เนระพูสีไทย [Bat Flower]ดอกไม้สีดำ พบที่ป่าของไทยแห่งเดียวในโลก

 

 

  เนระพูสีไทย (Bat Flower)ดอกไม้ สีดำ 

ที่พบแห่งเดียวในโลก ที่สำคัญมันคือ ดอกไม้ป่าของไทย

 


วงศ์ : Taccaceae

ชื่อสามัญ : Bat Flower

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tcca chantrieri.,Andr.

ชื่ออื่น : เพี้ยฟานโคก ค้างคาวขาว ค้างคาวดำ (ต้นที่มีก้านดำ) ภาคใต้ = หมากแฟล จตุจักร Batmanดีงูหว้า (เหนือ) คลุ้ยเสีย ว่านหัวเลย 
ว่านหัวลา (จันทบุรี) ดีปลาช่อน (ตราด) นิลพูสี (ตรัง) มังกรดำ (กรุงเทพฯ) ม้าถอนหลัก (ชุมพร) ว่านพังพอน (ยะลา) บีเมย (ภูไทย) ว่านหัวลา ,ว่านหัวฟ้า ,ดีปลาช่อน ,มังกรดำ


ถิ่นกำเนิด : ประเทศไทย

 

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
ต้น ไม้ล้มลุก คล้ายใบตระกุลบอน อายุหลายปีมีเหง้าใต้ดิน รูปทรงกระบอก สูงง 30-50 ซม.   ใบ เรียงสลับเวียนเป็นรัศมี รูปวงรี รูปขอบขนานถึงรูปใบหอกกว้าง 6-18 ซม. ยาว 25-60 ซม. ก้านใบแผ่เป็นครีบ 

ดอก คล้ายค้างคาวบิน บาน 2-3 สัปดาห์ ลักษณะเป็นดอกช่อ ซี่ร่ม มีดอกย่อย 4-6 ดอก มีสีม่วงแกมเขียวถึงสีม่วงดำ ใบประดับ 2 คู่ สีเขียวถึงสีม่วงดำเรียงตั้งฉากกัน 

เมล็ด เมล็ดรูปไต 
ผล ผลสด รูปขอบขนานแกมสามเหลี่ยม มีสันเป็นคลื่นตามยาว 

หัว มีหัวใต้ดิน 

การขยายพันธุ์ แยกกอ 



 

 

ฤดูกาลขยายพันธุ์ ตลอดปี 
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ชอบที่ชื้นแฉะ แดดจัด ใกล้หนองน้ำ 
ความสัมพันธ์กับระบบนิเวศน์ อยู่ตามร่มไม้้ 

การใช้ประโยชน์ 
ทางอาหาร ใบยอดอ่อน เผาไฟ ลวกต้ม กินกับป่น ลาบ 
ทางยา หัว หั่นแว่น ดองเหล้า เป็นยกบำรุงกำลัง มูเซอใช้ต้น ใบ ราก ต้มกิน แก้มะเร็ง 


การใช้สอยอื่น ไม้ประดับ 

ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ มีทุกฤดูกาล

 

ในโลกแห่งพฤกษศาสตร์ เชื่อกันว่า บรรดาพืชที่นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์สุดยอดของโลกพฤกษศาสตร์ ไม่มีพืชชนิดไหนเกินหน้าพวก “ พืชกินแมลง “ หรือ Carnivorous Plant ไปได้


    ***  แต่ก็ยังมีพวกที่แปลกประหลาดมากอีกพวกหนึ่ง ก็คือ พวกที่ออกดอกเป็นสีดำ และยังใช้ชีวิตอยู่ในความมืดเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่เรียกว่าค้างคาวเหมือนสามัญนามของเนระพูสีไทย พืชที่ต้องเจริญเติบโตและเคลื่อนไหวในความมืดมิดเช่นเดียวกับความเป็นอยู่ของค้างคาวนั่นเอง

 

 

 

