ย้อน เวลาหาอดีต

ภาพถ่าย โดย ลูอิส ไฮน์  

พลัดที่นาคาที่อยู่

ลูอิศ ไฮน์ ช่างภาพผู้เป็นที่รู้จักจากผลงานภาพถ่ายมหานครนิวยอร์กและภาพสะเทือนอารมณ์ ของผู้อพยพและแรงงานเด็กบนเกาะเอลลิส เดินทางถึงกรุงปารีสเมื่อปี 1918 ไฮน์ได้รับการว่าจ้างจากสภากาชาดสหรัฐฯ ให้บันทึกภาพเกี่ยวกับโครงการบรรเทาทุกข์ต่างๆ ในยุโรป ช่วงเดือนท้ายๆ ของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและหลังจากการสงบศึก ไฮน์ตระเวนเดินทางไปทั่วฝรั่งเศส เบลเยียม และคาบสมุทรบอลข่าน เพื่อเก็บภาพภูมิภาคที่บอบช้ำจากสงคราม เขาถ่ายภาพหญิงสาวผู้ลี้ภัยชาวเซิร์บคนนี้ที่เมืองเกอร์เดียลีตซา ไฮน์เขียนคำบรรยายภาพที่ถ่านในเวลาไล่เลี่ยกันจากพื้นที่เดียวกันนี้ว่า "แม้จะไม่มีหลังคาคลุมหัว แต่ครอบครัวเหล่านี้ก็ดั้นด้นเดินเท้ากลับบ้านจากตอนเหนือของเซอร์เบีย ที่ซึ่งชาวออสเตรียและเยอรมันกวาดต้อนพวกเขาไปผลิตอาหารให้ฝ่ายศัตรู .. เมื่อคนเหล่นนี้เดินทางถึงบ้าน สิ่งที่หลงเหลืออยู่คงมีเพียงซากปรักหักพังเท่านั้น" -- มาร์กาเร็ต จี. แซ็กโควิตซ์

ภาพถ่าย โดย  

flash black 0906

พฤษภาคม 2552

January Flashback

ภาพถ่าย โดย มาร์ก ซิลเวอร์  

ปิดทองหลังพระ
หญิงท้องถิ่นช่วยซ่อมแซมเสื้อคลุมขนสัตว์ให้นัก สำรวจในทีมของโรเบิร์ต อี. แพรี นักสำรวจขั้วโลกผู้เป็นตำนาน คืนนั้นแพรีนอนกระสับกระส่าย “เพราะแมลงเจ้ากรรม!” ตามที่เขาบันทึกไว้ระหว่างการสำรวจกรีนแลนด์ ระหว่างปี 1894 ถึง 1895 นาวาตรีแห่งกองทัพเรือสหรัฐฯ ผู้นี้ระบุว่าหญิงในรูปคือ “อาห์ฮู ภรรยาร่างท้วมของหนุ่มร่างกำยำชื่ออาห์นกีนยาห์” ซึ่งเขาพบที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งบนเกาะซอนเดอร์ส แพรีซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก มุ่งมั่นที่จะเป็นนักสำรวจคนแรกที่ได้เหยียบขั้วโลกเหนือ และแล้วพอถึงเดือนเมษายน ปี 1909 หรือหนึ่งศตวรรษที่แล้ว เขาก็ประกาศชัยชนะว่า “ในที่สุดเราก็มาถึงขั้วโลก... ความใฝ่ฝันและความปรารถนาอันยาวนานถึง 23 ปีของผม!” แม้จะมีผู้ตั้งข้อสงสัยในเวลาต่อมาว่า แพรีทำสำเร็จตามที่เขากล่าวอ้างหรือไม่ แต่ต่อมาก็ได้รับการพิสูจน์ว่า สิ่งที่เขากล่าวอ้างนั้นเป็นความจริง นักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเชื่อว่าแพรีอยู่ห่างจากขั้วโลกเหนือเพียงไม่กี่ กิโลเมตร จึงนับว่าใกล้พอที่จะประกาศว่าเขา


