สูญพันธุ์

ช้างแมมมอธ (Mammuthus armeniacus)" อาศัยอยู่บนโลกมาตั้งแต่ 4.8 ล้านปีก่อน และสูญพันธุ์ไปเมื่อ 13,000-60,000 ปี เคยอาศัยอยู่แถบอเมริกาเหนือและยูเรเซีย น้ำหนักราว 6-8 ตัน แต่ถ้าเป็นตัวผู้ตัวใหญ่ๆ อาจหนักถึง 12 ตัน


ช้างแมมมอธ เป็นช้างที่อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็งเมื่อ 20,000 ปีก่อน แต่สูญพันธุ์ไปเพราะถูกมนุษย์ยุคหินล่า มีขนยาวปกคลุมเพื่อป้องกันความหนาวเย็น มีงายาวและโค้ง การค้นพบซากแมมมอธ สามารถนำมาศึกษาวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก เพราะแมมมอธเคยผ่านช่วงเวลานั้นมา พ.ศ. 2550 ได้มีการพบซากลูกช้างสูง 130 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ใกล้กับแม่น้ำยู ริเบ ในเขตปกครองตนเอง ยามาล - เนเน็ต ทางตะวันตกเฉียงเหนือของไซบีเรีย โดย ยูริ คูดี


"เซเบอร์ทูธไทเกอร์ (Smilodon fatalis)" หรือ "เสือเขี้ยวดาบ" สูญพันธุ์ไปจากโลกเมื่อ 10,000 ปีก่อน สัตว์ที่อุ้มบุญและให้ไข่ได้น่าจะเป็น "แอฟริกันไลอ้อน

เสือ เขี้ยวดาบ เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ อาศัยอยู่ในทวีปยุโรป แอฟริกา เอเชียและอเมริกาเหนือ ในเขตทุ่งหญ้าสเตปส์ ทุ่งหญ้าสะวันนา ทุ่งหญ้าแพร์รี่ ป่าไม้ผลัดใบและป่าดงดิบ เมื่อราว 10,000 ปีก่อน รูปร่างและขนาด ขาหน้ายาวกว่าขาหลัง หางสั้น ฟันเขี้ยวบนยาวแบนและโค้งแบบมีดดาบ ขึ้นชื่อว่าจู่โจมดุเดือด และฉีกกระชากเหยื่อด้วยฟันที่แหลมคมได้ฉับไว

นักวิจัยใช้คอมพิวเตอร์จำลองแบบฟันกราม กล้ามเนื้อ และกะโหลกของเสือเขี้ยวดาบ เปรียบเทียบกับสิงโตสมัยใหม่ พบว่า เสือเขี้ยวดาบไม่ได้มีกรามที่แข็งแรงอะไรนักหนา โดยมันจะเข้าตะครุบเหยื่อ และใช้ฟันเขี้ยวงับเข้าที่หลอดลมของเหยื่อเท่านั้นเอง ไม่ต่างจากเสือ และสิงโตสมัยใหม่


"มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (Homo neanderthalensis)" สูญพันธุ์ไปเมื่อ 25,000 ปีก่อน
มนุษย์นี แอนเดอร์ทัล (Neanderthal man) แต่ไม่ใช่ในความหมายเปลี่ยนไม่ได้ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2-3 แสนปีมาแล้วที่ปรากฏมนุษย์ที่คล้ายกับมนุษย์ใหม่ ชนิดแรกที่เป็นชนิดมนุษย์แบบเดียวกับเราก็คือมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล  ไม่ว่ามนุษย์นีแอนเดอร์ทัลได้เป็น สปีชี่ย่อย (subspecies) ของ Homo sapiens (Homo neanderthalensis) หรือ เป็นสปีซีที่แยกออกไปต่างหาก (Homo neanderthalensis) เป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกันอยู่บ้าง สิ่งที่ชัดเจนก็คือเมื่อประมาณแสนปีมาแล้ว ยุโรปและเอเซียมีผลเมืองในรูปของชนเผ่าคล้ายคลึงกับพวกเรามาก

