มติชน
เกาะ ฟลอเรส ในประเทศอินโดนีเซีย เป็นชื่อที่ไม่คุ้นหูคนทั่วโลกนัก แต่พลันที่ ดร.ไมก์ มอร์วูด นักโบราณคดีของมหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์ ออสเตรเลีย และทีมงาน เผยแพร่ผลงานการค้นพบซากกะโหลกศีรษะขนาดเล็กของมนุษย์โบราณเพศหญิงและโครง กระดูกที่สูงเพียง 1 เมตร ในนิตยสารเนเจอร์ เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.2004 เกาะเล็กๆ แห่งนี้ก็กลายมาเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในทันใด
มอร์วูดเริ่มงานที่น่าทึ่งนี้ด้วยการค้นพบเครื่องมือยุค หินอายุกว่า 8 แสนปี ในถ้ำเลียงบัวบนเกาะฟลอเรส เมื่อ 6 ปีก่อน การค้นพบครั้งนั้นเป็นเรื่องน่าประหลาดใจอย่างยิ่ง เพราะความรู้ทางมานุษยวิทยาบ่งชี้ว่า เมื่อ 4 แสน-2ล้านปีก่อนนั้น เป็นช่วงเวลาของมนุษย์โบราณสปีซีส์โฮโม อีเรกตัส(Homo erectus)
มนุษย์โบราณสายพันธุ์นี้ได้อพยพจากทวีปแอฟริกาไปยังยุโรปและเอเชีย
นักมานุษยวิทยารู้ว่าพวกโฮโม อีเรกตัสเดินทางมายังเอเชียจากการพบหลักฐานซากของโฮโม อีเรกตัสในประเทศจีน ซึ่งเรียกกันว่า "มนุษย์ปักกิ่ง" และในประเทศอินโดนีเซีย บนเกาะชวา ซึ่งเรียกกันว่า "มนุษย์ชวา" ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 7 แสนปีก่อน
แต่ ทว่ายังไม่มีหลักฐานปรากฏว่าโฮโม อีเรกตัสมีสติปัญญาสูงพอที่จะสามารถต่อเรือเดินทะเลได้เหมือนอย่างพวกโฮ โม ซาเปียน บรรพบุรุษของเรา ด้วยเหตุผลนี้นักมานุษยวิทยาส่วนใหญ่จึงกังขาว่าเป็นไปได้อย่างไรที่เจ้าของ เครื่องมืออายุกว่า 8 แสนปี บนเกาะฟลอเรสซึ่งอยู่ไกลจากเกาะชวาถึง 500 กิโลเมตร คือพวกโฮโม อีเรกตัส ที่ต่อเรือเดินทางจากเกาะชวาไปยังเกาะฟลอเรส
ปลาย ปี ค.ศ.2003 คณะนักสำรวจของออสเตรเลียและอินโดนีเซียซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการหลายสาขา นำโดย ไมก์ มอร์วูด ศาสตราจารย์อาร์.พี. โซโจโน จากศูนย์วิจัยโบราณคดีอินโดนีเซีย และศาสตราจารย์ริชาร์ด โรเบิร์ตส์ จากมหาวิทยาลัยวูลลองกอง ออสเตรเลีย ทำการขุดบริเวณถ้ำเลียงบัวอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้พวกเขานำความประหลาดใจมาให้ยิ่งกว่าครั้งที่แล้ว
เมื่อพบซากกะโหลกศีรษะขนาดเล็กของมนุษย์โบราณและโครง กระดูกสูงที่อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ซึ่งฝังอยู่ใต้พื้นดินลึก 5.9 เมตร นอกจากนั้นยังพบเครื่องมือยุคหินและกระดูกสัตว์ต่างๆ ที่มีรอยไหม้เหมือนถูกย่างไฟมาแล้วอีกด้วย
ภาพวาดฮอบบิตโดยปีเตอร์ เชาเทน นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก
การ ค้นพบซากของมนุษย์แคระนี้ทำให้นักมานุษยวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ตื่นเต้นมาก มอร์วูดบอกว่ามันเป็นการการค้นพบครั้งสำคัญที่สุดในรอบ 100 ปีเลยทีเดียว
ในขณะที่นักมานุษยวิทยาบางคนตั้งข้อสงสัยว่า มนุษย์แคระ นี้อาจไม่ใช่มนุษย์โบราณสปีซีส์ใหม่ แต่เป็นเพียงมนุษย์ที่ร่างกายแคระแกร็นซึ่งเกิดจากโรคสมองฝ่อซึ่งเรียกกัน ว่า microcephaly
ผล การศึกษาของคณะสำรวจพบว่าโครงกระดูกนี้เป็นมนุษย์เพศหญิง อายุประมาณ 30 ปี สูง 1 เมตร ตายเมื่อ 18,000 ปีที่แล้ว กะโหลกศีรษะของเธอคล้ายพวกโฮโม อีเรกตัส แต่มีขนาดเพียง 1 ใน 3 ของกะโหลกมนุษย์ในปัจจุบัน และช่องบรรจุสมองมีปริมาตรเพียง 400 ซีซี เล็กกว่าช่องบรรจุสมองของโฮโม อีเรกตัสซึ่งมีปริมาตร 900-1,200 ซีซี และมีกระดูกสะโพกคล้ายกับมนุษย์ ลิงออสเตรโลพิเทซัส แอฟริกานัส(Australopthicus africanus) หรือลิงทางใต้ของแอฟริกาซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อราว 2-3 ล้านปีก่อน
