เข้าห้องปิดไฟคล้ายว่าจะเตรียมนอน…แต่ที่ไหนได้! กลับหยิบโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตขึ้นมานอนเล่นเพลิดเพลินอีกหลายชั่วโมง ใครทำพฤติกรรมเช่นนี้ประจำทุกคืนก่อนนอน โปรดพึงระวัง ดวงตาอาจเสี่ยงบอด
รศ. นพ. นริศ กิจนรงค์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้อำนวยการทางวิทยาศาสตร์งาน ชมรมต้อหินแห่งประเทศไทย และ เลขาธิการวิทยาศาสตร์งานราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ได้กล่าวในงานเสวนาสุขภาพ ภัยร้ายสังคมก้มหน้า อาจถึงขั้นตาบอดได้ว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตามากกว่า 80% สาเหตุมาจากการได้รับรังสี UV 400, UVA1 และแสงสีฟ้า
จากพฤติกรรมจ้องคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน พบได้ทั้งผู้สูงอายุ วัยทำงานและเด็ก โดยพฤติกรรมที่พบส่วนใหญ่คือ ช่วงเวลาก่อนนอนที่จะมีการหยิบสมาร์ทโฟนมาเล่นในขณะที่ปิดไฟแล้ว เป็นส่วนที่เร่งให้มีอาการทางสายตาเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ อันตรายจากแสง UV แสงสีฟ้าที่อยู่ในจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต จะทำลายดวงตาเมื่อจ้องเป็นเวลานาน เนื่องการกระพริบตาจะน้อยลง โดยปกติจะกะพริบตาประมาณ 20 ครั้งต่อนาที เพื่อให้ตาได้รับความชุ่มชื้น การเพ่งมองเป็นเวลานาน จะทำให้ตาแห้ง แสบตา
ส่งผลให้การมองเห็นเริ่มผิดปกติเห็น ภาพซ้อน ภาพไม่ชัด พร่ามัว ปวดเบ้าตา กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของโรคคอมพิวเตอร์วิชชั่นซินโดรม เป็นส่วนทำให้เกิด ต้อเนื้อ ต้อลม และ จอประสาทตาเสื่อม ซึ่งพบมากขึ้นเรื่อยๆ และรักษาได้ยาก อาจส่งผลให้ตาบอดได้ ขณะที่การตรวจสุขภาพตาน้อยมาก วิธีหลีกเลี่ยงแสงอันตราย
1. เลือกอุปกรณ์ป้องกัน หรือ ลดปริมาณแสงสีฟ้าที่ดวงตาได้รับโดยตรง เช่น ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด แสงสีฟ้า ป้องกันรังสียูวี หรือใช้แว่นกันแดดที่เคลือบสารป้องกันแสงที่เหมาะสม
2. ปรับค่าความสว่างให้เหมาะสม เมื่อต้องใช้คอมพิวเตอร์ ควรพักสายตาทุก 1-2 ชั่วโมง ประมาณ 5 นาที
3. การพักสายตาที่ดีที่สุดคือการนอน แต่ถ้าไม่สามารถนอนได้ ให้มองไปไกลๆ หรือพื้นที่สีเขียว เช่น ต้นไม้ เพื่อลดการเพ่งของสายตา นอกจากนี้คือ
4. การดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ประเภทผักผลไม้ที่มีสีเหลืองส้มจะช่วยบำรุงสายตาได้
ซึ่งคนไทยมากกว่า 50 % เป็นโรคเกี่ยวดวงตา จึงอยากแนะนำให้ผู้ที่อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปตรวจสุขภาพตาทุกๆ 1-2 ปี ในประเทศญี่ปุ่นได้มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในแต่วันเป็นเวลานานๆ หลายชั่วโมงติดต่อกัน มีความเสี่ยงในการเกิดคอมพิวเตอร์วิชชั่นซินโดม แล้วยังมีความสัมพันธ์กับจำนวนการเกิดต้อหิน ในการประชากรที่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งหากวินิจฉัยและรักษาช้าเกินไปจะทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวร
ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนนาดา ได้มีการประกาศเตือนผู้ปกครอง ในเด็กเล็กแรกเกิดถึง 2 ปี ให้งดใช้เพราะจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสมอง ทำให้การเรียนรู้ช้าลง และในเด็กที่อายุน้อยกว่า 12 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน เพราะจะทำให้เด็กสมาธิสั้น การเคลื่อนไหวน้อย เด็กจะนั่งนิ่งๆจนกลายเป็นโรคอ้วนและโรคอื่นๆ ตามมา ไม่ควรจ้องมองสมาร์ทโฟนในบริเวณที่มีเสียงน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรปิดไฟนอนแล้วเล่นสมาร์โฟน จะทำให้ตาบอด ผู้ปกครองจึงควรระมัดระวัง เอาล่ะจ้า รู้จักใครมีพฤติกรรมเช่นนี้ มีเพื่อนบอกเพื่อน, มีคนรักนอนเคียงข้างบอกคนรัก แต่ถ้านอนคนเดียว ก็ต้องคอยหมั่นเตือนตนเองนะจ๊ะ!
ที่มา liekr
ที่มา: http://newsupdate.thaiautocars.com/2016/03/blog-post_354.html