ฉลามเสือ
?Galeocerdo cuvier P?ron & Lesueur, ค.ศ. 1822
ฉลามเสือ
ฉลามเสือขนาดเล็กที่บาฮามาส
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์[แสดง]
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Chondrichthyes
ชั้นย่อย Elasmobranchii
อันดับ Carcharhiniformes
วงศ์ Carcharhinidae
สกุล Galeocerdo
M?ller & Henle, ค.ศ. 1837
สปีชีส์ G. cuvier
ข้อมูลทั่วไป[แสดง]ชื่อวิทยาศาสตร์ Galeocerdo cuvier P?ron & Lesueur, ค.ศ. 1822
สถานะการอนุรักษ์
สถานะ : ความเสี่ยงต่ำ (nt)[1]
อายุฟอซซิล 56?0 ล้านปีมาแล้ว[2] P??OSDCPTJKPgNEarly Eocene to Present
ถิ่นอาศัย[แสดง]
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของปลาฉลามเสือชื่อพ้อง[แสดง]Squalus cuvier Peron & Lessueur, ค.ศ. 1822Galeocerdo tigrinus M?ller & Henle, ค.ศ. 1837Galeocerdo cuvieri P?ron & Lesueur, ค.ศ. 1822ปลาฉลามเสือ ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกฉลาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galeocerdo cuvier ในวงศ์ Carcharhinidae เป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล Galeocerdo มีรูปร่างอ้วนป้อม ปากกว้าง ปลายปากสั้นและทู่ ลำตัวเรียวไปทางปลายหาง คอดหางมีสันชัดเจน ครีบหางเรียวและมีปลายแหลม มีฟันใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม มีขอบหยักเป็นจักคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวและครีบสีน้ำตาลหม่น มีลายพาดขวางตลอดข้างหลังและหางคล้ายลายของเสือโคร่ง จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งลายนี้อาจแตกเป็นจุดกระจายอยู่ทั่วไปหรือจางหมดไปเมื่อโตขึ้น ท้องมีสีจาง
ปลาฉลามเสือเมื่อโตเต็มที่มีขนาดประมาณ 5 เมตร แต่ตัวที่ใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือ 7 เมตร น้ำหนักหนักที่สุดคือ 807.4 กิโลกรัม พบกระจายว่ายหากินอยู่ทั่วไปในน่านน้ำเขตอบอุ่นทั่วโลก มีพฤติกรรมชอบหากินตามแนวปะการังหรือบริเวณใกล้ชายฝั่ง หรือบริเวณปากแม่น้ำ โดยอาศัยตั้งแต่ระดับผิวน้ำจนถึงความลึก 140 เมตร ปกติมักอยู่ลำพังเพียงตัวเดียวและหากินในเวลากลางคืน ว่ายน้ำได้คล่องแคล่วว่องไวมาก มีอาณาเขตในการหากินกว้าง 100 ตารางกิโลเมตร โดยที่อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เช่น เต่าทะเล รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในทะเล เช่น แมวน้ำ หรือ สิงโตทะเล ด้วย
ปลาฉลามเสือได้ชื่อว่าเป็นปลาที่กินไม่เลือกเหมือนเช่นปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias) เพราะมักเจอสิ่งที่ไม่ใช่อาหารในกระเพาะเสมอ ๆ เช่น ยางรถยนต์, กระป๋องน้ำ, เศษไม้ หรือ พลาสติก ซึ่งล้วนแต่เป็นขยะที่มนุษย์โยนทิ้งลงทะเลทั้งสิ้น
ปลาฉลามเสือ เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในระยะเวลาตั้งท้องนานเกือบหนึ่งปี สามารถตกลูกได้ตลอดทั้งปี โดยเฉลี่ยจะตกลูกครั้งละ 10-82 ตัว ลูกปลาแรกเกิดมีความยาวประมาณ 51.76 เซนติเมตร เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 4-6 ปี อายุขัยโดยเฉลี่ย 12 ปี แต่อายุในสถานที่เลี้ยงมักจะมีอายุเพียงสั้น ๆ ไม่เกิน 2 เดือนเท่านั้น
ปลาฉลามเสือ นับได้ว่าเป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่งที่มีอันตรายต่อมนุษย์ เพราะมีนิสัยดุร้ายและมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เลือก ในพื้นที่ทะเลของไทยนับได้ว่าเป็นปลาฉลามที่อาจทำร้ายมนุษย์หรือนักดำน้ำได้ร่วมกับ ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) และ ปลาฉลามครีบดำ (C. melanopterus)
ปลาฉลามเสือ มีชื่อเรียกอื่น ๆ ในภาษาไทยอีก เช่น "ตะเพียนทอง", "พิมพา" หรือ "เสือทะเล" เป็นต้น