ภาพถ่าย โดย  

มืดฟ้ามัวดิน


ย้อนหลังไปเมื่อปี 1955 ฝูงตั๊กแตนระบาดกลุ้มรุมท้องทุ่งแห่งหนึ่งใกล้นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ปรากฎการณ์เช่นนี้มักเกิดขึ้นในปีที่ฝนชุก ซึ่งเป็นสภาพที่เอื้อต่อการแพร่พันธุ์ของตั๊กแตน แต่เนื่องจากพวกมันสามารถเดินทางได้เป็นระยะทางไกลๆ ดังนั้นแม้แต่ในแถบที่แห้งแล้งก็ไม่วายถูกโจมตีจากแมลงที่หิวโหยเหล่านี้ ปีที่ผ่านมาเป็น ปีทองของตั๊กแตนระบาดในออสเตรเลีย และเป็นปีที่เลวร้ายสำหรับผู้คนที่ต้องทนอยู่กับพวกมัน ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะ ในรัฐวิกตอเรียได้รับคำเตือนให้ระมัดระวังฝูงแมลง ไมเคิล เคส เจ้าหน้าที่จากราชยานยนต์สมาคมแห่งรัฐวิกตอเรีย เตือนว่า “ลองนึกภาพลำตัวอวบอ้วนของตั๊กแตนที่ยาวกว่า 4 เซนติเมตรกระแทกเข้ากับกระจกหน้ารถดูสิครับ พวกมันจะแหลกเหลว แล้วทิ้งเมือกเหนียวๆไว้บนกระจกจนที่ปัดน้ำฝนใช้การไม่ได้ ทีนี้ละครับ คนขับจะมองไม่เห็นอะไรเลย” —มาร์กาเร็ต จี. แซ็กโควิตซ์


ภาพถ่าย โดย  

อวสานวาฬฟินแบ็ก

ภาพถ่าย โดย  

พักผ่อนชั่วนิรันดร์

 

ภาพถ่าย โดย มาร์กาเร็ต จี. แซ็กโควิตซ์  

หน้านี้ต้องใช้เวลา


หน้านี้ต้องใช้เวลา ประธานาธิบดีคนที่สามของสหรัฐฯเป็นใบหน้าที่สองที่ได้รับการสลักลงบนหน้าผา ของเมานต์รัซมอร์ ประติมากร กัตซัน บอร์กลัม ต้องใช้ความพยายามถึงสองครั้งกว่าใบหน้าของทอมัส เจฟเฟอร์สัน จะสำเร็จเป็นรูปเป็นร่างในครั้งแรก ใบหน้าของเจฟเฟอร์สันที่สลักไว้ด้านขวาของจอร์จ วอชิงตัน เกิดรอยแตกต่อมาจึงต้องสกัดออกจากหน้าผาในปี 1934 ส่วนความพยายามครั้งที่สองของบอร์กลัมในปี 1936 รูปสลักใบหน้าของเจฟเฟอร์สัน (บน) ย้ายไปอยู่ทางด้านซ้ายของวอชิงตันแทนตลอดระยะเวลา 14 ปี ของการแกะสลักใบหน้าของประธานาธิบดีทั้งสี่คน ได้แก่ จอร์จ วอชิงตัน, ทอมัส เจฟเฟอร์สัน, เอบราแฮม ลิงคอล์น และทีโอดอร์ โรสเวลต์ ส่วนใหญ่ไม่ได้ออกมาตามแผนที่บอร์กลัมวางไว้แต่แรก เพราะแบบร่างดั้งเดิมตั้งใจให้เป็นอนุสาวรีย์ขนาดครึ่งตัว (ใบหน้าถึงเอว)

