สมองของวัยรุ่นที่เล่นสังคมออนไลน์

 

วงจรสมองส่วนที่ถูกกระตุ้นเมื่อทานช็อกโกแล็ตและได้เงินรางวัล จะถูกกระตุ้นเช่นกันเมื่อวัยรุ่นเห็นจำนวน"ไลค์"ในโซเชียลเน็ตเวิร์คบนรูปของตัวเองหรือรูปของเพื่อนๆ นับเป็นครั้งแรกๆที่มีการศึกษาผลกระทบของสังคมออนไลน์ด้วยการสแกนสมองของวัยรุ่น

ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัยรุ่น 13-18 ปี เข้าร่วมการทดลองทั้งหมด 32 คน โดยนักวิจัยได้ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คที่พัฒนาขึ้น มีลักษณะเป็นแอพลิเคชันสำหรับแชร์รูปภาพคล้ายกับอินสตาแกรม ในการทดลอง นักวิจัยได้แสดงรูปภาพทั้งหมด 148 ภาพบนจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลา 12 นาที โดยในจำนวนนนั้นมีอยู่ 40 ภาพที่ผู้เข้าร่วมการทดลองแต่ละคนส่งเข้ามาด้วย ในขณะเดียวกัน นักวิจัยทำการสแกนสมองด้วยเครื่อง fMRI หรือเครื่องถ่ายภาพเรโซแนนซ์แม่เหล็ก รูปแต่ละรูปยังมีการแสดงจำนวนของยอดไลค์ที่บอกว่ามาจากผู้เข้าร่วมการทดลองคนอื่นๆอีกด้วย แต่ในความเป็นจริง เป็นตัวเลขที่นักวิจัยแต่ละคนกำหนดขึ้นมา (นักวิจัยเฉลยความจริงให้ผู้เข้าร่วมการทดลองหลังจบการทดลอง)

"เมื่อวัยรุ่นเห็นภาพของตัวเองที่มีจำนวนไลค์เยอะๆ เราจะเห็นว่าสมองมีกิจกรรมเพิ่มขึ้นในหลายๆส่วน" ลอเรน เชอร์แมน นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส เผย

พื้นที่ที่มีกิจกรรมสมองเพิ่มขึ้นนั้นมื่ชื่อว่า นิวเคลียสแอคคัมเบนส์ (Nucleus accumbens) เป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับ"วงจรรางวัล" โดยวงจรรางวัลนี้จะมีความไวเป็นพิเศษในช่วงวัยรุ่น นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้พบด้วยว่าเมื่อวัยรุ่นมองภาพของตัวเองที่ยอดไลค์เยอะ สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลภาพและการเข้าสังคมจะถูกกระตุ้นมากขึ้นด้วย

นอกจากนั้น เมื่อนักวิจัยได้สอบถามว่าชอบแต่ละรูปหรือไม่ จำนวนไลค์ที่ปรากฏในรูปนั้นจะมีอิทธิพลอย่างมากในการตัดสินใจนี้

"รูปครึ่งหนึ่งที่เราแสดงเป็นรูปที่มีคนไลค์จำนวนมาก และอีกครั้งหนึ่งมีคนไลค์แค่สองสามคน เมื่อวัยรุ่นมองภาพที่มีจำนวนไลค์มาก จะมีโอกาสสูงที่พวกเขาก็จะชอบตามไปด้วย กล่าวคือ วัยรุ่นจะมีการตอบสนองที่แตกต่างออกไปเมื่อเชื่อว่ารูปนั้นได้รับการชื่นชมโดยคนส่วนใหญ่มาแล้ว แม้คนส่วนใหญ่ที่ว่าจะเป็นคนแปลกหน้าที่ตัวเองไม่รู้จักก็ตาม"

งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Psychological Science แล้ว

มิเรลลา ดาเปรตโต ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมชีววิทยา ยังเผยอีกด้วยว่า เพื่อนถือว่ามีอิทธิพลต่อชีวิตจริงของวัยรุ่นมาก

