ตำนานเทพเจ้าผู้รักษาประตู

เมื่อสมัยหลังราชวงศ์ฮั่น
เทพเจ้าผู้รักษาประตูองค์แรกสุด มาจากนักรบในสมัยโบราณนามว่าเซ่งเข่ง ลักษณะเป็นรูปเทพเจ้าสวมชุดสั้น กางเกงยาว มือถือกระบี่ยาว อริยาบทอยู่ในท่าปราบภูตผีปิศาจ

ครั้นมาถึงสมัยราชวงศ์เหนือใต้
ก็ได้มีการวาดรูปเทพเจ้าซิ่งทู้ และเทพเจ้าอุกลุ้ยที่บานประตูทั้งสองข้างอย่างเป็นทางการ ซึ่งเรื่องนี้ก็มีที่มาอยู่ว่า เมื่อสมัยโบราณที่ดินแดนซางไห้ ที่ภูเขาโต่วซวกซัว มีต้นท้อมโหฬารต้นหนึ่ง มีรากลึกฝังดินถึงสามพันลี้ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นท้อมีประตูผีเป็นทางเข้า-ออกของบรรดาภูตผีปิศาจนานาชนิด ที่หน้าประตูทางเข้ามีเทพเจ้าซิ่งทู้ และเทพเจ้าอุกลุ้ย สองพี่น้องเฝ้าประตู เมื่อมีภูตผีปิศาจตนใดประพฤติชั่วร้าย ก็จะใช้เชือกมัดจับมาสังเวยพยัคฆ์ร้าย

พอมาถึงสมัยราชวงศ์ถัง
เทพซิ่งทู้และเทพอุกลุ้ย ถูกเปลี่ยนมาเป็นเทพชิ่งซกป้อ และเทพเอว่ยชี่เก่งเต็กแทน
...มีตำนานที่มาว่า ที่ริมแม่น้ำเก็งฮ้อพญามังกรซึ่งมีหน้าที่ให้ฝนตามแต่สวรรค์จะบัญชา ได้ขัดบัญชาสวรรค์ด้วยการบันดาลให้ฝนตกเกินต้องการ ทำให้เกิดน้ำท่วมชาวบ้านเดือนร้อน จึงมีโทษโดนประหาร พญามังกรจึงเข้าฝันพระเจ้าถังไท้จงให้ช่วยเหลือชีวิต พระเจ้าถังไท้จงทรงรับปากจึงชักชวนมหาอำมาตย์งุ่ยเต็ง เล่นหมากรุกเป็นการถ่วงเวลา เผอิญมหาอำมาตย์งุ่ยเต็งเผลอหลับไปงีบหนึ่ง ดวงวิญญาณก็เลยออกจากร่างไปทำหน้าที่เป็นเพชฌฆาตตัดศีรษะพญามังกรได้สำเร็จ เมื่อพญามังกรตายดวงวิญญาณได้มาเข้าฝันพระเจ้าถังไท้จงขอทวงชีวิต อยู่หลายวัน

นายทัพชิ่งซกป้อและขุนศึกเอว่ยชี่เกือง จึงอาสาออกตรวจตามที่หน้าประตูพระตำหนักของพระเจ้าถังไท้จง เหล่าบรรดาภูตผีปิศาจก็ไม่มีตนใดกล้ามารบกวนถังไท้จงอีก หลายคืนต่อมาพระเจ้าถังไท้จงทรงเห็นความยากลำบากของนายทัพชิ่งซกป้อและขุนศึกเอว่ยชี่เกือง จึงทรงโปรดให้จิตกรประจำพระราชสำนักวาดรูปนายทัพชิ่งซกป้อ และขุนศึกเอว่ยชี่เกืองแขวนที่ประตูพระตำหนักแทน

นับตั้งแต่นั้นมา ภายในพระราชวัง พระตำหนัก 36 ตำหนัก ห้องหอประจำพระตำหนัก 72 ห้อง ต่างสงบปลอดภัยร่มเย็นเป็นสุข คนทั้งปวงเมื่อเห็นเช่นนั้นต่างก็พากันเอาอย่าง โดยเขียนรูปหรือวาดรูปของชิ่งซกป้อและเอ่วยชี่เกืองแขวนหรือวาดบนประตูบ้าน และตามประตูวัดวาอารามทั่วไป

รูปของเทพเจ้ามึ้งซิ้ง มักวาดเป็นรูปนายทหารคนหนึ่งหน้าขาว อีกคนหนึ่งหน้าดำ มือถือขวานใหญ่ด้ามยาวที่เอว คนหนึ่งคาดกระบี่ คนหนึ่งคาดกระบอง และมีซองบรรจุเกาทัณฑ์ทั้งคู่ แต่ถ้าบ้านไหนไม่ได้วาดรูปเทพทั้งสอง ก็มักเขียนชื่อท่านทั้งสองบนกระดาษว่า " วิ่งกุงและโอ่วส่วย "แทน

ปัจจุบันนี้นิยมไหว้เทพมึ้งซิ้ง เพื่อความเป็นสิริมงคลและปกป้องข้าศึกศัตรู ป้องกันผีร้ายไม่ให้มาในบ้านในเรือน ตามศาลเจ้า หรือโรงเจ

 

ถ้าเทพเจ้าผู้เป็นประธานศาลเป็นนักปราชญ์ ราชบัณฑิต เช่นขงจื้อ เทพเจ้าที่เฝ้าประตู มักจะเป็นขุนนางพลเรือน

 

ถ้าเทพเจ้าผู้เป็นประธานศาลเป็นสตรีมียศฐาฯ เทพเจ้าที่เฝ้าประตู มักจะเป็นขันที และสนม

 

 

ถ้าเทพเจ้าผู้เป็นประธานศาลมียศสูงเช่น ฮ่องเต้ หรือ อ๋อง เทพเจ้าที่เฝ้าประตู มักจะเป็นนายพล

 

ถ้าเทพเจ้าผู้เป็นประธานศาลเป็นสตรีมียศฐาฯ เทพเจ้าที่เฝ้าประตู มักจะเป็นขันที และสนม

 

 

ถ้าเทพเจ้าผู้เป็นประธานศาลเป็นสตรีมียศฐาฯ เทพเจ้าที่เฝ้าประตู มักจะเป็นขันที และสนม

 

 

Credit: https://www.facebook.com/payapenad/photos/pb.146070448925121.-2207520000.1460784883./441701062695390/?type=3&theater
20 เม.ย. 59 เวลา 17:49 8,952
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...