ภาพถ่าย โดย ลิวอิส แรดคลิฟ  

เขี้ยวสยอง
สัตว์ชนิดนี้น่าจะมีลำตัวยาว 15 เมตร และหนัก 4.5 ตัน ทั้งยังมีปากกว้างพอจะกลืนตู้เย็นลงท้องได้สบายๆ ที่ว่ามานี้เป็นแค่การคาดเดาว่า Carcharodon megalodon มีหน้าตาเป็นอย่างไรก่อนที่มันจะสูญพันธุ์ไปเมื่อหนึ่งล้านปีก่อน แม้ฟันของฉลามดึกดำบรรพ์จะเป็นหนึ่งในซากสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่พบมาก ที่สุด ภาพปี 1927 นี้เผยให้เห็นฟันเมกะโลดอนขนาด 15 เซนติเมตร ซึ่งใหญ่พอจะล้อมกรอบฟันของฉลามขาวยักษ์ยุคปัจจุบันได้ แต่โครงกระดูกของมันเป็นกระดูกอ่อน และหลายชิ้นก็เสื่อมสลายไปอย่างรวดเร็วก่อนที่จะกลายเป็นฟอสซิลให้เราได้ เก็บมาศึกษา

ภาพถ่าย โดย AMERICAN RED CROSS  

รักระหว่างรบ

งานช่วยรับจดหมายจากทหารที่สถานีรถไฟในวอชิงตันดี.ซี. เมื่อปี 1917 อาจช่วยให้เกรซรู้สึกใกล้ชิดกับสามีทหารของตนมากขึ้น สามีของเธอ คอร์นีเลียส แวนเดอร์บิลท์ ที่สาม ซึ่งรับราชการทหารอยู่ในยุโรปในฐานะผู้บัญชาการกองพลทหารช่างที่ 102 และได้รับการเชิดชูเกียรติหลายครั้ง รวมทั้งการได้รับเหรียญราชการดีเด่นหนึ่งครั้ง

คอร์นีเลียส ผู้มีชื่อเล่นว่านีลี ถูกตัดออกจากกองมรดกเพราะแต่งงานกับเกรซ คอร์นีเลียส แวนเดอร์บิลท์ ที่สอง พ่อของนีลี ซึ่งเป็นมหาเศรษฐีและผู้ทรงอิทธิพลในธุรกิจทางรถไฟ คัดค้านการแต่งงานนี้เพราะเกรซมีอายุมากกว่าลูกชายของเขา 3 ปี ในภายหลังน้องชายของนีลีได้คืนสิทธิในมรดกให้กับพี่ชาย และคู่สมรสก็ครองรักกันยืนยาวตราบจนทั้งสองสิ้นอายุขัย

 

ภาพถ่าย โดย ลินท์ซ บราเทอร์ส  

ลูกเล่นท้ามฤตยู

คำบรรยายภาพในบทความของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับเดือนตุลาคม ปี 1931 กล่าวไว้ว่า "ตอนแรกเราฝึกช้างเรียนรู้ที่วิธีคาบลูกบอลขนาดเท่ากะโหลกมนุษย์อย่างระมัด ระวัง ต่อมาจึงค่ยๆเพิ่มน้ำหนักทีละนิดให้เท่ากับศีรษะคน จากนั้นจึงค่อยให้ช้างคาบศีรษะของเขาแทนลูกบอล"

"เชียร์ฟูล” การ์ดเนอร์ ผู้ฝึกช้างเชือกนี้ได้รับการจารึกชื่อไว้ในหอเกียรติยศละครสัตว์นานาชาติ (International Circus Hall of Fame) เมื่อปี 1981 แต่ในปัจจุบันไม่มีการแสดงชุดลูกตุ้มมนุษย์อีกต่อไป เพราะจเป็นอันตรายถึงชีวิต