คณะ สำรวจให้นิคเนมมนุษย์แคระนี้ว่า "ฮอบบิต" (Hobbit) เหมือนชื่อมนุษย์แคระในในภาพยนต์เรื่องลอร์ด ออฟ เดอะ ริง และมีชื่อที่เป็นทางการว่า "โฮโม ฟลอเรสไซนซิส" (Homo Floresiensis) และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า LB1
ก่อนหน้านี้มอร์วูดและทีมวิจัยของออสเตรเลียและอินโดนีเซียพบร่อง รอยของมนุษย์โบราณบริเวณแอ่งใจกลางเกาะฟลอเรส ซึ่งเป็นไปได้ว่าน่าจะเป็นพวกโฮโม อีเรกตัส ซึ่งได้เดินทางมาถึงเมื่อราว 840,000 ปีก่อน ข้อมูลนี้ชี้ถึงความเป็นไปได้ว่าพวกฮอบบิตได้มาอาศัยอยู่ในถ้ำในราว 95,000-13,000 ปีก่อน และบรรพบุรุษของฮอบบิต ก็คือโฮโม อีเรกตัสนั่นเอง
มอร์วูดบอกว่า ฮอบบิต คือมนุษย์โบราณสปีซีส์ใหม่ซึ่งมีชีวิตในช่วงเวลาเดียวกับเรา พวกเขามีความสูงเท่ากับเด็กอายุ 3 ปี และหนักประมาณ 25 กิโลกรัม และแม้ว่าขนาดสมองจะเล็กกว่าสมองของลิงซิมแปนซี แต่ก็มีความฉลาด สามารถใช้ไฟ ประดิษฐ์เครื่องมือที่ทำจากหิน ล่าช้างแคระที่เรียกว่าสเตโกดอน(Stegodon) และหนูยักษ์เป็นอาหาร และบรรพบุรุษของฮอบบิตอาจจะเดินทางรอนแรมมายังเกาะฟลอเรสโดยใช้แพไม้ไผ่
ศาสตราจารย์ดีน ฟอล์ค กับแบบหล่อสมองฮอบบิตและแบบหล่อสมองของมนุษย์โบราณ ลิง พิกมี มนุษย์ที่เป็นโรคสมองฝ่อ ที่ใช้ในการวิจัย ภาพโดยไมเคิล เอ็ดมุนด์ส มหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดา และนิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก
การศึกษาฮอบบิตมีความชัดเจนมากขึ้นจากผลงาน การวิจัยของศาสตราจารย์ดีน ฟอล์ค ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาโบราณประสาทวิทยา(Paleoneurology) ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดา และทีมนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารไซน์ ฉบับวันที่ 3 มีนาคม 2005
ฟอล์ค และทีมงานได้ศึกษาสมองของฮอบบิตโดยใช้แบบหล่อสมองของฮอบบิตเปรียบเทียบกับ แบบหล่อสมองของมนุษย์ลิงรุ่นแรกๆ สมองของโฮโม อีเรกตัส โฮโม ซาเบียน มนุษย์แคระเผ่าพิกมี ลิงซิมแปนซี ลิงกอริลลา และสมองของมนุษย์ที่เป็นโรคสมองฝ่อ
ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างและรูปทรงสมองของฮอบบิตไม่ได้เกิดจากโรคสมองฝ่อ และยังแตกต่างกับสมองของพวกพิกมีด้วย และยังพบว่าสมองของฮอบบิตมีลักษณะผสมผสานระหว่างลักษณะของสมองมนุษย์ดึกดำ บรรพ์กับมนุษย์สมัยใหม่
ฟอล์คกล่าวว่า สมองของ LB1 มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งไม่ได้เกิดจากพยาธิสภาพ ทว่ามีลักษณะพิเศษซึ่งมีลักษณะก้าวหน้าแบบที่เราเห็นในมนุษย์ปัจจุบัน และก็มีส่วนที่เป็นแบบดึกดำบรรพ์ที่เราเห็นในบรรพบุรุษอยู่ด้วย มันเป็นลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนสิ่งใดๆ ที่เคยเห็นมา
นับเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจที เดียวที่มนุษย์โบราณจะมีชีวิตรอดอยู่ได้จนถึงช่วงเวลาของมนุษย์ยุคใหม่ การอยู่อย่างโดดเดี่ยวบนเกาะขนาดเล็กที่ห่างไกลและมีอาหารน้อย วิวัฒนาการที่ใช้เวลาหลายพันปีของนักล่าบนเกาะแห่งนี้ในคือการมีขนาดที่เล็ก ลง ดังเช่นช้างแคระสเตโกดอน
มีนิทานพื้นบ้านหลายเรื่องที่ บอกเล่าเรื่องราวของมนุษย์ตัวเล็กๆ บนเกาะฟลอเรสซึ่งมีรายละเอียดที่ค่อนข้างเหลือเชื่อ เนื้อหาของนิทานบ่งบอกว่า มนุษย์ตัวเล็กๆ เหล่านี้อาจมีชีวิตอยู่จนถึงทศวรรษที่ 15 และนิทานเหล่านี้อาจเป็นแรงบันดาลใจให้คณะสำรวจเข้าไปขุดค้นหาร่องรอยของพวก เขา