?ความยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระนเรศวร? ในหลักฐานต่างชาติ



 พระปรีชาสามารถ ตลอดจนเกียรติประวัติอันยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระนเรศวรนั้น ดูจะเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหลักฐานประเภทพระราช พงศาวดารของฝายไทยเอง และงานนิพนธ์ยุคต่อมา อาทิ “ลิลิตตะเลงพ่าย” ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส หรือ “ไทยรบพม่า” ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทว่าความยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระนเรศวรไม่ ได้เป็นที่รับรู้เพียงแต่ชาวสยามเท่านั้น ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ซึ่งบันทึกโดยชาวต่างชาติที่เข้ามามีความสัมพันธ์ กับอยุธย
าในรัชสมัยของพระองค์ก็ได้กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ไว้ ด้วยเช่นกัน มาดูกันว่าบันทึกเหล่านั้นบอกเล่าความยิ่งใหญ่ของพระองค์ไว้อย่างไรบ้าง

การปกครองเข้มงวดที่สุดนับตั้งแต่เคยมีมา ในสยาม

ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระราชบิดา และรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรเอง พระองค์ได้ทรงปกครองบ้านเมืองไพร่ฟ้าประชาชนอย่างเข้มงวดจนฝังแน่นอยู่ใน ความทรงจำขอ
งผู้คน



 ดังปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2182 ซึ่งบันทึกโดย เจเรเมียส ฟานฟลีต  
 (วัน วลิต) ชาวดัตช์ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสำนักงานของบริษัทอินเดียตะวันออกของ ดัตช์ (V.O.C.) ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองความว่า 

“...ชาวมลายูขนาน นามพระองค์ว่า “ราชาอปี” (Raadje Apij เป็นภาษามลายูแปลว่า พระเจ้าอัคคี) และชาวสยามขนานพระนามว่า “องค์ดำ” รัชสมัยของพระองค์เป็นสมัยที่ปกครองแบบทหารและเข้มงวดที่สุดเท่าที่เคยมีมา ในสยาม...
” ซึ่งสิ่งที่วันวลิตบันทึกไว้คงเป็นเรื่องที่ไม่ผิดไปจาก ความเป็นจริงเท่าใดนัก เนื่องจากในเวลานั้นเป็นช่วงที่กรุงศรีอยุธยาต้องรับศึกจากกรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรจึงจำเป็นต้องทำการปกครองอาณาจักรอย่างเข้มงวดและเด็ดขาด เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่กรุงศรีอยุธยา และความเข้มงวดของพระองค์นี่เองที่ได้ทำให้อาณาจักรอยุธยาฟื้นตัวขึ้นมาอีก ครั้ง

ดอกผลของความ เข้มงวดคือกองทัพที่ไร้ผู้ต่อต้าน



 จุดพลิกกลับของการ ทำสงครามเพื่อกอบกู้บ้านเมืองของสมเด็จพระนเรศวรนั้น อยู่ที่สงครามกับพระเจ้านันทบุเรงในปีพ.ศ.2128-2130 โดยแกสแปโร บัลบี (Gasparo Balbi) พ่อค้าอัญมณีชาวเวเนเทียน (Venetian) ได้กล่าวถึงผลจากความเข้มงวดในการปกครองของสมเด็จพระนเรศวรที่ก่อให้เกิด ความมั่นใจแก่ไพร่พลในการรบกับทัพหงสาวดีไว้ในรายงานของเขาว่า 
“...ชาว สยามไม่เคยหวั่นเกรงอีกเลยในเรื่องที่ว่า พระเจ้าหงสาวดีพระองค์นี้จะเอาชนะพวกเขาได้ เพราะพระราชบิดาของพระองค์ (บุเรงนอง) ที่เคยเอาชนะชาวสยามได้นั้น, แม้จะได้นำทัพมาด้วยพระองค์เองและมีกำลังไพร่พลถึง ๘๐๐,๐๐๐ คน ก็คงไม่สามารถเข้ายึดพระนครศรีอโยธยาได้, ถ้าไม่ใช่เพราะการที่ขุนนางสยามหักหลังกันเอง...”



