ทับทิมเลือดนกน้ำหนัก 82 กะรัต ที่นายหงามุก คยี เป็นผู้พบ แล้วนำไปทูลเกล้าถวายพระเจ้าแปรเมื่อปี1023 แล้วพระเจ้าแปรก็นำไปถวายแด่พระเจ้าอังวะผู้เป็นพี่ชาย แหวนหงามุกนี้ได้ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในเครื่องราชูปโภคที่ตกทอดกันมาตั้งแต่บูรพกษัตริย์ของพม่าทุกๆพระองค์ จนถึงในรัชสมัยพระเจ้ามินดง พระองค์ได้เอาแหวนหงามุกออกมาโชว์ คณะทูตการค้าชาวฝรั่งที่เดินทางมาดูลาดเลา ว่ากันว่าพอพวกฝรั่งเศสเห็นหงามุกเท่านั้นแหละถึงกับตกตะลึงแล้วรบเร้าให้พระเจ้ามินดงตีราคา อีกทั้งยังกราบทูลเชิงความหมายแฝงว่า"ทับทิมนี้มีค่าเท่ากับประเทศหนึ่งประเทศ" พระเจ้ามินดงไม่ทันคิด จึงหัวเราะชอบอกชอบใจใหญ่จนมาถึงคราวสิ้นราชวงศ์ในยุคพระเจ้าสีป่อผู้เป็นโอรส ในคืนที่ต้องเหล่าราชวงศ์ต้องถูกเนรเทศไปอินเดีย เจ้านายพระองค์ต่างๆก็เก็บข้าวของกันอยู่ ส่วนพระนางศุภยลัตราชินี ก็สาระวนอยู่กับการเก็บสมบัติที่จะขนไปด้วย ซึ่งในขณะนั้นเอง นายพันเอกสลาเดนผู้เป็นที่ปรึกษาฝ่ายการเมืองของกองทัพอังกฤษและมีความรู้เรื่องในราชสำนักพม่าเป็นอย่างดี ก็เดินอาจๆเข้าไปในพระราชฐานชั้นใน และทูลพระนางศุภยาลัตราชินีว่าจะมาขอดู แหวนหงามุกสักหน่อย พระนางศุภยาลัตก็ให้เจ้าหญิงชุนตุงไปเปิดหีบทองให้ดู สลาเดนก็ทำเป็นชื่นชม พร้อมขอหยิบออกไปส่องกับแสงที่หน้าต่าง ส่งกันไปส่งกันมากับนายทหารที่ติดตามทั้งสองคน คืนนั้นนั้นเอง เมื่อพระราชวงศ์พม่าถูกบังคับให้ขึ้นเรือเพื่อรอการเดินทาง สลาเดนได้ทูลขอให้"ฝากหีบราชรัตนะทั้งหมด"ไว้ที่ตัวเขาเองเพื่อความปลอดภัย ซึ่งสลาเดนนั้นมีรายชื่ออยู่ในคณะที่จะต้องร่วมเดินทาง เพื่อถวายอารักขาด้วย แต่ปรากฏว่าเช้าวันนั้นสลาเดนไม่ได้อยู่บนเรือ พระเจ้าสีป่อเองก็ไม่ได้ทรงนิ่งเฉย ทรงติดตามทวงถาม และร้องเรียน เรื่องสลาเดนยักยอกนี้แก่เจ้าหน้าที่อังกฤษทุกครั้งที่มีโอกาส จนถึงขนาดได้ทำเป็นหนังสือร้องเรียน ซึ่งก็ดูเหมือนว่าทางอังกฤษจะไม่ใส่ใจในเรื่องนี้ จนหนึ่งปีให้หลัง จึงมีหลักฐานว่า สลาเดนเป็นผู้รู้เห็นว่าขณะนี้ราชรัตนะทั้งหมดอยู่ที่ไหน สลาเดนก็ถูกสั่งให้ทำรายงาน เขาอ้างว่าเหตุการณ์ในวันนั้นวุ่นวายมาก มีคนเดินเข้าเดินออกในวังกันเยอะแยะเพื่อเอาอะไรทุกอย่างที่อยากได้ ตอนนั้นเขาได้สั่งการให้ทหารรักษาความปลอดภัยของตึกที่เก็บราชรัตนะ แต่พอมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบรักษาราชสมบัติขึ้นมาและไม่มีชื่อเขาอยู่ในนั้น เขาก็วางมือไม่ทราบอะไรอีก....แต่ในรายงานตอนนี้สลาเดนไม่ได้พูดถึงหงามุกแม้แต่น้อย