มีส่วนที่เข้าใจมโนทัศน์ผิดกันทั่วไปเกี่ยว กับมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล ที่ติดตัวเป็นภาพของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล เช่นการเดินไม่มั่นคง ร่างใหญ่น้ำหนักมาก ผิวร่องรอยตะปุ่มตะป่ำ มีปัญญาน้อย  ที่จริงแล้วมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลมีสมองใหญ่กว่า homo sapiens สมัยใหม่เสียอีก อาการเดินที่ไม่มั่นคงดังอธิบายนั่นอาจมาจากการวิเคราะห์โครงกระดูกที่ค้นพบ เป็นโครงกระดูกเป็นของชายที่เจ็บป่วยจากการเป็นโรคไขข้อที่รุนแรง และต่อมาทำให้หลังโคงงอ  การรื้อฟื้นเกี่ยวกับมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลนั้นถ้ามีจริงอาจจะเป็นบางคนที่ เดินปะปนอยู่ตามที่ต่างๆ ที่ไม่สามารถสังเกตความแตกต่างได้

นอกจากนี้มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลมี ความก้าวหน้าที่มีการนับถือศาสนา ซึ่งพวกเขาได้ฝังผู้ตาย และตลอดช่วงการมีชีวิต ได้มีการทำเครื่องหอม และเครื่องไม้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับอารยธรรมของมนุษย์


 

"ชอร์ตเฟซแบร์ (Arctodus simus)" หรือ "หมีหน้าสั้น" สูญพันธุ์เมื่อประมาณ 11,000 ปี มันสูงกว่าหมีขั้วโลกเมื่อยืนเทียบกันถึง 1 ใน 3 น้ำหนักราว 1,000 กิโลกรัม

ปกติหมีขั้วโลกมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 500 กก แต่ตัวที่ใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้หนักถึง 1,002 กก สัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าทีมนุษย์เคยรู้จักคือ หมีหน้าสั้น (Arctodus simus) ซึ่งอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาแต่สูญพันธุ์ไปเมื่อ 10,000 ปีก่อน คาดว่าหมีหน้าสั้นนี้มีน้ำหนักประมาณ 800-1000 กก


เสือทัสมาเนีย (Thylacinus cynocephalus)" สูญพันธุ์ไปเมื่อค.ศ. 1936 หรือประมาณ 70 ปีก่อน ตัวสุดท้ายของโลกที่ตายชื่อ "เบนจามิน" อยู่ที่สวนสัตว์เมืองโฮบาร์ต บนเกาะทัสมาเนีย ประเทศออสเตรเลีย

เสือทัสมาเนีย (Tasmanian Tiger) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หมาป่าทัสมาเนีย หรือ (Tasmanian Wolf) ส่วนอีกชื่อหนึ่งนั้น ตามชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Thylacine เสือตัวที่ว่านี้ทำให้โลกหันมาสนใจ เพราะเป็นสัตว์กินเนื้อที่หายากจนนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ ลงความเห็นว่าสูญพันธุ์หมดไปจากโลกนี้แล้ว แต่ก็มีข่าวคราวว่าพบเสือทัสมาเนียนี้กันบ่อยครั้ง ก็ไม่ทราบว่าจริงหรือเท็จ เพราะไม่มีภาพถ่ายที่ยืนยันการพบปะกับเสือที่ว่านี้ได้ (ใครจะไปคิดว่าจะเจอหรือพกกล้องติดตัวไปด้วยตลอดเวลา) แต่ก็มีหลักฐานมากมายว่ามีการพบเสือที่ว่านี้บ่อยครั้งขึ้น หลายคนภาวนาให้เป็นอย่างนั้น เมื่อ พ.ศ.2538 มีเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ของทัสมาเนียผู้หนึ่งพบร่องรอยของเสือชนิดนี้ ทางตะวันออกของทัสมาเนีย นับเป็นการค้นพบครั้งสำคัญก็ว่าได้

เสือตัวที่ว่านี้มีลักษณะคล้ายๆกับสุนัขใน บ้านเรา แต่มีฟันหน้าที่แหลมคม นอกจากนั้นลำตัวและหางของเสือประเภทนี้มีลักษณะคล้ายๆกับจิงโจ้ บางครั้งมันยืนด้วยสองขาหลังเหมือนจิงโจ้ด้วย เสือทัสมาเนียที่ชาวออสเตเลียเคยเห็นเป็นขนปุยลายทางสีน้ำตาลอ่อน มีสีดำสลับที่สันหลังค่อนไปทางก้น