ภาพถ่าย โดย HULTON ARCHIVE, GETTY IMAGES  

พูดจาภาษาปลา

"คุณคงไม่นึกถึงว่าปลาจะส่งเสียงร้องได้ แต่ปลาหลายชนิดทำได้ครับ ทั้งเสียงคำราม เสียงคราง เสียงเคาะ เสียงแหบต่ำ หรือกระทั่งเสียงขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน" เอฟ. แบร์โรวส์ โคลตัน เขียนไว้ในเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับเดือนมกราคม ปี 1945 ซึ่งตีพิมพ์รูปนี้เป็นครั้งแรก ช่างภาพ ลีโล เฮสส์ ทดลองบันทึกเสียงปลาที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนิวยอร์ก โดยใช้อาหารล่อปลาปักเป้าหนามทุเรียนให้เข้ามาหาไมโครโฟน แม้ว่าเจ้าปลาตาโปนจะทำท่าราวกับเป็นนักร้องเสียงใส แต่มันไม่ได้ส่งเสียงผ่านริมฝีปาก หากแต่ใช้วิธีขบฟันไปมาเพื่อแสดงออกถึงความเจ็บปวด ความก้าวร้าว หรือไม่ก็ดึงดูดคู่

ในช่วงนั้น กองทัพเรือสหรัฐฯ กำลังเก็บบันทึกเสียงใต้ท้องทะเลไว้เช่นกัน เพื่อนำมาสอนให้ลูกเรือหัดฟังเสียงเครื่องตรวจจับเรือดำน้ำ เพื่อให้สามารถแยกเสียงปลาออกจากเสียงใบพัดเรือของข้าศึกได้


ภาพถ่าย โดย Illustrated London News Pictures  

เรือลอยฟ้า


หลังจากทอดสมอที่เซี่ยเหมินในช่วงน้ำขึ้นของคืนวันหนึ่ง เช้าวันถัดมาเหล่าลูกเรือก็พบว่าเรือเกยอยู่บนโขดหินอยางง่อนแง่น ดังภาพที่ตีพิมพ์ในเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับเดือนพฤศจิกายน 1934 ผู้เชี่ยวชาญด้านการเดินเรือของจีน มาร์ก สตีเฟน กล่าวว่า "ภาพเรือเกยฝั่งมีให้เห็นมากมาย แต่มีไม่กี่ลำที่ถูกเก็บภาพไว้อย่างน่าประทับใจเช่นนี้ครับ"
    เรือสำเภาไม้เช่นลำนี้ เป็นหนึ่งในสำเภาของกองเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอ ซึ่งออกท่องทะเลจีนมาตั้งแต่ 600 ปีก่อน และยังคงเห็นได้ในสมัยปัจจุบันเช่นกัน


ภาพถ่าย โดย อัลเฟรด ปาลเมอร์  

หางม้าพยากรณ์


เมื่อปี 1943 สาวน้อยผู้นี้มีหน้าที่ต้องหมั่นสำรวจและดูแลสภาพผมเป็นประจำทุกวัน เพียงแต่ไม่ใช่ผมของเธอ เพราะหน้าที่ส่วนหนึ่งของเธอที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งวอชิงตัน คือการตรวจสอบปอยผมหางม้าเงางามกระจุกนี้ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเครื่องไฮกรอมิเตอร์ (hygrometer) หรือเครื่องตรวจวัดระดับความชื้นในอากาศ โดยวัดว่าเส้นผมหดสั้นเข้าหรือยาวออกมากน้อยขนาดไหน แต่ไม่ใช่ว่าผมทุก ประเภทจะใช้งานได้ ข้อมูลเกี่ยวกับภาพถ่ายนี้ระบุว่าปอยผมส่วนใหญ่ "มาจากรัฐแถบมิดเวสต์ทางตอนเหนือ" ซึ่งมีประชากรเชื้อสายสแกนิดิเนเวียอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่ ผมสีบลอนด์สภาพดีปอยหนึ่งสามารถขายได้ในสนนราคาถึง 25 เหรียญเลยทีเดียว