"ในการศึกษาครั้งนี้ กลุ่มเพื่อนถือว่าเป็นกลุ่มที่เป็นคนแปลกหน้าสำหรับพวกเขา แต่คนกลุ่มนั้นก็ยังมีอิทธิพลต่อการตอบสนองของพวกเขา ซึ่งสะท้อนออกมาจากสมองของพวกเขาและสิ่งที่พวกเขาเลือกที่จะชอบ เราเชื่อว่าในชีวิตจริง อิทธิพลเหล่านี้จะยิ่งมีพลังมากกว่านี้ เพราะวัยรุ่นมักจะอยากได้ไลค์จากคนที่มีความสำคัญสำหรับพวกเขา"

ประเด็นต่อมาคือ คุณพ่อคุณแม่ควรจะเป็นห่วงพฤติกรรมการใช้สังคมออนไลน์ สื่อออนไลน์ของลูกหรือไม่ นักวิจัยได้ชี้ว่า สังคมออนไลน์ก็มีทั้งจุดที่ดีและไม่ดี

วัยรุ่นหลายคนร่วมถือวัยโตช่วงแรกๆมักจะตอบรับเป็นเพื่อนจากคนในสังคมออนไลน์ที่ไม่ได้รู้จักกันดี ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเป็นห่วง

"ก็เป็นไปได้ที่เด็กจะได้รับอิทธิพลจากคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงมากกว่าคนทั่วๆไป จากแต่ก่อนคุณพ่อคุณแม่อาจจะรู้จักเพื่อนๆของเด็กดี แต่เมื่อเด็กเริ่มมีเพื่อนหลายร้อยคน ก็ยากที่คุณพ่อคุณแม่จะรู้หมดทุกคนว่าใครเป็นใคร" นักวิจัยเผย

อย่างไรก็ตาม เชอร์แมน ได้ชี้ว่า สังคอมออนไลน์นั้นก็มีข้อดีเช่นกัน โดยชี้ว่า "หากเพื่อนของวัยรุ่นมีพฤติกรรมที่ดี ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะเด็กจะได้เจอกับพฤติกรรมที่ดีๆและได้รับอิทธิพลจากตรงนั้น สิ่งที่สำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่คือต้องรู้ว่าเด็กกำลังมีปฏิสัมพันธ์กับใคร และเพื่อนหรือคนรู้จักบนโลกออนไลน์นี้โพสต์และไลค์อะไร นอกจากนั้น ความเข้าใจตนเองของวัยรุ่นยังได้รับอิทธิพลจากความคิดเห็นของคนอื่นๆได้เช่นกัน ซึ่งก็เคยมีงานวิจัยมาอธิบายก่อนหน้านี้แล้ว งานวิจัยของเราในครั้งนี้ก็เป็นไปในทางเดียวกัน"

"ในสมัยก่อน คนเราจะประเมินว่าคนอื่นๆรู้สึกอย่างไรจากการสังเกตปฏิกิริยาท่าทาง แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนมาเป็นออนไลน์ที่มีการกดไลค์ ความคลุมเครือว่าชอบหรือไม่ชอบนี้ได้หมดไป"

นอกจากนี้ วัยรุ่นในการศึกษาครั้งนี้ยังได้ดูรูปภาพที่"เป็นกลาง" เช่น รูปของอาหารและเพื่อน และรูป"กลุ่มเสี่ยง" เช่น บุหรี่ เหล้า และวัยรุ่นใส่เสื่อผ้าล่อแหลม

"ในบรรดาภาพทั้งสามประเภท ทั้งภาพเป็นกลาง ภาพกลุ่มเสี่ยง และภาพของตัวเองนั้น วัยรุ่นมักจะชอบรูปที่มีคนที่กดไลค์มาก่อนหน้าพวกเขาเยอะๆ ปรากฏการณ์การทำตามคนส่วนใหญ่นี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อเป็นภาพของตัวเอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวัยรุ่นให้ความสำคัญกับการได้รับการยอมรับจากเพื่อน"

อ้างอิง: University of California - Los Angeles. (2016, May 31). Teenage brain on social media: Study sheds light on influence of peers and much more. ScienceDaily. Retrieved June 5, 2016 from www.sciencedaily.com/releases/2016/05/1

ที่มา: http://www.vcharkarn.com/vnews/505023

Credit: http://board.postjung.com/971023.html
11 มิ.ย. 59 เวลา 22:27 1,135 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...