เล่ากันว่าเสือประเภทนี้โดยนิสัย ไม่ค่อยวิ่ง เนื่องจากไม่ใช่สัตว์ประเภทวิ่งเร็วเหมือนกับสัตว์กินเนื้ออื่นๆ การจับเหยื่อของมันเป็นอาหาร ก็ไม่ต้องวิ่งไล่ล่าเหยื่อเหมือนเสืออื่นๆ แต่มันจะค่อยๆทำให้เหยื่อเหนื่อยหรืออ่อนล้า โดยการตามไปเรื่อยๆ ก่อนจะจับกินเป็นอาหาร โดยเสือทัสมาเนียอย่างที่ว่านี้จะชอบกินอวัยวะของเหยื่อสัตว์ต่างๆ ตั้งแต่สัตว์ใหญ่อย่าง วอลลาบี จิงโจ้ ไปจนถึงแบนดีคู้ต หนู และนก ของโปรดจากอวัยวะของสัตว์เหล่านั้นได้แก่ คอ จมูก ตัว และไต หลายคนสงสัยว่าเสือที่ว่าเห่าหอนอะไรบ้างหรือเปล่า นักสัตวศาสตร์ก็บอกว่ามันไม่ค่อยเห่าหอนเท่าไหร่นัก แต่ก็มีบ้างในบางครั้ง แต่ก็นานๆทีว่างั้นเหอะ


กลิปโทดอน (Doedicurus clavicaudatus)" เป็นตัวอมาดิลโลที่มีขนาดพอๆ กับรถโฟล์กเต่า สูญพันธุ์ไปจากโลกราว 11,000 ปี ครั้งหนึ่งเคยอาศัยอยู่แถบอเมริกาใต้

สังเกต ที่ช่วงหางจะเป็นอาวุธสามารถใช้โจมตีศัตรูได้ สัตว์ประเภทนี้มักจะอาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มเป็นฝูง


"วูลลี่ ไรโนเซอรัส (Coelodonta antiquitatis)" หรือ "แรดขน" สูญพันธุ์ไปราว 10,000 ปี ลำตัวยาวประมาณ 3.7 เมตร นอยาว 1 เมตร เคยอยู่แถวยุโรปเหนือและไซบีเรีย

แรดขน ตัวยาว 5 เมตร เคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 6,000 - 9,000 ปีมาแล้ว เป็นสัตว์ดุร้าย กินหญ้าเป็นอาหาร แรดชนิดนี้คนสมัยโบราณเคยวาดไว้ตามผนังถ้ำ


โด โด้ (Raphus cucullatus)" เป็นญาติของนกพิราบและนกนางนวล สูญพันธุ์ไปเมื่อ ค.ศ. 1690 สูงประมาณ 1 เมตร น้ำหนัก 20 กิโลกรัม เคยอยู่แถบมอริเชียสหรือมหาสมุทรอินเดีย

โด โด้ (dodo) เป็นนกท้องถิ่นที่พบได้เฉพาะบนหมู่เกาะมอริเซียสในมหาสมุทรอินเดียมันเป็นนก ที่บินไม่ได้อยู่ในตระกูลเดียวกับนกพิราบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Raphus cucullatus

ไจแอนต์กราวด์สล็อธ (Megatherium americanum)" หรือ "หมีสล็อธดินยักษ์" สูญพันธุ์ไปราว 8,000 ปี ระดับดีเอ็นเอที่รักษาไว้ได้คือ 2/5 "หมีสล็อธดินยักษ์" เมื่อยืนแล้วจะสูงประมาณ 6 เมตร น้ำหนัก 4 ตัน

เทียบลักษณธโครงกระดูกของ Megatherium americanum


 

โมอา (Dinornis robustus)" เป็น นกมีลักษณะคล้ายกับนกกระจอกเทศ พบดีเอ็นเอมากในนิวซีแลนด์ ถ้ายืนมันจะสูงประมาณ 3.6 เมตร สูญพันธุ์ไปเมื่อราว ค.ศ. 1500 คาดว่าถูกล่าโดยชาวเมารี

โครงกระดูกของนกโมอาที่พบ แสดงให้โลกเห็นวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของมันว่า มันได้วิ่งมาตกอยู่ในหล่มโคลน และถูกนกอินทรีจิกกัดจนตาย เพราะกระดูกส่วนหัวและคอของมันได้หายไป จากนั้นซากศพของมันก็ถูกโคลนดูด จนจมลึกลงไปในดิน นักชีววิทยาทุกวันนี้สนใจศึกษาสาเหตุที่ทำให้นกโมอาสูญพันธุ์มาก เพราะการรู้สาเหตุที่แท้จริงของการสูญพันธุ์จะทำให้งาน อนุรักษ์สัตว์อื่นๆ ที่กำลังจะสูญพันธุ์สามารถดำเนินไปได้อย่างถูกต้องและราบรื่นด้วย


