ประเทศจีนเป็นประเทศที่สะสมวัฒนธรรมเกี่ยวกับผมไว้มากมาย ในสมัยก่อนทรงผมเคยเป็นสัญลักษณ์แบ่งแยกชนชาติฮั่นกับชนกลุ่มน้อยอื่นๆ และยังเป็นเครื่องหมายของฐานะที่แตกต่างกัน อีกทั้งเส้นผมยังมักแฝงนัยยะที่อ่อนไหว ดังจะเห็นได้จากในประวัติศาสตร์จีนที่ถึงขนาดเคยมีคนนับแสนต้องสังเวยชีวิตมาแล้วเพียงเพราะไว้ทรงผมผิดแผกแตกต่าง
ตามความเชื่อแต่เก่าก่อน เส้นผมมักถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางไสยศาสตร์ ใช้ปลุกเสกเล่นของต่างๆ นานา ต่อมาสำนักปรัชญาขงจื้อได้เผยแพร่แนวความคิด “ร่างกาย เส้นผม ผิวหนัง พ่อแม่ให้ มิกล้าทำลาย” ขึ้นมา ทำให้ความเชื่อที่ว่าการตัดผมถือเป็นการไม่กตัญญูต่อบุพการีเริ่มหยั่งรากฝังลึกลงไปในสังคมจีน ชาวจีนในขณะนั้นหันมาให้ความสำคัญกับผมเป็นอย่างมาก จะตัดผมก็ต่อเมื่ออยู่ในสถานการณ์จำเป็นเท่านั้น เช่น ปลงผมบวชเป็นชี เป็นหลวงจีน เป็นต้น
">
ด้วยแนวความคิดที่ให้ความสำคัญกับเส้นผมนี้เอง จึงทำให้มีการใช้ “การโกนผม” เป็นวิธีการลงโทษวิธีหนึ่งไปด้วย และถือเป็นครั้งแรกที่เส้นผมมาเกี่ยวข้องกับการเมือง ดังเช่นวิญญูชนแห่งรัฐฉีนาม "ฉุน อี๋ว์คุน" (淳于髡) ในยุคชุนชิว ก็เคยถูกลงโทษด้วยการโกนศีรษะเช่นกัน โดยชื่อเรียก “คุน” ของเขา ซึ่งแปลว่า “การลงโทษด้วยการโกนผม” ก็มีที่มามาจากการถูกลงโทษครั้งนั้นนั่นเอง
นอกจากนี้ในประวัติศาสตร์ยังมีบันทึกเรื่องราวของการ “ตัดผมแทนศีรษะ” ด้วย ดังเช่นในยุคสามก๊ก โจโฉเคยฝ่าฝืนกฎทหารที่ตนเองเป็นผู้ตั้งไว้ แต่ถึงกระนั้นก็ไม่อาจประหารชีวิตได้ จึงได้ให้มีการลงโทษด้วยการ “ตัดผมแทนศีรษะ” ต่างทรงผม-ต่างชนชาติ-ต่างฐานะ
ไว้ผมแบบชาวแมนจู ไม่เพียงเส้นผมที่ชาวจีนให้ความสำคัญ แม้แต่เรื่องของทรงผมก็พิถีพิถันยิ่งนัก ทรงผมที่แตกต่างกันยังบ่งบอกได้ถึงฐานะที่ต่างระดับ ดังหลักฐานภาพวาดสมัยราชวงศ์ถังได้ปรากฎภาพวาดของสตรีไว้ผมเกล้ามวยสูง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคือหญิงสาวผู้สูงศักดิ์ และบรรดานางสนมของฮ่องเต้ ส่วนหญิงสาวชาวบ้านธรรมดาไม่มีใครทำผมทรงนี้
ประเพณีตัดผมของชนเผ่าซีหนัน
นอกจากนี้ ทรงผมที่ไม่เหมือนกันก็บ่งบอกถึงความแตกต่างของชนชาติได้เช่นกัน ดังเช่นยุคก่อนประวัติศาสตร์ ผู้คนมักสยายผม ต่อมาชนชาติฮั่นได้เริ่มพัฒนาใช้เชือกรัดผม ขณะที่ชนกลุ่มน้อยจำนวนมากยังคงปล่อยผมยาวสยาย ดังนั้นการ “รัดผม” และ “ปล่อยผม” จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แบ่งแยกระหว่างชนชาติฮั่นกับชนกลุ่มน้อยไปโดยปริยาย
และหลังจากกองทัพชิงได้บุกเข้าสู่จงหยวนล้มล้างราชวงศ์หมิง ทรงผมก็กลายเป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง ด้วยชาวแมนจูรู้ดีว่าทรงผมและวัฒนธรรมของชาวฮั่นนั้นเป็นสิ่งซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าพวกเขาเหล่านี้ยังคงจงรักภักดีกับเชื้อชาติของตนเอง ดังนั้นเพื่อกุมอำนาจการปกครองอย่างเด็ดขาดและให้ชาวฮั่นยอมศิโรราบ ทหารแมนจูจึงได้มีคำสั่งที่เด็ดขาดและเหี้ยมโหดต่อผู้ขัดขืน หนึ่งในนั้นคือคำสั่งให้ชาวฮั่นทั่วประเทศโกนผมครึ่งหัวแล้วไว้เปีย ใครขัดขืนฆ่า ดังที่ประกาศไว้ว่า “มีหัว ไม่มีผม, มีผม ไม่มีหัว" (留头不留发,留发不留头) นั่นเอง
ปัจจุบันใครจะไว้ทรงไหนก็แล้วแต่ความพอใจ โดยถือว่าการตัดผมตามคำสั่งนั้นก็เหมือนเป็นเครื่องหมายว่าสวามิภักนั่นเอง แต่ในครั้งนั้นก็มีชาวฮั่นนับแสนคนที่ “ยอมเป็นผี ไม่ยอมตัดผม”
จนเมื่อการปฏิวัติซินไฮ่ล้มล้างราชวงศ์ชิงสิ้นสุดลงและได้มีการก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐจีนขึ้น ฝ่ายผู้มีชัยก็ได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่รัฐ ทหาร และประชาชนตัดผมเปียทิ้งใครไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดกฎหมาย กลุ่มคนหนุ่มสาวนักปฏิวัติที่เดินตามท้องถนนหากพบเห็นใครยังไว้ผมเปียก็จะตรงเข้าไปตัดผมทันที คนที่ไม่กล้าหรือไม่ต้องการตัดผมเปียก็จะใส่หมวกปิดบัง
กระทั่งหลังยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน ผมจึงเริ่มห่างไกลกับการเมืองมากขึ้น กฎเกณฑ์และข้อจำกัดเรื่องผมเริ่มหายไปจากสังคม ชาวบ้านค่อยๆ มีอิสระในการเลือกไว้ผม หรือตัดผมได้ตามใจปรารถนา ยิ่งเมื่อได้รับอิทธิพลจากตะวันตกเข้ามา รูปแบบทรงผมใหม่ๆ ก็เริ่มเข้ามา รวมไปถึงการย้อมสีผมด้วย
ที่มาข้อมูล : www.xinhuanet.com
ที่มา: http://www.xinhuanet.com