 หลักฐานทางฝ่ายพม่าเองก็ได้ยอมรับถึงพระราช อำนาจของสมเด็จพระนเรศวรกับความเข้มงวดทีมีต่อขุนนางและ ไพร่ฟ้าประชาชน จนก่อให้เกิดกองทัพที่แม้ฝ่ายหงสาวดีจะมีกำลังมากกว่าหลายเท่าก็ยากจะเอาชนะ ได้ ดังข้อความตอนหนึ่งที่พญาลอ แม่ทัพฝ่ายหงสาวดีได้กราบทูลพระเจ้านันทบุเรงความว่า

“...แม้กำลัง ไพร่พลของพระนครศรีอโยธยาจะนับได้สักหนึ่งในสี่ของไพร่พลเมืองหงสาวดีก็
หา ไม่, แต่กระนั้นก็ตาม, สมเด็จพระมหาอุปราชและนายทัพนายกองก็ได้ประจักษ์ความจริงแล้วว่าเป็นเรื่องยากนักที่จะรบชนะชาวสยาม เพราะว่าพระราชอำนาจของสมเด็จพระนริศ (พระนเรศวร) ที่มีเหนือขุนนางของพระองค์นั้น ยิ่งใหญ่เป็นล้นพ้นจนกระทั่งว่า ถ้าชาวสยามเผชิญหน้ากับข้าศึกศัตรู เขาก็ยอมสละชีวิตดีกว่าจะยอมถอยหลัง. อันว่าการสงครามนั้นใช่ว่าจะได้ชัยชนะเพราะมีไพร่พลมากกว่าเพียงประการเดียว หากอยู่ที่ความกล้าหาญและชาญเชี่ยวในยุทธวิธี...



 การฟื้น ตัวของอาณาจักรสยาม

ปีเตอร์ วิลเลียมสัน ฟลอริส (Peter Williamson Floris) ชาวดัตช์ผู้เป็นลูกจ้างบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (E.I.C.) ซึ่งเข้ามาในสมัยต้นพระเจ้าทรงธรรม กล่าวถึงการฟื้นตัวของอาณาจักรอยุธยาในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรไว้ใน จดหมายเหตุของ
เขาว่า
“…นี่คือเรื่องราวย่อๆ เกี่ยวกับความพินาศลงของอาณาจักรพะโค (หงสาวดี) ในขณะที่ราชอาณาจักรสยามฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่งหลังจากได้เสื่อมโทรมลงไป มาก เพราะพะโคได้เข้ามาเป็นเจ้าเข้าครอง. พระองค์ดำทรงปราบปรามกัมพูชา, ล้านช้าง, เชียงใหม่, นครศรีธรรมราช, ปัตตานี, ตะนาวศรี, รวมทั้งแว่นแคว้นและอาณาจักรอื่นๆ เข้าไว้ในอำนาจ. ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๑๔๘ พระองค์ก็สิ้นพระชนม์ลง โดยมิได้มีพระราชโอรส พระองค์ทรงมีพระสติปัญญาล้ำเลิศ และได้ทิ้งพระราชอาณาจักรไว้แก่สมเด็จพระอนุชาธิราช...”


โดยพระนาม “พระองค์ดำ” (Black King) นั้นเป็นพระนามที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่ใช้กล่าวถึงสมเด็จพระนเรศวร ควบคู่ไปอีกพระสมัญนามใน ภาษามลายูซึ่งฟลอริสได้บันทึกไว้ว่า “Raja Api” ซึ่งมีความหมายว่า “พระราชาแห่งไฟ”

กองทัพเรือสยามที่เป็นใหญ่เหนือ น่านน้ำ

นอกจากหลักฐานต่างชาติฝ่ายตะวันตกที่ได้อธิบายถึงความยิ่ง ใหญ่ของสมเด็จพระนเรศวรแล้ว ยังมีหลักฐานทางฝ่ายจีนอีกเช่นกันซึ่งได้ฉายภาพความของความยิ่งใหญ่ของรัช สมัยของพระ
องค์ไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกองทัพเรือ


บันทึกของจีนสมัยราชวงศ์หมิงในช่วงรัช ศกว่านลี่แห่งรัชกาลจักรพรรดิเสินจง (พ.ศ.1911 – 2187) มีเรื่องราวเกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระนเรศวรปรากฏในบันทึกของจีน 3 ฉบับดังนี้

1.เจิ้งสือ (ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฉบับหลวง) ในส่วนที่ว่าด้วยสยาม ได้บันทึกตอนหนึ่งว่า 

“...กษัตริย์ผู้สืบราชสมบัติ (สมเด็จพระนเรศวร) ได้หมายมั่นจะแก้แค้นให้จงได้ ในระหว่างรัชศกว่านลี่กองทัพข้าศึกได้ยกทัพเข้ามาอีก กษัตริย์ได้จัดกองทัพเข้ากระหน่ำตีจนข้าศึกแตกพ่ายไปราบคาบ และได้ฆ่าราชโอรส (พระมหาอุปราชมังกะยอชวา) ของกษัตริย์ตงหมานหนิวด้วย (พระเจ้านันทบุเรง) ทหารที่เหลือก็แตกทัพหลบหนีไปในความมืดตอนกลางคืน จากนั้นเป็นต้นมาสยามก็ครองความยิ่งใหญ่ผงาดในน่านน้ำทางทะเล...ครั้งนั้น ญี่ปุ่นเข้าย่ำยีเกาหลีในโอกาสเดียวกันนี้ สยามได้เข้าถวายเครื่องราชบรรณาการ ราชฑูตประเทศนี้ขออาสาส่งกองทัพเข้าช่วยทำศึกสงคราม...”

