ้นไปเหมือนปากนกแก้ว  ได้เสด็จขึ้นไปทอดพระเนตรที่บ่อโพงแล้ว  รับสั่งให้ปลูกโรงที่น่าเพนียดเก่าแล้วก็ย้ายมาสมโภชที่โรงใหม่  แล้วเสด็จกลับลงมาฉลองวัดชุมพลนิกายาราม เกาะบางปะอิน เมื่อ ณ เดือน ๗ ขึ้น ๑๒-๑๓-๑๔ ค่ำ  ได้ถวายผ้าไตรแก่พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์  มีการมหรสพสมโภช ๓ วัน ๓ คืน

                                    ครั้นการฉลองวัดเสร็จแล้ว  ก็เสด็จกลับลงมากรุงเทพ ฯ มหานคร  โปรดฯ ให้พระราชาคณะและพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าฝ่ายใน  ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยผลัดเปลี่ยนกันขึ้นไปดูทุกคน  กลับลงมากราบทูลว่า  เห็นช้างนั้นดีเสมอเหมือนพระเทพกุญชร และพระยาเสวตกุญชร พระยาเสวตไอยรา พระยาเสวตคชลักษณ์ และนางพระยาช้างที่คล้องได้ใหม่นี้  ถ้าจะเทียบกับช้าง ๔ ช้าง  สีตัวก็ผิดกันบ้าง  เหมือนช้างประสมสี  ลางทีฝุ่นมากไป  ลางทีเอาเหลืองเจือบ้าง  ลางทีเอาชาดเจือบ้าง  สีจึงไม่ตรงกัน  แต่เป็นตระกูลเดียวกัน  ไม่เป็นตระกูลเหมือนอย่างช้าง ๕ ช้างที่ได้มาแต่ป่าฉะมาตฉะบาแต่ก่อนนั้น  แล้วเสด็จขึ้นไปประทับวังจันทรเกษม  โปรดฯ ให้มีละครข้างในและการเล่นอื่นๆอีกเป็นหลายอย่าง  สมโภชที่โรงหน้าเพนียด ๓ วัน ๓ คืน  เป็นการใหญ่แล้วก็เสด็จกลับลงมา .....

ช้างผังเอกเอกช้าง นี้เรียกกันว่า "นางพระยาศิวโรจน์"


และพ่อหมอใหญ่ออกคล้องช้าง อีกหลายครั้งในที่บน (แขวงสระบุรี นครนายก)  ได้ช้างเป็นกำลังราชการอีกมากมาย
 

 

 

Credit: http://atcloud.com/stories/78746
15 มิ.ย. 53 เวลา 03:38 9,980 20 396
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...