มติชน
มนุษย์ กลุ่มแรกที่เข้าไปตั้งรกรากในดินแดนอเมริกาเหนือคือใคร และมาจากที่ไหน พวกเขาคือบรรพบุรุษของชาวพื้นเมืองในปัจจุบันหรือไม่? เป็นปริศนาที่ท้าทายนักโบราณคดีมาอย่างยาวนาน
นัก โบราณคดีสืบสาวราวเรื่องโดยการศึกษาจากโครงกระดูกและเครื่อง มือเครื่องใช้ของมนุษย์โบราณที่ทำด้วยหิน โดยเฉพาะหอกหิน ทว่ามันไม่ง่ายนักสำหรับการศึกษาหอกหินเพราะหอกหินที่พบมีรูปทรงหลายแบบซึ่ง แสดงว่าเป็นของมนุษย์โบราณหลายกลุ่มซึ่งมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
รุ่งอรุณของงานที่ท้าทายนี้เริ่มในทศวรรษที่ 1930 นักโบราณคดีค้นพบหอกหินที่เมือง "คลอวิส" ในนิวเม็กซิโกซึ่งวัดอายุได้ 13,000 ปี มนุษย์เจ้าของหอกหินถูกเรียกว่า "มนุษย์ คลอวิส" นักโบราณคดีในยุคนั้นเสนอทฤษฎี Clovis First model ซึ่งอธิบายว่า มนุษย์คลอวิสคือพวกแรกที่เข้ามาตั้งรกรากในอเมริกาเหนือเมื่อ 14,000 ปีก่อน โดยเดินเท้ามาจากไซบีเรียข้าม "แลนด์บริดจ์" ซึ่งอยู่ระหว่างไซบีเรียและอลาสกาผ่านทางตะวันตกของแคนาดาในปัจจุบัน
แต่ ปี ค.ศ.1996 ได้มีการค้นพบโครงกระดูก "มนุษย์เคนนีวิค" (Kennewick Man) ที่ชายฝั่งแม่น้ำโคลัมเบีย เมืองเคนนีวิค รัฐวอชิงตัน ซึ่งวัดอายุได้ 9,300 ปี ชนพื้นเมืองในอเมริกาสี่เผ่าอ้างว่า นี่คือบรรพบุรุษของพวกตน ด้านนักโบราณคดีกลับได้โจทย์ใหม่ว่ามนุษย์กลุ่มแรกในอเมริกาเหนือ คือ มนุษย์คลอวิส หรือต้นตระกูลของชนพื้นเมืองในปัจจุบันกันแน่
ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้นเองนักโบราณคดีบางคนก็ได้ความคิด ใหม่ มนุษย์กลุ่มแรกอาจไม่ใช่พวกคลอวิส แต่เป็นมนุษย์ซึ่งเดินทางถึงอเมริกาเหนือโดยทางเรือก่อนพวกคลอวิส หลัก ฐานที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ก็คือฟอสซิลของสัตว์ที่เกาะด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอ ลาสกา ซึ่งแสดงว่าบริเวณดังกล่าวในยุคน้ำแข็งไม่ได้มีน้ำแข็งปกคลุม ดังนั้น จึงเหมาะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์อย่างหมีและหมาป่า ซึ่งก็เป็นไปได้ว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นด้วย
ฟอสซิลโครงกระดูกมนุษย์โบราณที่เกาะปรินซ์ออฟเวลล์และ บนเกาะนอกชายฝั่งแคลิฟอร์เนียซึ่งมีอายุพอๆ กับพวกคลอวิสก็เป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ แต่อายุฟอสซิลที่พอๆ กัน ก็ไม่ได้หมายความว่ามนุษย์โบราณดังกล่าวจะเดินทางเข้ามาในช่วงเวลาเดียวกัน กับพวกคลอวิส นักโบราณคดีเชื่อว่าจะพบฟอสซิลที่เก่าแก่กว่านี้อีกในวันข้างหน้า
หลัก ฐานดังกล่าวทำให้ทฤษฎีนี้อธิบายว่า มนุษย์พวกแรกที่เข้ามายังอเมริกาเหนือมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเดินทางทางเรือระหว่างเกาะต่างๆ ทางด้านฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานซากเรือมาสนับสนุนก็ตามแต่การค้นพบเครื่องมือที่ทำ ด้วยหินที่ชายฝั่งบริติชโคลัมเบียเมื่อเร็วๆ นี้ ก็สนับสนุนความเป็นไปได้ของทฤษฎีนี้
ทว่าการศึกษา พันธุศาสตร์ของชาวพื้นเมืองในอเมริกาเหนือเมื่อเร็วๆ นี้ สนับสนุนว่ามนุษย์กลุ่มแรกเดินทางมาจากตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชียแต่ผ่าน ทางแลนด์บริดจ์ในช่วงปลายยุคน้ำแข็ง
