ตำนาน แห่งยุทธนาวี เมื่ออังกฤษเผาทัพเรืออาร์มาดาของสเปน

thairath

ยุทธนา วี ครั้งสำคัญหนหนึ่งของโลก เกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 16 โดยกองทัพเรืออันเกรียงไกรของสเปนได้บุกไปโจมตีประเทศอังกฤษ ด้วยจำนวนทหารและยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่าใครๆ จึงคาดว่าสเปนจะพิชิตอังกฤษได้ไม่ยาก แต่ผลจะเป็นประการใดนั้น มาลองติดตามกันดู


สาเหตุของยุทธนาวีครั้งนี้สืบเนื่องย้อนกลับไปถึงรัชสมัยของกษัตริย์ เฮนรีย์ที่ 8 ผู้อื้อฉาวของอังกฤษ คงจำกันได้ว่ากษัตริย์องค์นี้ทรงเข้าพิธีอภิเษกถึง 6 ครั้ง พูดง่ายๆ ว่ามีมเหสี 6 องค์ โดยกำจัดหรือหย่ามเหสีองค์เดิมด้วยวิธีการต่างๆ และเมื่อทางการศาสนายื่นมือเข้ามาขัดขวาง พระองค์ก็เลยเลิกนับถือ แล้วตั้งศาสนาคริสต์ นิกายใหม่ขึ้นในอังกฤษเสียงั้น ใครจะทำไม


พระ มเหสีองค์แรกของเฮนรีย์ที่ 8 คือ แคเธอรีนแห่งอารากอน พระนางมีธิดาชื่อ แมรีย์ ทิวดอร์ ซึ่งได้รับการเลี้ยงดูแบบนับถือนิกายคาทอลิก ต่อมาเฮนรีย์ก็หาทางหย่าร้างกับแคเธอรีน แต่ถึงอย่างไร ในปี ค.ศ. 1553 แมรีย์ ทิวดอร์ ก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็นราชินีแห่งอังกฤษ และทรงสมรสกับกษัตริย์ฟิลิปแห่งสเปน ในยุคของแมรีย์ นิกายคาทอลิกได้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง ส่วนพวกที่นับถือโปรเตสแตนต์ที่เฮนรีย์ตั้งขึ้นใหม่ ก็โดนทารุณกรรมไปตามๆ กัน ประมาณว่า ถูกเผาทั้งเป็นกว่า 300 คน รวมทั้งท่านอาร์ชบิชอป แห่งแคนเทอร์บิวรีย์



อังกฤษกับฝรั่งเศสนั้นมีช่อง แคบโดเวอร์ ขวางกั้น แต่ในสมัยนั้นอังกฤษได้ครอบครองเมืองคาเลส์ (CALAIS) ทางฝั่งฝรั่งเศส ถือเป็น หัวหาดสำคัญที่ทำให้อังกฤษสามารถขึ้นแผ่นดินใหญ่ยุโรปได้ ซึ่งฝรั่งเศสไม่สู้พึงใจในข้อนี้ จึงได้มีการพิพาทกันเนืองๆ จนกระทั่งในเดือนมกราคม ค.ศ. 1558 ฝรั่งเศสก็ยึดครองคาเลส์ได้สำเร็จ ว่ากันว่าสาเหตุนี้ถึงกับทำให้พระนางแมรีย์ ตรอมพระทัยจนสิ้นพระชนม์

ผู้ ที่ขึ้นครองราชย์ถัดมาก็คือ อลิซาเบ็ธที่ 1 ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับแมรีย์ ทั้งนี้ เพราะตอน แมรีย์อภิเษกนั้นได้ทรงมีเงื่อนไขว่า หากพระนางสิ้นพระชนม์ ฟิลิ ปผู้เป็นพระสวามีจะไม่มีสิทธิได้เป็นกษัตริย์ปกครองอังกฤษต่อ ต้องกลับไปอยู่สเปน ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ฟิลิป (ที่ 2) ไม่พอพระทัย นอกจากนี้ พอพระราชินีองค์ใหม่ ขึ้นครองราชย์ นิกายคาทอลิกที่ฟิลิปทรงนับถือก็ลดบทบาทลงในอังกฤษอีกครั้ง ฟิลิปจึงทรงสร้างสมกองทัพเรือไว้เตรียมบุกอังกฤษ เพื่อชิงบัลลังก์กลับคืนมาแล้วและกอบกู้คาทอลิก

 

แต่เหตุผลที่ฟิลิปทรงอ้างในการทำศึกก็คือ กรณีที่โจรสลัดอังกฤษแอบปล้นเรือสินค้าและดินแดนในอาณานิคมของสเปนอยู่ เนืองๆ แม้สเปนจะทำการประท้วงแค่ไหน แต่อังกฤษก็ไม่อาจห้ามเหล่าสลัดได้

