ในขณะที่สภาพเศรษกิจตกต่ำไปทั่วโลก ประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเช่นกัน จึงเกิดมีเรื่อง เศร้าสะเทือนใจครั้งใหญ่เกิดขึ้นในยุคนั้น เมื่อทางราชการได้ขายช้างหลวงให้ฝรั่ง เพื่อเอาไปใช้งานหนัก โดยใช้วิธีการประมูลราคา เหลือไว้เพียงช้างเผือก 2 ช้างเท่านั้น
การประมูลช้างหลวงในครั้งนั้น "แม่พังแป้น" ซึ่งเป็นช้างหลวงที่มีกริยามารยาทเรียบร้อยมีคนรู้จักมากเพราะเป็นช้างที่อยู่มานาน ก็ถูกนำมาประมูลเช่นกัน ตอนที่ฝรั่งมาดูตัวนั้น พังแป้นก็เหมือนจะรู้ว่า ตัวเองจะต้องถูกประมูลขายตัวออกไปแน่นอน
เธอน้ำตาเธอก็ไหลริน ร้องให้เวลานับตั่งแต่วันที่ไปโชว์ตัวให้ฝรั่งดู พอชาวบ้านรู้ข่าว ว่าเธอเอาแต่ร้องไห้ไม่รับอาหาร ก็ยิ่งพากันสงสารหนักเข้าไปอีก และแล้ว วันเดินทางของเธอ และ ช้างหลวงอื่นๆ ก็มาถึง พังแป้นนำขบวนช้างหลวงทั้งหมดไปรวมตัวกันที่สนามไชย หันหน้าไปทางพระบรมมหาราชวัง ซึ่งในครั้งนั้น มีการตั้งเครื่องสังเวย นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ส่งโขลงช้างที่จะสิ้นสภาพความเป็นช้างหลวง เธอและช้างหลวงทั้งหมดทรุดตัวลง แล้วชูงวงขึ้น แสดงท่ากราบถวายบังคมทูลลาพระบรมมหาราชวัง
จากนั้นควาญใหม่ของนายฝรั่ง จากเมืองเหนือ ที่มารับช้างหลวง ได้ขึ้นคอช้างพร้อมขอ ช้างหลายตัวก็ออกอาการขัดขืน
เมื่อช้างตัวอื่นลุกขึ้นแล้ว พังแป้นก็ยังลุกไม่ขึ้น พังแป้นได้ใช้งวงกอดควาญที่เคยเลี้ยงน้ำตาไหลพรากๆ ตัวควาญเอง ก็ร้องไห้ คนที่เห็นสภาพพังแป้น ก็พากันร้องไห้ตามกันเป็นระงม บรรยากาศเวลานั้น จึงเต็มไปด้วยความโศกเศร้าสลด ในที่สุดแม่พังแป้น ก็ค่อยๆลุกขึ้นยืนนิ่งสักพักหนึ่ง แล้วชูงวงขึ้นถวายบังคมไปยังพระบรมมหาราชวังอีกครั้ง แล้วเธอก็หันหน้า นำโขลงช้างหลวง ช้างอื่นๆออกเดินทาง
พังแป้นเดินร้องไห้ไปตลอดทาง ผู้คนที่สงสารก็เดินไปส่ง ไปดูใจ ไปส่งไกลจน สุดเขตพระนคร พังแป้นและ ช้างหลวงอื่นๆที่ไม่เคยพบความลำบากมาก่อน พอเดินทางมาถึงอยุธยา ช้างหลวงก็ล้ม 2 ช้าง ส่วนพังแป้น เธอเดินน้ำตาไหล จากกรุงเทพ ไปจนถึงนครสวรรค์ และก่อนจะข้ามลำน้ำนครสวรรค์ กำลังของเธอก็หมดลง
ก่อนสิ้นลมสุดท้าย เธอคุกเข่าลง หันหน้ากลับมาทางกรุงเทพ แล้วชูงวงขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย แล้วชีวิตของเธอ แม่พังแป้นก็ขาดใจลงตรงริมฝั่งแม่น้ำนครสวรรค์นั้นเอง
ข้อมูล/ที่มา : เพจเรื่องโบราณ
ภาพประกอบ เรื่อง : พระเศวตคชเดชน์ดิลกฯ ช้างเผือกในรัชกาลที่ ๗