ตำนานเจ้าหลวงคำแดง ประธานใหญ่ผีเชียงใหม่

http://xfile.teenee.com/tamnan/ตำนานเจ้าหลวงคำแดง_ประธานใหญ่ผีเชียงใหม่

ตำนานเจ้าหลวงคำแดง ประธานใหญ่ผีเชียงใหม่

                                                                                        

ชาวบ้านเชื่อว่าดอยหลวงเชียงดาว เป็นที่สถิตของผีเมืองเชียงใหม่ทุกตน ตั้งแต่ก่อนพญามังรายสร้างเมือง ผีเมืองเชียงใหม่มีเจ้าหลวงคำแดงเป็นประธานใหญ่ มีเรื่องเล่าว่าทุกวันพระ ผีทุกผีในเชียงใหม่จะมาเฝ้าและประชุมที่ดอยหลวงเชียง ดาว ซึ่งในถ้ำเชียงดาวมีห้องโถงใหญ่เชื่อว่าเป็นห้องประช ุม วันนั้นผีจะไม่หลอกชาวบ้าน นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าอีกว่า ผีเมืองที่ดอยหลวงเชียงดาวเก็บข้าวจากชาวนาทุกคนที่ว างเซ่นไหว้พระแม่โพสพและเป็นค่าน้ำหัวนา ก่อนที่ชาวนาจะนำข้าวไปไว้ในยุ้งฉาง ข้าวเหล่านี้มีผีดอยนำมากินแล้วจะเหลือเพียงเปลือกหร ือแกลบไว้ ซึ่งจะเก็บเปลือกข้าวหรือแกลบไว้ในถ้ำแห่งหนึ่งทางทิ ศใต้ ไม่ไกลจากดอยหลวงเชียงดาว ชื่อว่าถ้ำแกลบ ดังเช่นที่ คุณป้าจิตรา กองสถาน

ซึ่งเป็นคนเชียงดาวโดยกำเนิด ได้เล่าถึงความผูกพันของชาวบ้านที่มีต่อเจ้าหลวงคำแด งว่า คนเชียงดาวนอกจากจะรัก และศรัทธาต่อเจ้าหลวงคำแดงแล้ว ยังไม่กล้าทำความชั่ว เพราะกลัวว่าเจ้าหลวงคำแดงจะเห็นการกระทำที่ไม่ดีแล้ วจะลงโทษเอาได้

ความศักดิ์สิทธิ์ของดอยหลวง มิเพียงชาวบ้านจะเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน พระสงฆ์ในล้านนายังแต่งและคัดลอกคัมภีร์ใบลานชื่อตำน านถ้ำเชียงดาวไว้หลายสำนวน ทั้งที่พบในเชียงใหม่และเมืองอื่น ๆ ที่ห่างไกลออกไป เช่น เมืองน่าน เป็นต้น ดังเช่นที่ อ.มาลา คำจันทร์ ปราชญ์ล้านนาและกวีซีไรต์ ได้กล่าวถึงการยอมรับนับถือ เจ้าหลวงคำแดงว่าไม่เพียงแต่ชาวบ้านที่เชียงดาวเท่าน ั้น แต่เจ้าหลวงคำแดงยังเป็น สัญลักษณ์ร่วมของชนเผ่าไทในลุ่มน้ำโขง

สำหรับเรื่องราวของเจ้าหลวงคำแดงกับนางอินเหลานั้น เป็นความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยกับชาวลัวะ โดยบริเวณเมืองเชียงใหม่ใน ปัจจุบันนี้ เคยเป็นที่ตั้งเมืองของชาวลัวะมาก่อน เจ้าหลวงคำแดง ถือกำเนิดขึ้นก่อนที่พญามังรายจะมาสร้าง เวียงกุมกามและเชียงใหม่ โดยอาณาจักรล้านนาที่มีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางน ั้น สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1839 แต่บริเวณที่สร้างเมืองขึ้นมาใหม่นี้ เคยเป็นบ้านเมืองมาก่อนแล้ว ดังจะเห็นได้จากตำนาน พื้นเมืองหลายฉบับที่กล่าวถึง เวียงเชษฐบุรี (เวียงเจ็ดลิน) เวียงสวนดอก และเวียงนพบุรี