อย่า กระนั้นเลย บุกโจมตีอังกฤษซะให้สิ้นเรื่องสิ้นราวดีกว่า


พอถึงปี ค.ศ. 1587 สเปนก็ได้ฤกษ์ยกทัพกองเรืออันทรงอานุภาพ ของสเปนรวมพลังอยู่ ณ กรุงลิสบอน โดยมีแผนที่จะแล่นเรือ ผ่านช่องแคบขึ้นไปสมทบกับ ทหารสเปนที่ประจำอยู่ในเนเธอร์แลนด์ แล้วจึงบุกขึ้นฝั่งอังกฤษ ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 16 นั้น ทหารบกของสเปนเป็นที่เกรงขามของ นานาประเทศในยุโรป กษัตริย์ฟิลิปจึงทรงคาดคะเน ว่าจะเอาชนะได้ไม่ยาก

หาก ทว่า อังกฤษเผอิญมีนักรบ หรือขุนศึกทางทะเล ที่เก่งกาจเป็นก้างขวางคอสเปนอยู่ เขาผู้นั้นก็คือ (เซอร์) ฟรานซิส เดรค (Francis Drake)


ประวัติ ของเดรคโลดโผนเอาการ เขาเป็นหลานของ จอห์น ฮอว์กินส์ ซึ่งเป็นนักค้าทาสรายใหญ่ เดรคเป็นกัปตันเรือที่เก่งกาจ ออกปล้นเรือสินค้าสเปนอยู่เป็นประจำ จากนั้นในปี ค.ศ. 1577 เขาก็ท่องลงมหาสมุทรตอนใต้ เพื่อสำรวจและผจญภัย ซึ่งนับเป็นหนแรกของการเดินเรือสำรวจของอังกฤษ เดรคแล่นเรือตัดผ่านแอตแลนติก แล้วเลาะตามฝั่งทะเลทวีปอเมริกาใต้ ผ่านช่องแคบแมกเจลเลน มุ่งขึ้นฝั่งตะวันตกของอเมริกาใต้ ขึ้นเหนือสุดจนถึง อ่าวเดรค (ตั้งตามชื่อเขาในภายหลัง) ในแคลิฟอร์เนีย และตั้งชื่อดินแดนแถบนี้ว่า นิวแอลบิออน อ้างสิทธิเป็นของอังกฤษ จากนั้นก็แล่นสู่แปซิฟิก ผ่านอิสต์อินดิส ข้ามมหาสมุทรอินเดีย อ้อมแหลมกู๊ดโฮป แล้วมุ่งหน้ากลับถึงอังกฤษใน ค.ศ. 1518 รวม 4 ปีแห่งการเดินทาง


ผลการสำรวจและนำสมบัติกลับประเทศครั้งนี้ คิดเป็นกำไรถึง 4,700 เปอร์เซ็นต์!

เดรคได้รับเกียรติให้เป็นวีรบุรุษคนหนึ่งของ อังกฤษ

เมื่ออังกฤษแว่วข่าวภัยคุกคามจากสเปน เดรค จึงได้รับมอบหมายให้ช่วยชาติ ซึ่งเขาก็ไม่รอช้า พอ สืบรู้ว่าสเปนระดมทัพเรือเตรียมการ อยู่ที่ลิสบอนในเดือนเมษายน 1587 เดรคก็ชิงบุกก่อนทัพเรืออาร์มาดาจะเคลื่อนขบวน  เขายกกองเรือขึ้นไปทำลาย เสบียงและสัมภาระของทัพเรืออาร์มาดา เสียหายยับเยินหลายพันตัน ยึดแหลมวินเซนต์ กับปิดอ่าวลิสบอนไว้ชั่วคราว และตอนถอนกลับอังกฤษ เขาก็ยึดเอาเรือสเปนลำหนึ่งพร้อมทรัพย์สิน 114,000 ปอนด์ ไปด้วย



ปฏิบัติการ ครั้งนี้ ทำให้สเปนขนานนาม เครคว่า เอล ดรากิว หรือ "ไอ้มังกร"

ปี รุ่งขึ้น ค.ศ. 1588 สเปนก็จัดทัพเรืออาร์มาดา ขึ้นใหม่ได้สำเร็จพร้อมสรรพ ประกอบไปด้วยเรือ 350 ลำ จากสเปน 80 ลำ จากเวนิส และเจนัว, อิตาลี ทหาร 12,000 คน จากการสนับสนุนของอิตาลี และโป๊ป (เพราะรบเพื่อคาทอลิก หรือวาติกันนี่นา) 6,000 คน จากการสนับสนุนของพ่อค้าสเปน และอีก 12,000 คน ที่ขุนนางสเปนช่วยกันสมทบ เบ็ดเสร็จรวมเป็นเรือรบและเรือเสบียง 430 ลำ กับทหารและลูกเรือ 30,000 คน โดยมีท่าน ดยุกแห่งปาร์มา กับ ดยุกแห่งเมดินาสิโดเนีย เป็น ผู้บังคับบัญชากองเรือ

