ครั้งแรก ของ ประเทศไทย

1. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์อักษรไทย เมื่อ พ.ศ.1826


2. พระราเมศวร เป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงสละราชสมบัติ
เมื่อ พ.ศ.1912


3. โปรตุเกส เป็นฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาติดต่อกับไทย เมื่อ พ.ศ. 2060 ในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 หรือพระไชยราชาธิราช แห่งกรุงศรีอยุธยา

เป็น โปรตุเกส จากมะละกาในแหลมมลายู เข้ามาค้าขายและอาสาเป็นทหารร่วมรบที่เชียงกราน หลังสงครามได้ความชอบ ได้รับอนุญาตให้ตั้งโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นแห่งแรกในไทย

โปรตุเกส ทำมาหากินกับไทยเกือบร้อยปี ฮอลันดาจึงแกะรอยตามมา เมื่อปลายสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

แล้วอังกฤษก็มาเป็นชาติที่สาม เมื่อต้นสมัยพระเอกาทศรถ

ฮอลันดากับอังกฤษนับถือคริสต์นิกาย โปรเตสแตนต์ แต่โปรตุเกสนับถือคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก


4. หนังสือจินดามณี เป็นหนังสือแบบเรียนเล่มแรกของไทย แต่งขึ้นสมัยพระนารายณ์มหาราช โดยพระโหราธิบดี ชาวเมืองโอฆบุรี (พิจิตร) กวีและผู้เชี่ยวชาญทางอักษรศาสตร์ในสมัยนั้น เป็นผู้แต่ง


5. สมัยพระนารายณ์มหาราช ไทยได้ส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้ง





6. สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรก สถิต ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2325 สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2337
ดำรงตำแหน่ง อยู่ 12 พรรษา


7. โรงพิมพ์แห่งแรกของไทย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2378 บริเวณสำเหร่ ธนบุรี ของหมอบรัดเลย์ โดยซื้อตัวพิมพ์ของ ร.อ.เจมส์ โลว์ จากสิงคโปร์
ตรงกับ สมัยรัชกาลที่ 3

และบทประพันธ์ที่ทำการขายลิขสิทธิ์ครั้งแรกใน ประเทศไทย คือ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย ขายให้กับหมอบรัดเลย์


8. หนังสือพิมพ์อังกฤษ ฉบับแรกของไทย คือ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2387 ในสมัยรัชกาลที่ 3


9. ตำรวจนครบาล มีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4


10. นายจอห์น ลอฟตัส ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้นำรถรางมาใช้เป็นครั้งแรก เปิดใช้บริการเมื่อ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2404 ในสมัยรัชกาลที่ 4


11. นายตัน เล่งซือ ชาวจีน เป็นคนแรกที่ตั้งโรงรับจำนำขึ้น ชื่อโรงรับจำนำไท้หยู และไท้เซ่งเฮง เมื่อ พ.ศ.2416 ในสมัยรัชกาลที่ 5


12. รถลาก นำมาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2417 โดยนายฮองเซียง แซ่โง้ว เป็นผู้สั่งเข้ามา ในสมัยรัชกาลที่ 5


13. โทรศัพท์ เริ่มมีใช้เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2419


14. การไฟฟ้า เริ่มมีครั้งแรกเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2430 โดยใช้ในกิจการของรถราง และจ่ายให้ประชาชนใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2433 ในสมัยรัชกาลที่ 5


15. โรงพยาบาลหลวงแห่งแรกในประเทศไทย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ปี พ.ศ. 2430 ตั้งขึ้นที่ตำบลวังหลัง คือโรงพยาบาลวังหลัง ปีต่อมาพระราชทานชื่อว่า โรงศิริราชพยาบาล


16. โรงแรมโอเรียนเต็ล เป็นโรงแรมแห่งแรก ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5


17. เงินบาท สตางค์ และการพิมพ์ธนบัตร เริ่มมีใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5




18. ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่5 โดย พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

ทรงตั้งธนาคารพาณิชย์เพื่อทดลอง ดำเนินงานเป็นบางอย่าง ณ ตึกแถวสองชั้นสามคูหา ของกรมพระคลังข้างที่ บริเวณย่านบ้านหม้อ ตั้งชื่อในยุคนั้นว่า "บุคคลัภย์" (Book Club)

การ ทดลองดำเนินกิจการไปได้ผลดี จึงทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งเป็น บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราอาร์มแผ่นดินเป็นตราประจำบริษัท แล้วต่อมาพัฒนาเป็น
ธนาคารไทยพาณิชย์