ภาพถ่าย โดย AP Photograph  

สวมง่ายสบายจัง


ในช่วงก่อนส่งครามโลกครั้งที่สอง ประเทศอังกฤษประกาศคำขวัญเตือนใจว่า "สวมหน้ากากกันก๊าซพิษ แล้วชีวิตจะปลอดภัย" เมื่อปี 1936 ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามใกล้จะปะทุ  รัฐบาลอังกฤษได้เผยแพร่ภาพโฆษณาชวนเชื่อนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าสมาชิกในครอบ ครัวสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้อย่างสบายๆ แม้จะสวมหน้ากากกันก๊าซพิษอยู่  แต่ภาพนี้ออกจะขัดกับความเป็นจริง เพราะหน้ากากที่เห็นอยู่นี้มีใช้ในกองทัพเท่านั้น ไม่ใช่ของที่ชาวบ้านทั่วไปจะซื้อหามาใช้  เมื่อกองทัพอากาศเยอรมันโจมตีอังกฤษด้วยการทิ้งระเบิดที่ไม่มีสารเคมีเจือปน ในเดือนมิถุนายน ปี 1940 ชาวอังกฤษส่วนใหญ่ต่างเอือมระอากับคำเตือนของรัฐบาลเรื่องอาวุธเคมี  หน้ากากกันก๊าซพิษจึงต้องระเห็จไปอยู่ในห้องเก็บของ


ภาพถ่าย โดย All Year Club of Southern California  

อร่อยเย็นชื่นใจ

ซุ้มขนาดใหญ่เตะตาอย่างร้านขายไอศกรีม "ฮูกฮูก" ในลอสแองเจลิส ซึ่งสร้างเป็นรูปนกเค้าโดยมีส่วนหัวนกที่หมุนไปมาได้เหมือนของจริงและตา เรืองแสงในความมืดได้นั้น มีให้เห็นทั่วไปตามท้องถนนของอเมริกาในช่วงทศวรรษ 1920  เนื่องจากสมัยนั้นรถยนต์เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ร้านรวงต่างๆจึงต้องพยายามสร้างตึกหรือซุ้มขายสินค้าที่ดูสะดุดตาเข้าไว้ เพื่อให้ผู้คนที่สัญจรไปมาบนท้องถนนสังเกตเห็นได้ง่ายขึ้น

ไม่มีใครรู้ว่าทำไมเจ้าของร้านถึงเลือกใช้ซุ้มรูปนกเค้าเป็นตัวดึงดูด ลูกค้า แต่ร้านนี้ได้ปิดตัวลงเมื่อนานมาแล้ว โดยปัจจุบันได้กลายเป็นที่ตั้งร้านอาหารเม็กซิกันแทน


ภาพถ่าย โดย วิลเลียม อัลเบิร์ต อัลลาร์ด  

เบื้องหลังโลกมายา


เมื่อปี 1948 เหล่าดารานักแสดง ผู้กำกับและทีมงานปักหลักถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง แด่กฤษณะ (Devotion to Lord Krishna) ที่เมืองมัทราส ซึ่งอยู่ห่างจากบอมเบย์ ศูนย์กลางของบอลลีวู้ดกว่า 1,000 กิโลเมตร ช่างภาพบันทึกว่า เขาถ่ายภาพนี้ "ในปีที่สามของการถ่ายทำอย่างไม่รีบเร่ง" ขณะที่ผู้สร้างภาพยนตร์บรรจงสร้างโลกแห่งจินตนาการอยู่ในนิวโทนสตูดิโอ ซึ่งปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้ว สังคมอินเดียในทศวรรษ 1940 กลับเต็มไปด้วยเรื่องวุ่นวาย เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นสงครามโลกครั้งที่สอง การได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ การแบ่งแยกประเทศออกเป็นอินเดียและปากีสถาน ตลอดจนการลอบสังหารมหาตมะคานธี ล้วนเกิดขึ้นภายในช่วง 10 ปีนั้น


