เมื่อพูดถึง "จุดที่สูงที่สุดในโลก" หลายคนคงนึกถึง "ยอดเขาเอเวอร์เรสต์" แต่ถ้าพูดถึง "จุดที่ลึกที่สุดบนผิวในโลก" หลายคนอาจจะสงสัยว่ามันคือสถานที่ใดกันแน่...?
โดยแท้จริงแล้วมันคือ "ร่องมหาสมุทรมาเรียนา" หรือ "ร่องบาดาลมาเรียนา" (Mariana Trench/Marianas Trench[) ถูกสำรวจพบในปีพ.ศ. 2494 ขณะที่เรือแชลเลนเจอร์กำลังออกลาดตระเวนน่านน้ำ แต่แล้วกลับได้ยินเสียงสะท้อนเมื่อคำนวณก็พบว่ามีร่องลึกอยู่บริเวณดังกล่าว โดยมีความลึกมากถึง 10,863 เมตรเลยทีเดียว
ต่อมาในปีพ.ศ. 2500 เรือวีเตียซูของโซเวียตก็ออกสำรวจบริเวณดังกล่าว แต่กลับวัดความลึกได้แตกต่างออกไปที่ 10,034 เมตร จึงตั้งชื่อให้ว่า "หลุมกลวงมาเรียนา" ต่อมาในปีพ.ศ. 2503 สเปนเซฮร์ เอฟ. แบร์ด กลับบันทึกความลึกได้ที่ 10,915 เมตร และต่อมาในปีพ.ศ. 2527 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ใช้เรือที่ออกแบบมาพิเศษและสำรวจได้ความลึกที่ 10,911 เมตร จึงถือว่าเป็นตัวเลขที่มีความแม่นยำมากที่สุด
โดยร่องลึกนี้เกิดจากแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นคือ แผ่นมาเรียนากับแผ่นแปซิฟิกเคลื่อนตัวมาชนกันด้วยความรุนแรง แต่แทนที่จะทำให้เกิดแผ่นดินใหม่กลับเกิดเป็นร่องลึก โดยมีแผ่นแปซิฟิกมุดลงไปด้านล่างทำห้เกิดหลุมขนาดลึก และจุดที่ลึกที่สุดของหลุมนี้คือ "Challenger Deep" ตั้งชื่อตามชื่อเรือลำแรกที่ค้นพบร่องลึก และมันมีขนาดความลึกจากเปลือกโลกมากกว่ายอดเขาเอเวอร์เรสต์กว่า 2000 เมตรเลยทีเดียว...แค่คิดก็รู้สึกหวาดเสียวแล้ว แต่ความลึกระดับนั้นจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่รึเปล่า...?
ข้อมูลและภาพประกอบจาก "deepseachallenge"