ปีต่อมา สลาเดนเกษียณอายุราชการ ก็กลับไปอังกฤษและอยู่ได้อีก3ปีก็ตาย เรื่องของราชรัตนะก็มืดมนลงไปตาม แต่ถัดมาอีก1ปีเมื่อพระเจ้าจอร์จที่ 5 เสด็จประพาสอินเดียในปี1911พระเจ้าสีป่อก็ได้ทำหนังสือถวายฎีกา ซึ่งทำอีก5สำเนาส่งไปยังรัฐบาลและรัฐสภาอังกฤษ ร้องเรียนเรื่องที่สลาเดนยักยอกแหวนทับทิมหงามุกและตุ้มหูเพชรสองหีบเต็มๆที่รับฝากไว้ คราวนี้เรื่องเลยดังออกไปทางสื่อ ซึ่งพระเจ้าสีป่อเอง ก็ไม่ได้ทรงทราบว่าสลาเดนตายแล้ว แต่ก็มีข่าวมาถึงพระองค์ว่า ทายาทของสลาเดนได้ถวายหงามุกแด่พระนางเจ้าวิกทอเรียไปแล้วในวันที่ 14กันยายน1924...
ต่อมาหลังจากพระเจ้าสีป่อสวรรคตแล้ว พระนางศุภยลัตราชินีก็ได้กลับคืนสู่พม่า นิตยสารพันธูละได้ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ที่ทรงกล่าวถึงหงามุกอีกครั้งเรื่องนี้จึงกลับมาสู่ความสนใจของชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง จนมาถึงวันที่ 4พฤศจิกายน1925 พระนางศุภยลัตก็สวรรคต
ต่อมาในวันที่15 ธันวาคม 1931 พระธิดาองค์ที่ 4 ได้ส่งจดหมายทวงถามรัฐบาลอังกฤษเรื่องนี้ และได้ส่งสำเนาไปองค์การสันนิบาตชาติด้วย อังกฤษเลยหาเหตุว่า ในจดหมายมีเรื่องเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์อันเป็นการปลุกระดมมวลชน จึงถูกส่งตัวไปจำกัดบริเวณแบบอองซานซูจีที่มะละแหม่งจนสิ้นพระชนม์
ต่อมาอีก ในวันที่ 9 พฤษภาคม 1953 นายตอร์พยา บุตรชายพระธิดาองค์ที่ 4 ก็ได้ส่งจดหมายทวงหงามุกคืนอีก แต่ก็ไม่มีการตอบรับ
16 กุมภาพันธุ์ 1959 ตอร์พยากาเล ผู้เป็นน้องของตอร์พ์ ก็ได้ส่งจดหมายไปอีก
จนถึง วันที่ 9พฤษภาคม 1959 อังกฤษทำหนังสือตอบเป็นทางการครั้งแรกโดยเอกอัครราชทูตประจำประเทศพม่า แจ้งว่า"อังกฤษมีความเสียใจ เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นนานมาแล้วตั้ง74ปี ไม่มีผู้ใดทราบเรื่องของหงามุกอีกแล้ว".........
อัญมณีหลากหลายสี
ถึงจะเป็นแค่ภาพวาด แต่ก็ทำให้เห็นภาพอะไรๆบางอย่างชัดขึ้น
แหวนทับทิมบางส่วนที่พระเจ้าสีป่อ ทรงนำไปเมืองรัตนะคีรีด้วย จุดประสงค์เพื่อมอบให้ข้าราชบริพาร ที่ค่อยช่วยเหลือพระองค์ยามตกทุกข์