ภาพถ่าย โดย เดฟ โกฟ  

ขุดหางาช้าง


การค้นหางาช้างแมมมอธที่อะแลสกาในช่วงต้นทศวรรษ 1900 ไม่ถือว่าเป็นงานช้าง เพราะแม้พวกมันสูญพันธุ์ไปแล้วราว 10,000 ปี แต่ชิ้นส่วนของช้างมีขนชนิดนี้ก็ยังหลงเหลืออยู่มากมาย งาช้างยุคก่อนประวัติศาสตร์มักผุดขึ้นมากลางผืนหิมะ แต่นักล่างาช้างผู้นี้น่าจะต้องขุดงาขึ้นมาจากใต้ดิน เพราะในอีกรูปหนึ่งที่ไม่ได้ตีพิมพ์นั้น จะเห็นเขาถือพลั่วไว้ในมือ โดยมีข้อความบรรยายภาพว่า ที่ก้นหลุมซึ่งพบงาช้าง "เต็มไปด้วยขนและกระดูกชิ้นเล็กๆ" นักล่างาช้างจำนวนมากในอะแลสกาและที่อื่นๆจะขายงาที่พบ  สารคดีเรื่องหนึ่งในนิตยสารฉบับเดือนกันยายน 1907 ระบุว่า ที่ไซบีเรีย "มีการส่งออกงาช้างแมมมอธอย่างเป็นล่ำเป็นสัน  โดยตลอด 200 ปีที่ผ่านมา มีงาช้างแมมมอธเข้าสู่ตลาดปีละกว่า 100 คู่" จนปัจจุบัน งาช้างเหล่านี้ยังคงมีการซื้อขายกันตลอดมาและเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายเสียด้วย

ภาพถ่าย โดย เฮนรี ดับเบิลยู. เฮนชอว์  

หญิงสาวสายเลือดฮาวาย


หญิงสาวสวมกระโปรงหญ้าและถือยูคูลีลีโพสท่าให้ช่างภาพเก็บภาพลงในนิตยสาร ของเราฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 1924 โดยมีคำบรรยายภาพว่าเธอคือ "หญิงสาวสายเลือดฮาวายบริสุทธิ์" จนมาถึงวันนี้ วัฒนธรรมฮาวายที่เรานำเสนอเปลี่ยนภาพผู้หญิงจากนักระบำพื้นเมืองไปสู่บทบาท สำคัญขึ้น เช่น เป็นผู้นำการประกอบพิธิบวงสรวงเทพีแห่งภูเขาไฟ อันเป็นประเพณีที่สอดประสานการดำรงชีวิตของชาวฮาวายบนแผ่นดินเกิดที่ ธรรมชาติผันแปร



ภาพถ่าย โดย International News Photos   พลังจากสายลม

เมื่อพายุหอบเอาน้ำขึ้นมาจากทะเลสาบเมเรดิท ใกล้เมืองชูการ์ซิตี รัฐโคโลราโด ชาวไร่ในละแวกใกล้เคียงก็ได้ปุ๋ยปริมาณมหาศาลจากซากปลาที่ติดมาด้วย ปัจจุบัน รัฐโคโลราโดยังคงประโยชน์จากกระแสลม โดยทางรัฐใช้พลังงานลมซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในการผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ในครัวเรือนมาตั้งแต่ปี 1998 เนื่องจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลส่งผลให้ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงยิ่ง ขึ้น ประเทศต่างๆทั่วโลกจึงหันมาใช้พลังงานลมมากขึ้นทุกที โดยเยอรมนี สหรัฐฯ เดนมาร์ก สเปนและอินเดียสามารถผลิตรวมกันได้ถึงร้อยละ 80 ของกระแสไฟฟ้าพลังงานลมทั่วโลก ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี 1940 และยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารมาก่อน