ข้อ ถกเถียงของทฤษฎีต่างๆ ดำเนินไปจนกระทั่งถึงปี ค.ศ.2004 ดร.ซิลเวีย กอนซาเลซ นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล จอห์น มอร์ เสนอผลงานวิจัยที่ทำให้เกิดมุมมองใหม่ที่ต่างออกไปและทำให้ทฤษฎีที่มีอยู่ ทั้งหมดต้องสั่นคลอน
ดร.กอนซาเลซทำการศึกษาโครงกระดูกมนุษย์ โบราณที่พบในเม็กซิโกแล้วพบว่ามันมีลักษณะแตกต่างกับโครงกระดูกมนุษย์ของชาว พื้นเมืองอย่างมาก โดยเฉพาะกะโหลกศีรษะซึ่งมีลักษณะยาวและแคบ ต่างกับกะโหลกศีรษะชาวพื้นเมืองที่สั้นและกว้าง ที่สำคัญโครงกระดูกที่พบมีอายุมากกว่า 12,000 ปี พอๆ กับมนุษย์คลอวิส หนึ่งในนั้นคือกะโหลกศีรษะของมนุษย์โบราณเพศหญิงซึ่งให้ชื่อว่า "Penon Woman" มีอายุ 12,700 ปี
ไฮไลต์ของงานวิจัยนี้คือข้อสรุปที่ว่าโครงกระดูกที่ศึกษาบ่งชี้ ว่าพวกเขาคล้ายกับชาวเอเชียใต้, ออสเตรเลีย และมนุษย์ที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งแปซิฟิกทางใต้มากกว่าชาวเอเชียทางเหนือ ซึ่ง ดร.กอนซาเลซเชื่อว่ามนุษย์โบราณกลุ่มแรกน่าจะมาจากออสเตรเลีย ผ่านญี่ปุ่นและโพลินีเซียแล้วขึ้นฝั่งแปซิฟิกของอเมริกา และน่าจะมีการอพยพกันมาอีกหลายครั้งในช่วงเวลาที่ต่างกันและมีหลายกลุ่มด้วย กัน
ล่าสุดเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2005 ดร.กอนซาเลซ และทีมงานเผยผลการวิจัยที่น่าตื่นเต้นอีกชิ้นหนึ่ง นั่นคือผลการศึกษารอย เท้ามนุษย์โบราณ ซึ่งพบที่เหมืองร้างใกล้ภูเขาไฟเซอร์โร โตลูควิลา ห่างจากกรุงเม็กซิโกซิตี้ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 130 กิโลเมตร
รอย เท้าดังกล่าวฝั่งอยู่ในเถ้าถ่านภูเขาไฟในบริเวณที่เป็นทะเลสาปภูเขาไฟโบราณ ซึ่งถูกค้นพบหลังจากที่คนงานขุดดินตะกอนทะเลสาบซึ่งทับอยู่บนชั้นของเถ้า ถ่านภูเขาไฟ เมื่อปี 2003
ทีมงานใช้เวลาศึกษาค่อนข้างมากโดยใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ในการวิ เคราะห์ และตรวจวัดอายุรอยเท้า ซึ่งปรากฏว่ามันมีอายุประมาณ 40,000 ปี มากกว่าอายุหอกหินของมนุษย์คลอวิสประมาณ 27,000 ปี และมากกว่าอายุโครงกระดูกที่ ดร.กอนซาเลซ พบในเม็กซิโกเมื่อปี 2004 ราว 28,000 ปี
โปสเฟสเซอร์ เดวิด ฮัดดาร์ต หนึ่งในทีมงานจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล จอห์น มอร์ บอกว่า การพบรอยเท้ามนุษย์โบราณซึ่งมีอายุ 40,000 ปี ในเม็กซิโกครั้งนี้ หมายถึงว่าทฤษฎีคลอวิสจะไม่ได้การยอมรับตลอดไปว่าเป็นหลักฐานแรกว่ามีมนุษย์ ในอเมริกาเหนือ
ด้าน ดร.กอนซาเลซบอกว่า มนุษย์โบราณรุ่นแรกนี้คงจะสูญพันธุ์ไปและไม่ทิ้งร่องรอยใดๆ ทางพันธุศาสตร์ไว้ พวกเขารวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ และเป็นนักล่าที่ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง ลักษณะเช่นนี้อาจอธิบายว่าทำไมพวกเขาจึงไม่ทิ้งร่องรอยไว้ให้เห็นเลย
เธอ ยังมั่นใจว่ามนุษย์โบราณกลุ่มแรกเดินทางทางเรือจากทางด้านมหาสมุทร แปซิฟิกมากกว่าการเดินเท้า และน่าจะมีการอพยพกันมาหลายครั้ง หลายช่วงเวลาและหลายกลุ่ม
ดร.ไมเคิล ฟอสต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีอเมริกันยุคแรกให้ความเห็นว่า มีหลักฐานมากขึ้นทุกทีว่าอลาสกาไม่ใช่ดินแดนแห่งเดียวที่มนุษย์โบราณเดินทาง เข้ามายังอเมริกาเหนือ
ทว่าปริศนานี้ก็ยังคงแก้ไม่ง่ายนัก คำถามที่ว่ามนุษย์โบราณกลุ่มแรกที่เดินทางถึงอเมริกาเหนือ คือใครและมาจากที่ไหน ยังท้าทายนักโบราณคดีอยู่ต่อไป