19. รถไฟไทย มีใช้เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่5 โดยสายแรกเดินระหว่าง กรุงเทพฯ ถึง ปากน้ำ สมุทรปราการ


20. โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรก
ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5


21. โรงเรียนวัดมหรรณพ เป็นโรงเรียนราษฎร์แห่งแรก ที่เปิดให้สามัญชนได้เรียนหนังสือ ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5


22. เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้ต่อเรือกลไฟขึ้นลำแรก ในสมัยรัชกาลที่5


23. เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงเป็นพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฎราชกุมารองค์แรก ทรงเป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5





24. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์แรกที่เสด็จออกผนวช ในระหว่างขึ้นครองราชย์


25. นิสิตนักศึกษาคนแรก คือ พระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2443
(เมื่อ 106 ปีที่แล้ว)

เมื่อรับประกาศนียบัตร ต่อมาท่านได้เป็นข้าราชการ พ่อเมือง(ผู้ว่าราชการจังหวัด) อุปทูต และปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย


26. สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้ จังหวัดพิษณุโลก เป็นสหกรณ์แห่งแรก ตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459 ในสมัยรัชกาลที่ 6


27. วิทยุโทรเลข เปิดให้ประชาชนชาวไทยใช้เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ในสมัยรัชกาลที่ 6


28. ธนาคารออมสิน ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปีพ.ศ. 2456 ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเห็นคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์ เพื่อให้ประชาชนรู้จักการประหยัดเก็บออม มีสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินเงินทองของประชาชนให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย

จึง ได้ทรงจัดตั้ง คลังออมสิน ขึ้น โดยสังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ ดำเนินธุรกิจภายใต้ พระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ. 2456


29. คำว่า นาย นาง นางสาว เด็กชาย เด็กหญิง นำหน้าชื่อ และการใช้นามสกุล มีใช้เป็นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 6





30. พระราชบัญญัติประถมศึกษา และพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฏร์ มีขึ้นเป็นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 6


31. ธงชาติไทย มีใช้เป็นครั้งแรกเรียกว่า "ธงช้าง" ในสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่ยนเป็นใช้ ธงไตรรงค์ ดังเช่นทุกวันนี้


32. คำว่าพุทธศักราช (พ.ศ.) ใช้แทนคำว่า รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6

อนึ่ง ผู้ที่ริเริ่มใช้ ร.ศ. คือรัชกาลที่ 5 (โดยร.ศ. 1 ตรงกับปี พ.ศ. 2331)


33. สะพานลอยแห่งแรกของประเทศไทย คือ สะพานกษัตริย์ศึก ที่ยศเส ลอยข้ามทางรถไฟ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และความสะดวกของการจราจร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2471

อำนวยการสร้างโดย พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระนามเดิมพระองค์เจ้าชาย"บุรฉัตรไชยากร"

พระองค์เป็นผู้บัญชาการ กรมรถไฟหลวง และเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม


34. พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย เมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7

ดำรงตำแหน่งระหว่าง 28 มิถุนายน-10 ธันวาคม 2475 แล้วถูกเนรเทศไปอยู่ที่ ปีนัง มาเลเซีย จนถึงแก่อสัญกรรม


35. รถเมล์ขาว เป็นรถโดยสารประจำทางคันแรกของไทย เป็นของนายเลิด หรือพระยาภักดีนรเศรษฐ์

แรก ทีเดียวในปี พ.ศ. 2450 เป็นรถเทียมม้า ต่อมาเป็นรถยนต์สามล้อ
ยี่ห้อ ฟอร์ด มีที่นั่งยาวเป็นสองแถว กิจการรถเมล์เจริญขึ้นเป็นลำดับ
จึงกลาย เป็นรถโดยสารและขยายเส้นทางออกไปทั่วกรุงเทพ
ในปี พ.ศ. 2476


36. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2476 ในสมัยรัชกาลที่ 7


37. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ในสมัยรัชกาลที่ 7


38. นางสาวกันยา เทียนสว่าง เป็นนางสาวไทยคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2477 สมัยนั้นใช้ชื่อว่า นางสาวสยาม จัดประกวดในงานวันฉลองรัฐธรรมนูญ ในสมัยรัชกาลที่ 8

และเปลี่ยนไปใช้ชื่อนางสาวไทย เมื่อปี พ.ศ. 2482

(อ้าง อิงจากข้อ19) ภาพรถไฟไทยในอดีต และ
นางสาวสยาม ปี พ.ศ.2480

นางสาวมยุรี วิชัยวัฒนะ(มยุรี เจริญศิลป์) นางสาวสยาม ปี พ.ศ.2480 ถ่ายโดยช่างภาพกรมรถไฟ เมื่อ 13 ธันวาคม 2480