ภาพถ่าย โดย โจเซฟ เบย์เลอร์ โรเบิร์ตส  

สองก้นชนกัน


สองสาวในรูปสวมการเกงตัวเดียวกันที่ผลิตจากโรงงานทำกางเกงวีฟเวอร์แพนท์ สคอร์ปอเรชัน ในเมืองโครินท์ มิสซิสซิปปี  โรงงานแห่งนี้ผลิตกาเกงเอวขยายที่อาจมีรอบเอวถึง 142 เซนติเมตร ออกจำหน่าย  แต่กางเกงขนาดใหญ่มากๆต้องสั่งทำเป็นพิเศษ  ภาพนี้เป็นภาพประกอบสารคดีเกี่ยวกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมในมิสซิสซิปปี ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิกปี 1937  ที่น่าสนใจก็คือว่า มิสซิสซิปปีกลายเป็นหนึ่งในรัฐที่มีประชากรน้ำหนักเกินจำนวนมากเป็นลำดับ ต้นๆของประเทศ โดยมีสัดส่วนประชากรที่เข้าข่ายอ้วนเกินปกติถึงร้อยละ 26


ภาพถ่าย โดย เอ. เซเกอร์ส  

ภูมิปัญญาจีน


กลางคืนเป็นเตียง กลางวันเป็นตั่ง ให้ความอบอุ่นทุกเวลา นี่คือ คั่ง โครงสร้างปูนซึ่งอาจจะมีต้นกำเนิดในสมัยราชวงศ์ฮั่นสามารถพบเห็นได้ทั่วไปใน ชนบททางภาคเหนือของจีนในสมัยก่อน การใส่ถ่านหินที่ร้อนระอุไว้ข้างใต้ทำให้ผู้ที่อยู่ด้านบนอบอุ่น ในภาพ ชาวจีนนอนเรียงเป็นแถวบน คั่ง ในโรงเตี๊ยมแห่งหนึ่ง พวกเขาจะนำโต๊ะเล็กๆเตี้ยๆมาวางข้างบนเพื่อรับประทานอาหารในตอนกลางวัน พอตกกลางคืน ก็จะปูเสื่อเป็นที่นอนที่แข็งและอุ่น ส่วนหมอนหนุนนั้น ช่างภาพบอกว่า "ยัดไส้ลูกเดือยและแข็งมากๆ"


ภาพถ่าย โดย Valdeavellano & Co.  

สุสานกลางสวน

นักสำรวจกำลังตรวจสอบเสาหินในเมืองกิริกวา กัวเตมาลา การสำรวจทำได้สะดวกขึ้นหลังจากบริษัท United Fruit Company เข้ามาแผ้วทางป่าเพื่อทำสวนกล้วยในบริเวณใกล้เคียงเมื่อปี 1910 ภาพนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในบทความเรื่อง วัดลึกลับแห่งพงไพร (Mysterious Temples of the Jungle) ฉบับเดือนมีนาคม 1913 ทุกวันนี้ แหล่งโบราณคดี ซึ่งองค์การยูเนสโกประกาศให้เป็นมรดกโลก ยังคงอยู่ท่ามกลางดงกล้วย แต่อนุสาวรีย์ของชนเผ่ามายาที่ซ่อนอยู่ในดงไม้รกชัฏได้รับการดูแลโดยมีรั้ว ไม้กั้นและหลังคาจากคลุม


