ที่มาของ แซ่แต้

http://variety.teenee.com/world/74794.html

ที่มาของ แซ่แต้

 

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ิแล้ว พระองค์จึงได้ทรงส่งทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศจีนที่กรุงปักกิ่ง แล้วทรงใช้พระนามในพระราชสาส์นนั้นว่า "แต้อั้ว" ซึ่งในสาส์นนั้น ระบุพระองค์ทรงเป็นพระอนุชาของ "แต้เจียว" (สมเด็จพระบรมราชาที่ 4)

ซึ่งในบันทึกประวัติศาสตร์ของประเทศจีน ได้บันทึกเอาไว้ว่า ดังนี้ "..พ.ศ.2325 พระเจ้าเช็งเคี่ยนล้ง ครองราชย์ปีที่ 47 "...แต้อั้ว อนุชา แต้เจียว..." ได้เถลิงถวัลยราชย์เป็นกษัตริย์เสียมก๊ก.."

และนับแต่วันนั้นเป็นต้นมา จึงกลายเป็นราชประเพณีการตั้งชื่อแบบจีนแต้จิ๋ว มาตลอดทุกๆรัชกาล แต่พอมาถึงรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้เพียงแต่กำหนดพระนามเอาไว้ แต่ว่ายังไม่ทันจะได้ใช้ พระองค์ก็ยกเลิกไปก่อน เพราะมีเหตุผลบางประการ จึงงดการติดต่อกับราชสำนักจีน

ถึงแม้ว่าจะเลิกประเพณีการจิ้มก้องไปแล้ว แต่พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทุก ๆ พระองค์ ก็ยังทรงใช้พระนาม " แซ่แต้ " แบบจีนแต้จิ๋วอยู่

ดั่งมีรายพระนามดังนี้

รัชกาลที่ 1 ทรงมีพระนามจีนว่า แต้ฮั้ว

รัชกาลที่ 2 ทรงมีพระนามจีนว่า แต้ฮุก

รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระนามจีนว่า แต้ฮก

รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระนามจีนว่า แต้เม้ง

รัชกาลที่ 5 ทางจีนออกพระนามจีนว่า แต้ล้ง

(ว่ากันว่า ในรัชกาลที่ 5 ได้เลือก "แต้เจี่ย" เป็นพระนามที่จะใช้ในพระราชสาสน์จิ้มก้อง แต่เลิกจิ้มก้องไปเสียก่อน จึงไม่ได้ใช้)

รัชกาลที่ 6 ทางจีนออกพระนามจีนว่า แต้ป้อ

รัชกาลที่ 7 ทางจีนออกพระนามจีนว่า แต้กวง

รัชกาลที่ 8 ทางจีนออกพระนามจีนว่า แต้ฮี

รัชกาลที่ 9 ทางจีนออกพระนามจีนว่า แต้กู่

ซึ่งในปัจจุบันพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ก็มีพระนามแบบนี้เช่นกัน

ที่มา / อ้างอิง : สกุลไทย ฉบับที่ 2406 ปีที่ 47 ประจำวันอังคารที่ 28 พ.ย. 2543 ,เจ้าคุณปราบ FB

Credit: ที่นี่ดอดคอม
29 มี.ค. 59 เวลา 04:38 1,864 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...