   *** ที่อยู่อาศัย ดอกไม้ค้างคาวและเนระพูสีไทย เกิดและอาศัยอยู่ในป่าดงดิบชื้น ตามหุบเหวลึก หรือบนพื้นดินที่ปกคลุมด้วยต้นไม้หนาแน่น  เหมือนดอกไม้ค้างคาวที่อาศัยหลบซ่อนตัวในที่มืดมิดตามถ้ำ หน้าผาสูงและหุบเหวลึกและในไร่สวนที่มีพุ่มไม้หนาแน่น

ลักษณะการพักนอน เนระพูสีไทยหรือดอกไม้ค้างคาวพวกนี้ จะมีก้านดอกชูขึ้นเหนือพื้นดิน ราว 1 ฟุตดอกออกเป็นช่อที่ปลายก้านดอก ดอกจะบานในเวลากลางคืนและบานช้ามาก เมื่อใกล้รุ่งจะชะงักการบานไว้ กว่าจะบานเต็มที่จนครบขบวนการบานต้องใช้เวลานานตั้งแต่ 7-10 คืนทีเดียว เพราะบานได้ทีละนิดเดียวเหมือนค้างคาวดอกไม้ที่ใกล้รุ่งต้องกลับรังนอน

 

กลิ่น อันไม่น่าพิสมัยของดอกไม้ค้างคาวมีกลิ่นเหม็นสาบหืนๆคล้ายกลิ่นสาบตามถ้ำหรือถิ่นที่มีค้างคาวอาศัย


 

 

สี ดอกไม้ค้างคาวหรือเนระพูสีไทย เป็นดอกไม้สีดำพวกเดียวในโลก และพบในเมืองไทย สีออกไปทางดำคล้ำเหมือนสีค้างคาวนั่นเอง

ความเชื่อ คนจีนโบราณเชื่อว่าค้างคาวดอกไม้เป็นสัตว์แห่งโชคลาภ ซึ่งสามารถจะนำความสำเร็จมาสู่มนุษย์ได้หากมันได้เข้าไปอาศัยในเขตบ้านชานเรือน ส่วนชาวไทยโบราณบางกลุ่ม

 

 

เนระพูสีไทย เป็นพันธุ์ไม้ป่าเมืองไทยที่มีดอกสีดำ และเกิดกระจายพันธุ์อยู่ในป่าลึก เท่าที่สำรวจพบแล้ว พบ ๕ พันธุ์ (Species ) คือ



เนระพูสีไทย (Tacca chantrieri)

ว่านพังพอน ( Tacca integrifolia )

คดดิน ( Tacca palmate )

สิงห์โตดำ ( Tacca Teontopetaloides )

หนวดเสือ (Tacca plantaginea)

 

 

 

 

 

พืชพันธุ์นี้ ขยายพันธุ์ได้ 2วิธี คือ เพาะเมล็ด หรือขุดเง่ามาทอนเป็นท่อนๆแล้วนำไปชำในที่ชุ่มชื้น และต้องอยู่ในที่มืด ออกดอกในฤดูหนาว และต้องอยู่ในที่มืดด้วย ชอบปุ๋ยอินทรีย์ เกลียดปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่สุด



ต้องเรียกว่า เนระพูสีไทย ซูเปอร์สตาร์แห่งรัตติกาลโดยแท้จริง

 

 


 

เอกสารอ้างอิง

ข้อมูลจากหนังสือธรรมชาติศึกษา ดอกไม้และประวัติไม้ดอกเมืองไทย ของท่านอาจารย์ วิชัย อภัยสุวรรณ
Phengklai, C. (1993). Taccaceae. In T. Smitinand and K. Larsen (eds.), Flora of Thailand Vol. 6 part 1: 1-9, Fig. 2.
Zhizum, D. and K. Larsen. (2000). Taccaceae. Flora of China 24: 274-275



   
   
   
   
Credit: oil
#เนระพูสีไทย #Bat #Flower
Messenger56
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
7 มิ.ย. 53 เวลา 14:42 15,123 1 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...