ภาพถ่าย โดย โรเบิร์ต เอ. เบลีย์  

นักสู้ข้างถนน


ในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่สองใกล้ปิดฉากลง ทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯนายหนึ่งกับผู้ชมที่เป็นพลเรือนกำลังช่วกันลุ้นเด็กชาย 2 คนในภาพนี้ที่กำลังวาดลวดลายการต่อสู้แบบขาเดียวอย่างขึงขังเอาจริงเอาจัง ที่เมืองโอกินาวา หนูน้อยนักสู้คู่นี้อาจดูเหมือนกำลังเลียนแบบท่าทางของไก่ชน แต่การต่อสู้ที่เห็นนี้ก็อาจได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะการป้องกันตัวอันเก่า แก่นับพันปีของหมู่เกาะริวกิว ที่เรียกว่า ริวกิวโคบูโด แม้อยู่ในช่วงสงคราม แต่ทหารสหรัฐฯ ก็ชอบสอนเด็กๆในท้องถิ่นให้รู้จักกลเม็ดเด็ดพรายและการละเล่นอื่นๆที่เด็ก ชาวอเมริกัน


ภาพถ่าย โดย เอ. มาเรีย ฮอยต์  

วันชื่นคืนสุขในคิวบา


เกือบ 70 ปีก่อน คิวบาซึ่งเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างน่าอัศจรรย์มีโอกาสได้ ต้อนรับสิ่งมีชีวิตจากต่างถิ่นอีก 2 ชนิด นั่นคือเจ้า โตโต้ กอริลลาจากคองโก และ “แม่” ชาวอเมริกัน อี. เคนเน็ธ ฮอยต์ นำโตโต้ มาเลี้ยงไว้ที่บ้านในฮาวานาตั้งแต่อายุได้เพียง 3 เดือน หลังจากสามีของเธอยิงพ่อของโตโต้ ตาย  ส่วนแม่แท้ๆก็มาถูกชาวบ้านในแอฟริกาฆ่าไปอีกตัว คำบรรยายภาพนี้ใน เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก ฉบับเดือนสิงหาคม 1940 กล่าวไว้ว่า “คุณนายฮอยต์สงสารลูกกอริลลากำพร้าจับใจ เลยจ้างพยาบาลชาวแอฟริกามาดูแล เจ้าโตโต้ โตมาได้ก็เพราะอ้อมอกมนุษย์แท้ๆ” 


ภาพถ่าย โดย -  

ขบวนขันหมาก


ทาส 3 คนในพม่ากำลังแบกเข่งใส่หมูซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสินสอดที่เจ้าบ่าวจะนำไปมอบ ให้ฝ่ายเจ้าสาว ขบวนขันหมากนี้กำลังเดินไปยังหมู่บ้านใกล้ๆกัน โดยมีนายทาส (คนซ้าย) เดินคุมไปด้วย แม้ว่าประเพณีการแต่งงานในพม่าจะแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและเผ่า แต่ในช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบที่ผ่านมา เจ้าบ่าวส่วนใหญ่ยังนิยมมอบสินสอดให้ฝ่ายหญิง มากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของว่าที่เจ้าสาวและทุนทรัพย์ของ ฝ่ายชาย ภาพนี้ถ่ายหลังจากพม่าประกาศเลิกทาสเมื่อปี 1926 แล้ว 3 ปี


ภาพถ่าย โดย เอช. ซี. เอลลิส  

แดนนรกในปารีส


ในช่วงปลายศตวรรษที่สิบเก้า ชาวกรุงปารีสนิยมไปรับประทานอาหารที่ร้านกาเฟเดอลองแฟร์ (ร้านนรก) ในย่านมองต์มาร์ตร์ ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำแซนเช่นเดียวกับย่านมาเรส์ ร้านดังกล่าวเป็นร้านอาหารแห่งแรกๆของโลก ที่ตกแต่งในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อดึงดูดลูกค้า ผนังร้านประดับด้วยปูนปั้นรูปวิญญาณในนรก ส่วนที่ประตูหน้าก็มีหัวปีศาจตาถลนรอต้อนรับอยู่ ลูกค้าคนหนึ่งซึ่งมาใช้

Credit: http://atcloud.com/stories/62088
9 มิ.ย. 53 เวลา 17:05 4,902 10 138
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...