 


เอกสารประวัติศาสตร์บางชิ้นระบุเจาะลึกลงไป อีกว่า ทัพเรือของสเปนนั้นมีเรือรบขนาดใหญ่ประสิทธิภาพสูง 151 ลำ บรรทุกทหารและลูก เรือ 20,000 คน แล่นออกจากสเปนแล้วขึ้นไปรับทหารอีก 17,000 คน ของดยุกแห่งปาร์มาที่เนเธอร์แลนด์ โดยมี ดยุกแห่งเมดินา สิโดเนีย เป็นแม่ทัพใหญ่ของกองเรืออาร์มาดาทั้งหมด

ส่วนทางอังกฤษ นั้น มีเรือรบตั้งรับที่ดูเสมือนว่า จะมีจำนวนมากกว่า หากทว่าเป็น เรือเล็ก และปืนใหญ่ประจำเรือ ก็ยังมีขนาดย่อมกว่า แต่ในเรื่องนี้ ผู้สันทัดกรณีกล่าวว่า นี่แหละคือข้อได้เปรียบของอังกฤษ เพราะเรือและปืนที่มีขนาดกะทัดรัด จะสามารถทำการได้คล่องตัวกว่า โดยที่มีจำนวนมากลำกว่า จึงรบแบบรุมตอดเล็กตอดน้อย เรือข้าศึกอุ้ยอ้ายหมุนซ้ายขวา ไม่ทันจึงเสร็จ

 


สำหรับในด้านจอมทัพนั้น อังกฤษไม่ได้เสียเปรียบสองขุนพลสเปนที่มีประสบการณ์ ยุทธนาวีสูง เพราะอังกฤษเองก็มีขุนพลที่ห้าวหาญหลายคน อาทิ ชาร์ลส์ โฮวาร์ด, เซอร์ฟรานซิส เดรค, ลอร์ดเฮนรีย์ ซีมัวร์, เซอร์มาร์ติน โฟร์บิเชอร์ และ เซอร์จอห์น ฮอว์กินส์ (ลุงของเดรคไง)

รายละเอียดของการศึกครั้งนี้ เค้าบรรยายไว้ดังนี้


วันที่ 30 พฤษภาคม 1588 กองเรืออาร์มาดา "ที่ไม่มีใคร พิชิตได้" (สเปนว่าอย่างนั้น) แล่นออกจากท่าลิสบอน อาทิตย์หนึ่งต่อมา พวกเขาก็แลเห็นฝั่งตอนใต้สุดของเกาะอังกฤษ ข่าวการมาเยือนนี้ถูกส่ง ไปยังทัพอังกฤษที่พลีมัธ ซึ่งเตรียมรับมืออยู่อีกทัพหนึ่งของอังกฤษ ภายใต้การบัญชาการของซี มัวร์ อยู่ที่เมืองดาวน์ เพื่อป้องกันการโจมตีจากทัพของปาร์มาที่ยกมาจากเนเธอร์แลนด์

วันที่ 31 กรกฎาคม ทัพเรือทั้งสองปะทะกันเป็นหนแรก โดยกองเรืออังกฤษไล่ตีสเปนไปตามช่องแคบ และสามารถยึดเรือสเปนได้สองลำ คือ โร ซาริโอ กับซาน ซัลวาดอร์ ยกแรกเป็นของอังกฤษ


2 สิงหาคม เมดินาสิโดเนีย พยายามส่งทหาร ขึ้นไปยึดเรืออาร์ค รอแยล ของอังกฤษ แต่โดนต่อต้านอย่างเข้มแข็ง ทั้งนี้อังกฤษนั้นจะรบโดยหลีกเลี่ยงการประจัญบานแบบถึงตัวบนเรือ เพราะยุทธวิธีนี้สเปนเชี่ยวชาญกว่า อังกฤษจึงอาศัยการรบแบบถอยฉะห่างๆ เข้าไว้ เมื่อเมดินาไม่รู้จะทำฉันใด ก็เลยหวังแต่ว่าปาร์มา จะยกทัพเรือมาสนับสนุนได้ทันกาล

หากทว่า ปาร์มานั้นก็ถูกกองเรือของซีมัวร์ ขวางกั้นไว้ จึงมาไม่ถึงเมืองคาเลส์ ที่ทัพเมดินาจอดพักรออยู่