ซึ่งเคยเป็นที่อยู่ของชนชาวลัวะมาก่อน เจ้าหลวงคำแดงติดตามกวางทองมาถึงอ่างสลุง แล้วมาพบหญิงงามนางหนึ่ง เกิดรักใคร่ชอบพอกันจึงค้างแรมอยู่ที่อ่างสลุงด้วยกั น ต่อมามีฤาษีแนะนำว่า เจ้าหลวงคำแดงควรจะสร้างเมืองตรงนี้ เจ้าหลวงคำแดงจึงสร้างเมืองขึ้น แล้วตั้งชื่อว่าเมืองล้านนาตามน้ำหนักของแท่นบรรทมขอ งพระองค์ จากนั้นก็ปกครองเมืองจนขยายอาณาจักรไปกว้างไกล คนล้านนาเชื่อว่าผู้ใดสร้างเมือง เมื่อตายไปจะเป็นผู้ปกป้องรักษาเมือง ดังนั้นเจ้าหลวงคำแดงจึงถือเป็นหัวหน้าผีเมืองที่คอย ปกป้องรักษาแผ่นดินล้านนาทั้งหมด รวมถึงเมืองเชียงดาวด้วย

ส่วนตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรื่อง เจ้าสุวรรณคำแดง ซึ่งเริ่มต้นด้วย การกล่าวถึงหมู 4 ตัวที่มีชื่อตามทิศทั้งสี่ว่า บุพพจุนทะ ทักขิณจุนทะ ปัจฉิมจุนทะ และอุตตระจุนทะ หมูทั้งสี่วิวาทผิดเถียงกันเป็นประจำ หลังจากตายไปแล้ว หมูแห่งทิศเหนือคือ อุตตระจุนทะได้ไปเกิดเป็นพระยาโจรณี มีโอรสชื่อ เจ้าชายสุวรรณคำแดง

ต่อมาเทวบุตรชื่อโวหารได้จำแลงกายมาเป็นเนื้อทรายทอง ปรากฏ ณ สวนอุทยานของพระยา โจรณี กษัตริย์พร้อมทั้งโอรส และบริวารจึงพากันออกมาล้อมจับ พระยาโจรณีลั่นวาจาว่า หากทรายทองหลุดออกไปทางผู้ใด ผู้นั้นต้องรับโทษ บังเอิญเนื้อทรายหลุด หนีออกไปทางโอรส เจ้าชายสุวรรณคำแดงจึงพาทหารออกติดตาม

จนกระทั่งมาถึงบริเวณถ้ำเชียงดาว ทรงพบนางอินเหลา ทั้งสองเกิด ความรักใคร่กัน จึงอยู่กินด้วยกัน แต่เจ้าชายจำเป็นต้องออกติดตามเนื้อทรายทองต่อไป และครั้งนี้เจ้าชายได้พบกับ ?คนที่เกิดใน รอยเท้าสัตว์? อันหมายถึงชาวลัวะ ซึ่งฤาษีกล่าวว่าให้เลี้ยงดูไว้เป็นไพร่ฟ้า

?อันสูได้คนยังรอยตีนช้างนั้น ก็พร่ำดั่งบอนเกิดกับห้วยนั้นแล หื้อสูท่านทังหลายเอาเมือเลี้ยงไว้รักษาหื้อดีๆ แท้เทอะหื้อได้ที่จื่อที่จำเอายังคำเขาไว้สืบกันไปเม ื่อหน้าเทอะ?

วันต่อมา เจ้าชายสุวรรณคำแดงพาทหารติดตามมาถึงบริเวณที่ราบลุ่ มน้ำแม่ระมิงค์ ทรงพบหนองน้ำที่มีดอกบัว 7 กอ จึงกลับ มาเล่าให้ฤาษีฟังว่าไม่พบทรายทอง พบแต่หนองน้ำ ฤาษีแนะนำว่าชัยภูมิ แห่งนั้น เหมาะแก่การสร้างเมืองเป็นอย่างยิ่ง ทำนา 1 ปีกินได้นานถึง 7 ปี หลังจากนั้น เจ้าชายสุวรรณคำแดงจึงสร้างเมืองขึ้นตามคำบอกของฤาษี โดยให้ชื่อเวียงว่า ?ล้านนา? ซึ่งได้มาจาก น้ำหนักเตียงหินของ เจ้าชายที่หนักหนึ่งล้านสุวรรณคำแดง ปฐมกษัตริย์แห่งเมืองล้านนา มีมเหสีรองอีกสองนางคือ นางผมเผือ และ นางสาดกว้าง ทรงมีโอรส 7 องค์ ส่วน ไพร่ฟ้าที่เป็นลัวะพระองค์แต่งตั้งให้ ?มามุตตะลาง? เป็นขุนหลวงคอยสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรมต่อมาภายห ลังพระยาสุวรรณคำแดง ได้ยกราชสมบัติให้โอรสปกครอง ส่วนพระองค์เสด็จออกไปอยู่กับนางอินเหลาในถ้ำเชียงดา ว ณ ดอนอ่างสรง ตราบจนสิ้นพระชนม์

