หอแสดงดนตรีมีอิทธิพลต่ออารมณ์ของผู้ฟัง

 

คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัย Aalto ค้นพบว่า ผลกระทบทางอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้ฟังดนตรีทั้งหลายขึ้นอยู่กับรูปแบบของหอแสดงดนตรีหรือสภาพของหอประชุม

จากการศึกษาเบื้องต้น มันได้แสดงให้เห็นว่าประสบการณ์ทางอารมณ์จากการฟังดนตรีที่รุนแรงมากที่สุดอาจจะถูกแสดงออกมาในลักษณะที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกขนลุกหรือตัวสั่นก็เป็นไปได้ ซึ่งคณะวิจัยได้อาศัยความนำไฟฟ้าของผิวหนังมาใช้ในการตรวจวิเคราะห์ปฏิกิริยาการตอบสนอง โดยแม้เพียงการตอบสนองการรับรู้เพียงเล็กน้อยก็สามารถถูกตรวจจับได้

กล่าวคือ เมื่อผู้ฟังดนตรีเกิดความรู้สึกต่างๆ สภาพการนำไฟฟ้าที่ผิวหนังของผู้ฟังจะเปลี่ยนแปลงไปจากพื้นฐานความรู้เหล่านี้ คณะวิจัยได้ทำการศึกษาโดยการตัดต่อผลงานทางดนตรีบางส่วนของวงดนตรีที่มีชื่อเสียงอย่าง เบโธเฟน มาใช้เป็นตัวอย่างของการศึกษาในหอประชุมที่มีรูปแบบแตกต่างกันเพื่อสังเกตผลกระทบที่มีต่อผู้ฟังดนตรี

ในระหว่างการรับฟังดนตรี อุปกรณ์ส่งสัญญาณที่สามารถตรวจจับสภาพนำไฟฟ้าที่ผิวหนังจะถูกติดอยู่ที่นิ้วชี้ของผู้ฟัง เพื่อที่จะบันทึกระดับความรู้สึกหรือความรุนแรงของปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นในสภาพหอประชุมที่มีรูปแบบแตกต่างกัน

ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า ผลลัพธ์ที่ได้มีความเป็นเอกฉันท์อย่างเห็นได้ชัด เมื่อผู้ฟังได้ฟังดนตรีออเคสตร้าคลาสสิคในหอประชุมที่มีรูปแบบกล่องรองเท้า (shoebox-type concert hall) ผู้ฟังจะรับรู้ถึงอรรถรสทางดนตรีได้ดีมาก หอประชุมที่มีรูปแบบกล่องรองเท้าที่รู้จักกันดี อาทิเช่น Vienna Musikverein, Amsterdam Concertgebouw, Berlin Konzerhaus and Philharmonie, Cologne Philharmonie, และ Helsinki Music Centre

หอแสดงดนตรี Vienna Musikverein ซึ่งเป็นหนึ่งในหอแสดงดนตรีที่มีรูปแบบคลาสสิคด้วยอาศัยหลักการกล่องรองเท้า ( shoebox-type concert hall)

ดร. Jukka Pätynen ได้กล่าวว่า “ผลการศึกษาที่ผ่านมาจากการฟังผลงานทางดนตรีชิ้นเดียวกันนี้ได้สื่อให้เห็นว่าลักษณะของหอประชุมมีผลกระทบต่ออารมณ์ของผู้ฟังมากกว่าสิ่งอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของพวกเราที่ได้แสดงให้เห็นว่าหอประชุมที่ไม่ใช้เครื่องขยายเสียงหรือ hall’s acoustics มีบทบาทสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกทั้งหมด และจจากการติดตามศึกษาทั้งหมด พวกเราสามารถสรุปได้ว่าประสบการณ์ทางอารมณ์ที่หลากหลายถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญของดนตรีที่มีต่อผู้ฟัง”

หลายทศวรรษที่ผ่านมา นักวิจัยหลายท่านได้พยายามที่จะอธิบายความสำเร็จของการออกแบบหอประชุมในลักษณะเฉพาะ ที่มีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการรับฟังดนตรีแบบไม่ใช้เครื่องขยายเสียง การศึกษาของคณะวิจัยชาวฟินแลนด์นี้ถือเป็นผลงานชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของหอประชุมนั้นมีผลกระทบทางอารมณ์อย่างชัดเจน

ดร. Jukka Pätynen เป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกของกลุ่มวิจัย Virtual Acoustics ของศาสตราจารย์ Tapio Lokki's คณะวิจัยมีเป้าหมายในการทำความเข้าใจถึงผลกระทบของเสียงที่เกิดขึ้นจากหอประชุมดนตรีที่มีรูปแบบหลากหลาย และความรู้สึกของผู้ฟังที่สัมผัสและรับรู้อรรถรสทางดนตรีจากหอประชุมเหล่านั้น งานวิจัยได้มุ่งเป้าไปที่การปรับปรุงการคาดการณ์และการทำความเข้าใจถึงลักษณะของหอประชุมและความต้องการด้านพื้นที่ของการรับฟังดนตรีออเคสตร้าหรือดนตรีคลาสสิค เพื่อให้ผู้ฟังได้รับอรรถรสทางดนตรีได้ดีที่สุด

ที่มา:http://www.vcharkarn.com/vnews/504616

ที่มา https://www.sciencedaily.com/releases/2016/03/160323082708.htm

เอกสารอ้างอิง

Jukka Pätynen, Tapio Lokki. Concert halls with strong and lateral sound increase the emotional impact of orchestra music. The Journal of the Acoustical Society of America, 2016; 139 (3): 1214 DOI: 10.1121/1.4944038

Credit: http://board.postjung.com/959436.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...