ครั้นแล้วฝ่ายอังกฤษก็งัดเอากลยุทธ์ทีเด็ดขึ้นมาถล่มทัพเรือ สเปน

นั่นคือวันที่ 7 สิงหาคม เรืออังกฤษ 8 ลำ ซึ่งบรรทุกเชื้อเพลิงไว้เพียบ ก็เคลื่อนเรียงแถวหน้ากระดานติดๆ กัน พุ่งเข้าหากองเรือสเปนที่จอดลอยลำอยู่ ฝ่ายสเปนเห็นเข้าก็ตาเหลือกรีบหาทางแก้ไข โดยนำเรือเข้าไปชักลากเรือสองลำที่อยู่ด้านริม เพื่อแยกออกจากแถวหน้ากระดาน แล้วก็จะดึง ออกต่อไปทีละคู่ แต่ก็สายเกินไปเสียแล้ว แม้จะถูกดึงไป 2 ลำ อีก 6 ลำ ก็ยังแล่นทะยานเข้าหาทัพเรืออาร์มาดาอย่างรวดเร็ว เรือรบของสเปนต่างก็รีบแล่นหนีกระเจิงแบบตัวใครตัวมัน ในฉับพลันนั้นเอง สารเชื้อเพลิงบนเรือทั้งหกลำก็ระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง เปลวไฟโชติช่วงกระจายไปทั่วกองเรือ อาร์มาดา ท่ามกลางความหวาดผวาสุดขีดของทหาร สเปนที่ออกเรือแล่นหนีจ้าละหวั่น


อันที่จริงแล้ว การระเบิดและพระเพลิงนั้นทำความเสียหาย ให้กองเรืออาร์มาดาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เรือส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสภาพดีทุกประการ แต่การแล่นหนีกระจัดกระจาย นี่สิ ทำให้กองทัพกลายเป็นแพแตก ไม่สามารถควบคุมหรือติดต่อประสานงานกันได้ หลายลำแล่นหายไปไกลโพ้นเกินเรียกกลับคืนมา หลายลำแล่นชนกันเองในความมืด พอรุ่งเช้าก็พบว่าไม่มีสภาพเป็นกองทัพเรืออันทรงอานุภาพอีกต่อไปแล้ว

ทัพ เรืออังกฤษไล่ล่าเรือสเปนที่แล่นเหลือสะเปะสะปะอยู่ กั้นมิให้แล่นลงใต้กลับบ้าน เรือสเปนก็เลยต้องแล่นหนีขึ้นเหนือ อ้อมเป็นระยะไกลตามแนวฝั่งสกอตและไอร์แลนด์ และก็เผชิญโชคร้ายหนักขึ้นไปอีก เพราะบริเวณแถบนั้นมีพายุรุนแรง จนต้องแล่นหลบเข้ามาพักในอ่าวของ สกอตกับไอร์แลนด์ ซึ่งเจ้าของท้องที่ก็ไม่ยินดีต้อนรับ พวกที่เรือแตกหนีขึ้นฝั่งก็เลยโดนสังหารมากมาย



ทัพเรืออาร์มาดาอันเกรียงไกรต้องทิ้งชีวิต ทหารของตนไว้ในดินแดนบริติชกว่า 11,000 คน จำนวนเรือ 1 ใน 3 สูญหาย กลับไม่ถึงบ้าน

ศึกครั้งนี้ยังมิใช่ศึกสุดท้ายโดย สิ้นเชิง หากแต่กองเรืออังกฤษยังออกโจมตีรังควานเรือสเปนต่อไปอีก ในปี ค.ศ. 1590 กษัตริย์ฟิลิปที่ 2 ทรงมีโองการให้เรือสินค้าอันมีค่าของสเปน จะแล่นได้ก็ต่อเมื่อมีขบวนเรือคุ้มกันเท่านั้น



สำหรับฟราน ซิส เดรค เขาวางแผนการใหญ่ บุกโจมตีสเปนในปี ค.ศ. 1589 แต่หนนี้ไม่สำเร็จ ต้องพ่ายแพ้กลับมาอย่างชอกชํ้า สูญเสียไพร่พลไป 8,000 คน จากที่ยกไป 15,000 คน ทำให้เดรคต้องลาออกจากราชนาวี จากนั้นก็วางแผนออกผจญภัยอีกครั้งกับจอห์น ฮอว์กินส์ ใน ค.ศ. 1595 โดยกะจะปล้นเกาะนิวสเปนในทะเลคาริบเบียน แต่ก็ไม่สำเร็จอีก หนนี้ ทั้งเดรคและฮอว์กินส์ ตายในที่ต่อสู้ที่นอมเบร เดอ ดิออส

ก็ เป็นอันปิดฉากยุทธนาวีที่ยิ่งใหญ่อาร์มาดา และชีวิตของยอดนักรบผู้ห้าวหาญของโลก เซอร์ฟรานซิส เดรค

Credit: http://www.artsmen.net/
#พลิกปูมสงคราม
Messenger56
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIPสมาชิก VIP
13 มิ.ย. 53 เวลา 15:49 1,460 1 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...