 
 

2.สือลู่ (จดหมายเหตุประจำรัชกาล) บันทึกตอนหนึ่งว่า 

“...เมื่อวันที่ 6 เดือนอ้าย ปีที่ 21 (พ.ศ.2136) แห่งรัชศกว่านลี่..มีฑูตบรรณาการมาขออาสาต่อทางกลาโหมขอนำกองทัพช่วยทำศึก สงคราม..อันฑูตบรรณาการแห่งสยามมีความโกรธแค้นต่อการกระทำที่ผิดทำนองคลอง ธรรมนี้จึงได้แสดงความจงรักภักดีโดยอาสายกกองทัพไปช่วยรบ จักรพรรดิทรงมีพระบรมราชโองการให้ชมเชยความจงรักภักดีและเมตตาธรรมเช่น นี้...”



 3.บันทึกทะเล ตะวันออกและตะวันตกของจางเซี่ย ยกย่องว่า 

“...รัชกาล พระนเรศวรนั้น สยามเริ่มเป็นผู้เกรียงไกรบนท้องทะเลแดนไกล ต่อแต่นั้นไปทำศึกสงครามทุกปีจนสามารถดำรงความเป็นใหญ่เหนือประเทศทั้ง หลาย...”

โดยสาเหตุที่กองทัพเรือในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมีความ เข้มแข็งนั้น เพราะต้องปกป้องการค้าในระบบรัฐบรรณาการที่ส่งเรือสำเภาหลวงของราชสำนักสยาม ไปยังประ
เทศจีนอยู่เสมอ ทั้งยังต้องคอยปราบโจรสลัดที่คุกคามความปลอดภัยในการเดินเรือของพ่อค้า และจากความเข้มแข็งอันนี้เองที่ทำให้สยามกล้าทูลส่งกองทัพไปช่วยจักรพรรดิ จีนรบกับญี
่ปุ่นซึ่งนำโดยโชกุนโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ซึ่งนำกองทัพเข้ารุกรานเกาหลี ทว่ากองทัพเรือสยามก็ไม่ได้ออกไปช่วย เพราะราชสำนักหมิงเห็นว่า ลำพังกองทัพจีนก็น่าจะเพียงพอแล้ว



 บ้านเมืองรุ่งเรือง เพราะทรงเป็นนักรบ

ความ ยิ่งใหญ่ของรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรนั้น อาจเป็นเพราะพระองค์ทรงเป็นนักรบที่เข้มแข็งสอดคล้องกับวิกฤตการณ์ของบ้าน เมือง และเพื่อค้ำจุนแผ่นดินพระองค์ได้ใช้เวลาเกือบทั้งรัชสมัยของพระองค์อยู่ใน สนามรบ ดังความตอนหนึ่งที่วันวลิตเขียนไว้ ในบันทึกของเขาว่า 

“พระนเรศราชาธิราชเป็นพระเจ้า แผ่นดินนักรบ ทรงได้ชัยชนะในการรบหลายครั้งคราว...ทรงประชวรและสิ้นพระชนม์หลังจากนั้นไม่ นาน เมื่อพระชนมายุได้ ๕๕ พรรษา เสวยราชย์อยู่ ๒๐ ปี แต่ไม่ได้ประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาเกิน ๒ ปีเลย เวลาที่เหลืออยู่อีก ๑๘ ปี ทรงใช้ในการทำสงครามและประทับอยู่ในสถานที่ดังกล่าว...”

และวันวลิตก็ได้บรรยายถึงประโยคสุดท้ายเกี่ยวกับรัชสมัยของ สมเด็จพระนเรศวร เป็นประโยคสั้นๆง่ายๆ แต่แสดงถึงบ้านเมืองที่รุ่งเรืองว่า 

“...ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศเจริญรุ่งเรืองและประสบ แต่โชคชัย...”

Credit: http://atcloud.com/stories/84189
#พระนเรศวร?
Messenger56
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIPสมาชิก VIP
10 มิ.ย. 53 เวลา 16:48 10,905 17 240
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...