รถไฟขบวนนี้ เป็นรถจากกรุงเทพ - อยุธยา ภาพนี้ปรากฏในหน้า 1 หนังสือพิมพ์ประชาชาติ ฉบับวันที่ 13 ธันวาคม 2480 เนื่องจากคุณมยุรี วิชัยวัฒนะ ประกวดในนามตัวแทนจากกรุงเก่า (อยุธยา) ตามที่ท่านข้าหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาส่งเข้าประกวด พอได้รับการประกาศผลเป็นนางสาวสยามในคืนวันที่ 12 ต่อคืนวันที่ 13 ธันวาคม ก็รีบเดินทางไปอยุธยาตอนตี 3 ที่ต้องเสียเวลาก็เพราะต้องฝ่าฝูงมหาชนที่ยืนรอชมเธอ ตั้งแต่วังสราญรมย์ ถึงสถานีหัวลำโพง พอถึงสถานีรถไฟอยุธยา มีขบวนแห่นางสาวสยามล่องเรือไปรอบเกาะเมือง และจัดแพรับรองหน้าจวนข้าหลวงจังหวัด แล้วมีการสัมภาษณ์บริเวณแพรับรอง


39. พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) เป็นผู้ตั้งโรงงานผลิตเบียร์แห่งแรกขึ้นในประเทศไทย คือ บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ ผลิตเบียร์ตราสิงห์ออกสู่ตลาดครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2477
ในสมัยรัชกาลที่ 8


40. โรงเรียนสอนคนตาบอด ตั้งขึ้นโดย มิสเจนีวิฟ คอลฟิลด์ ชาวอเมริกัน เมื่อ พ.ศ. 2482 ในสมัยรัชกาลที่ 8


41. ประเทศไทยมีการพิมพ์แสตมป์ ใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2484 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐนมตรี ในสมัยรัชกาลที่ 8


จอมพล ป. พิบูลสงคราม


42. โรงเรียนสอนคนหูหนวก เปิดสอนครั้งแรกที่โรงเรียนเทศบาลโสมนัส เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ในสมัยรัชกาลที่ 9


43. นางอรพินท์ ไชยกาล เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงคนแรกของไทย จากจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ.2494


44. สถานีไทยโทรทัศน์ หรือทีวีช่อง 4 เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทย ตั้งอยู่ที่บางขุนพรหม กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498


45. โผน กิ่งเพชร หรือนายมานะ ศรีดอกบวบ เป็นแชมป์โลกคนแรกของไทย ด้านมวยสากล เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2503

เป็นการชกชิงตำแหน่งแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท จาก ปาสคาล เปเรซ นักชกชาวอาเยนตินา ณ เวทีลุมพินี ต่อหน้าพระที่นั่งด้วย

นับ เป็นเกียรติประวัติแก่ชาติไทย ด้วยเหตุนี้สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย จึงกำหนดให้วันที่ 16 เมษายน ของทุกปี
เป็นวันนักกีฬายอดเยี่ยม

แม้ว่าต่อมาโผน กิ่งเพชรจะเสียตำแหน่งไป แต่ก็สามารถชิงกลับมาได้อีกถึงสามครั้ง จนประกาศแขวนนวมเมื่อปี พ.ศ.2509


46. แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับแรก ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2504-2509 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐนมตรี


47. นางสาวอาภัสรา หงสกุล เป็นมิสยูนิเวอร์สคนแรกของไทย จากการตัดสิน ณ ไมอามี บีช ฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2508





48. คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง เป็นสตรีไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลแมกไซไซ ในปี พ.ศ. 2514 สาขาบริการชุมชน

คุณนิลวรรณเป็นบรรณาธิการนิตยสาร สตรีสาร นานถึง 48 ปี เป็นกำลังสำคัญก่อตั้งสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย และมีผลงานเขียนร้อยแก้ว ทั้งบทความ และสารคดีจำนวนมากมาย


49. นางสมทรง สุวพันธ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านหญิงคนแรกของไทย ได้รับเลือกตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2525


50. นายสมรักษ์ คำสิงห์ เป็นคนไทยคนแรกที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิคเหรียญแรกให้ไทย โดยชนะการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น รุ่นเฟเธอร์เวท ณ เมืองแอตแลนต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2539.

Credit: http://atcloud.com/stories/56392
9 มิ.ย. 53 เวลา 17:59 7,150 22 222
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...