ความเชื่อเรื่องเจ้าหลวงคำแดง ถ้ำเชียงดาว และอ่างสลุง (อ่างสรง) ยังคงถูกผลิตซ้ำอยู่ตลอดเวลาในรูปของตำนานที่ถูกเล่า ขานสืบกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งยังถูกเชื่อมร้อยด้วยสำนึกเรื่องความศักดิ์สิทธิ ์ของเจ้าพ่อหลวงคำแดง ซึ่งได้กลายเป็นเค้าผี (ต้นตระกูลของผี) ของระบบผีเมืองใหญ่ในเขตล้านนาเดิมทั้งหมด โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ถ้ำเชียงดาว อันถือเป็นถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตของเจ้าหลวงคำแดง เจ้าพ่อศรีวิชัย และเจ้าแม่อินเหลา ถือเป็นผีหลวงรักษาประจำเมืองเชียงดาว มีผีบริวารเครือข่ายความสัมพันธ์ที่สำคัญได้แก่ เจ้าพ่อข้อมือเหล็ก (แก่งปันเต๊า) เจ้าพ่อผาขาว (บ้านโปงอาง) เจ้าพ่อขุนดำ (บ้านน้ำรู) เจ้าศรีอุ่นเมือง เจ้าแม่ต่อมคำ (บ้านแม่อ้อใน - แม่อ้อนอก) เป็นต้น มีอาณาเขตความสัมพันธ์ไปถึงอำเภออื่นๆ ทั่วทั้งเขตแอ่งเชียงใหม่ ? ลำพูนตอนบน

ตำนานที่ผูกเรื่องราวของเจ้าหลวงคำแดงกับถ้ำเชียงดาว กล่าวถึงเมืองเมืองหนึ่งในแถบนี้ว่าชื่อเมือง ?โจละนี? และกล่าวถึงเจ้าหลวงสุวรรณคำแดง ว่าเป็นราชบุตรเจ้าเมืองพะเยา (ตำนานพยายามเชื่อมโยงท้องถิ่นทั้งสองเข้าด้วยกัน เนื่องจากเมืองพะเยามีลูกหลานของพระยางำเมืองพระองค์ หนึ่ง ทรงพระนามว่า ?คำแดง? เช่นกัน ขณะที่ประวัติของเจ้าหลวงคำแดงและเมืองเชียงดาวนั้น มีมากว่าพันปี ส่วนเมืองพะเยานั้นมีอายุไม่เกิน ๗๐๐ ปีเท่านั้น)

เจ้าหลวงสุวรรณคำแดงได้รับคำสั่งจากบิดาให้คุมทหารจำ นวนหนึ่งไปรักษาการที่ด่านชายแดนเพื่อป้องกันศัตรูจา กเมืองอื่น ระหว่างที่ทรงพักผ่อนก็ได้พบกวางทองตัวหนึ่ง พระองค์จึงตามไปจนถึงเชิงดอย ?อ่างสลุง ? สรง? หรือดอยหลวงเชียงดาว ภายหลังทราบความจริงว่ากวางทองนั้นเป็นสาวงามนางหนึ่ งชื่อนางอินทร์เหลาแปลงร่างมา จนเกิดเป็นความรักกัน นางบอกว่านางเป็นเนื้อคู่ของพระองค์ซึ่งรอคอยอยู่ที่ เมืองลับแลคือถ้ำแห่งนี้มานาน พระองค์จึงตามนางเข้าไปในดินแดนแห่งนั้น และไม่กลับออกมาอีกเลย

ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อกันว่า วิญญาณของเจ้าหลวงคำแดงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปก ปักรักษาถ้ำเชียงดาว มีการสร้างศาลเจ้าพ่อหลวงคำแดงไว้ที่ถ้ำนี้เป็นแห่งแ รก

ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า วันดีคืนดีจะมีเสียงสะเทือนสั่นจากดอยหลวงเชียงดาว และมีลูกไฟกลมขนาดมะพร้าวสว่างจ้าพุ่งหายไปทางดอยนาง ซึ่งอยู่ทางเหนือดอยหลวง เชื่อกันว่าเป็นเสียงปืนใหญ่หรือ ?อะม็อก? ที่เจ้าหลวงคำแดงลั่นขึ้นก่อนออกไปเยี่ยมนางอินเหลาท ี่รักษาศีลอยู่ที่ดอยนาง ส่วนเจ้าหลวงคำแดงรักษาศีลภาวนาอยู่ที่ถ้ำเชียงดาวจน ถึงปัจจุบัน เรื่องราวในตำนานเจ้าหลวงคำแดงผูกโยงเข้ากับความเชื่ อเกี่ยวกับถ้ำเชียงดาวว่า พระยาธรรมมิกราชจะมาเกิดที่เมืองเชียงดาว เพื่อปราบยุคเข็ญในปี พ.ศ. ๓๐๐๐ ซึ่งเจ้าพ่อหลวงคำแดงเป็นเทวาอารักษ์ปกป้องไว้เพื่อร อพระยาธรรมิกราชองค์ใหม่ ความยิ่งใหญ่ของผีเจ้าหลวงคำแดงนั้นถูกเล่าสืบต่อกัน มาอีกว่า ในการปกครองอาณาจักรผีอาจมีผีหลายแห่งต้องมาขึ้นและม าขอคำปรึกษาจากผีดอยเชียงดาว เช่น ผีเมืองน่าน ผีเมืองพะเยา และผีแม่พริกลำปาง แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของผีเจ้าหลวงคำแดงซึ่งเป็นเค้าผ ีทั้งหลาย ประเด็นดังกล่าว ดร.ฉลาดชาย ระมิตานนท์ กล่าวในมุมมองของนักสังคม ? มานุษยวิทยาในงานสืบชะตาเมืองเชียงดาวว่า ?ผี? ในตำนานของเจ้าหลวงคำแดงมีความหมายในเชิงอำนาจที่ยิ่ งใหญ่เหนือคนหรือเทพ ไม่ใช่ความหมายในเชิงผีที่ใช้อำนาจในทางหลอกหลอนผู้ค น นางอินเหลาน่าจะเป็นคนในท้องถิ่นนั้น โดยอาจเป็นลูกสาวเจ้าเมืองหรือเจ้าบ้านบริเวณเขตเมือ งเชียงดาวนั้นเอง สำหรับตำนานของเจ้าหลวงคำแดงฉบับใบลานที่ปรากฏในวัดก ลับเล่าตำนานต่างกันออกไป เจ้าหลวงคำแดงกลายเป็นอำนาจท้องถิ่นที่ยอมรับพระพุทธ ศาสนา โดยยกเรื่องขุนธรรมิกราชขึ้น เพื่อชี้ให้เห็นว่าขุนธรรมิกราชจะมาเกิด พระยายังฝากสมบัติไว้กับเจ้าหลวงคำแดง เจ้าหลวงคำแดงจึงถูกดัดแปลงเป็นยักษ์ที่เฝ้ารักษาสมบ ัติไว้ในถ้ำเชียงดาว และถูกกำกับด้วยความเชื่อที่ว่า หากผู้ใดอยากพบเห็นสมบัติภายในถ้ำให้รักษาศีลให้บริส ุทธิ์เสียก่อนจึงจะเข้าถ้ำ มิฉะนั้น อาจหลงทางจนหาทางออกไม่พบ กลายเป็นผีบริวาร หรือวิญญาณบริวารของเจ้าหลวงคำแดงไป ความเชื่อนี้อาจถูกสร้างขึ้นโดยนัยของการป้องกันไม่ใ ห้คนเข้าไปลักขโมยของต่างๆ ภายในถ้ำ

 

Credit: ที่นี่ดอดคอม
24 มี.ค. 59 เวลา 04:40 1,542
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...