 

ไอริชเอลก์ (Megaloceros giganteus)" มีลักษณะคล้ายกวาง สูญพันธุ์ไปเมื่อ 7,700 ปี

โครงกระดูกของ ไอริชเอลก์  ที่ถูกเก็บรักษาไว้

วัวทะเลพันธุ์สเตลเลอร์ ตัวยาว 10 เมตร ซึ่งค้นพบในปี ค.ศ.1741 และถูกมนุษย์ล้างผลาญเป็นอาหารหมดสิ้นในปี ค.ศ.1768

กระทิงขนยาว


ถิ่นกำเนิด : อยู่ในที่ราบของอเมริกา เมื่อ11,000ปีมาแล้ว ซึ่งอยู่ในช่วง*ยุคมิคสัญญี*

ลักษณะ : ตัวสูง1.5ถึง2.5เมตร นิสัยดุร้ายกว่ากระทิงยุคปัจจุบันมาก มีโหนกตรงส่วนหลัง เขายาวถึง2เมตร

สาเหตุของการสูญพันธ์ : เนื่องจากมนุษย์ต้องการขนของมันมาเป็นเครื่องนุ่งห่มและเขาของมันยังเป็น เครื่องประดับชั้นยอด ผนวกกับการสิ้นสุดของยุคน้ำแข็งจึงทำให้!ชนิดนี้สูญพันธ์ไปโดยไร้ร่องรอย

สัตว์พันธุ์ครึ่งม้าลายครึ่งลา ซึ่งเคยมีในประเทศอาฟริกาใต้ เมื่อทศวรรษ 1860 ถูกตามล่ากวาดล้างให้สิ้นซากเพื่อขายทอดตลาดด จนสูญพันธุ์แค่กลางปี 1880 เท่านั้น


อสูรกายทะเลใหญ่ยักษ์สุดๆ ยาวได้ถึง 15 เมตร เฉพาะครีบก็ยาวถึง 3 เมตร ใช้ขากรรไกรขบรถเก๋งให้ขาดครึ่งได้สบาย ระบุสัตว์ดึกดำบรรพ์ยุคจูราสสิคนี้เป็นสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยค้นพบ


เทียบขนาดส่วนครีบกับเด็กน้อย


ตัว นี้เป็นจระเข้ประหลาด น้ำทะเล นามก๊อตซิลล่า

มีการค้นซากโบราณของ จระเข้ขนาดใหญ่ซึ่งได้รับการขนานนามว่า “ก๊อดซิลลา”ครับ
จระเข้โบราณนี้มีลักษณะและ ขนาดที่ต่างไปจากจระเข้ในยุคปัจจุบัน แต่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ คือ มีส่วนโครงสร้างด้านหน้าบริเวณจมูกและปาก ในลักษณะที่ยื่นออกมา และมีฟันเป็นหยักๆ คล้ายฟันเลื่อย ซากนี้พบในบริเวณที่ราบสูง พาทาโกเนีย จระเข้ดังกล่าวเคยครองมหาสมุทรของโลกเมื่อประมาณ 140 ล้านปีมาแล้ว


ปลาซีลาคานท์


ผู้ ที่สนใจในเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์ สัตว์ปริศนา คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี เกี่ยวกับเจ้าปลาตัวนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ติดตามหรือสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์ สักเท่าไรก็คงจะพอคุ้นหูกันอยู่ถ้าได้ยินชื่อปลาตัวนี้ นั่นคือ ปลาซีลาคานท์
สำหรับปลาซีลาคานท์นั้น ก่อนที่มีจะรายงานการค้นพบอย่างเป็นทางการ ก็ถูกจัดให้เป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปพร้อมๆกับสัตว์ยักษ์ใหญ่ ไดโนเสาร์

ปลาซีลาคานท์เป็นสัตว์เพียงไม่กี่ชนิด ที่รูปร่างของมันแทบจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลยในระยะเวลานับหลายร้อยล้านปี รูปร่างของมันทุกวันนี้เหมือนกับเมื่อ 140 ล้านปีก่อนทุกประการ ความคุ้นเคยกับฟอสซิลของมันที่ สมิธพบในเหมืองที่ประเทศเยอรมนีตอนใต้ ทำให้สามารถบอกได้ทันทีว่านั่นคือปลาซีลาคานท์


Credit: http://atcloud.com/stories/61181
#สูญพันธุ์
Messenger56
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
9 มิ.ย. 53 เวลา 17:24 21,562 40 386
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...