รู้ให้ซึ้ง 12 ประโยชน์ของการจดทะเบียนสมรส

ทะเบียนสมรสมีผลทางกฎหมายและให้สิทธิ์กับผู้ถือที่เป็นสามีภรรยาหลายประการค่ะ แต่ถ้าเราจะพูดลึกถึงเนื้อหาของกฎหมายการแต่งงานคงจะเยอะและเข้าใจกันยากค่ะ วันนี้เราลองมาทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความสำคัญของการจดทะเบียนสมรส ใบทะเบียนสมรสกันดูก่อนค่ะ

 

ทะเบียนสมรสสำคัญอย่างไร


การจดทะเบียนสมรสและทะเบียนสมรสมีความสำคัญต่อคู่แต่งงาน สามีภรรยา เพราะเป็นเอกสารทางกฎหมายที่ใช้สำหรับยืนยันความสัมพันธ์และเป็นหลักฐานที่ใช้สำหรับการยืนยันสิทธิ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา เช่น การรับรองบุตร ซึ่งจะทำให้บุตรได้รับสิทธิ์ต่างๆ ตามกฎหมาย การแบ่งสินสมรส การฟ้องหย่าในกรณีสามีหรือภรรยามีชู้ เป็นต้น

การจดทะเบียนสมรสและทะเบียนสมรสอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสามีภรรยาบางคู่ ด้วยเหตุผลบางประการ เช่น คู่สามีภรรยาที่ทำธุรกิจ หรือนักการเมือง ซึ่งการจดทะเบียนสมรสทำให้ต้องมีการตรวจสอบทางบัญชีการเงินของทั้งสามีภรรยา เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน หรืออาจเกิดการฟ้องร้องได้ การแต่งงานแบบนี้จึงอาจไม่มีทะเบียนสมรสโดยความยินยอมและตกลงของสามีภรรยาเอง แต่ในขณะเดียวกันการแต่งงานโดยไม่จดทะเบียนสมรสก็กลายเป็นช่องโหว่ทางกฎหมายที่ทำให้สามี หรือภรรยาโอนทรัพย์สินของตัวเองไปยังบัญชีของอีกฝ่ายเพื่อเลี่ยงการตรวจสอบหรือการเสียภาษีได้เช่นกัน

ทะเบียนสมรส, จดทะเบียนสมรส, การจดทะเบียนสมรส, ใบทะเบียนสมรส, ใบทะเบียน, สามีภรรยา, สามี, ภรรยา, คู่แต่งงาน, ชีวิตคู่, จดทะเบียนซ้อน, กฎหมายการแต่งงาน, กฎหมายแต่งงาน, สินสมรส, การแต่งงาน, จดทะเบียนหย่า, ใบหย่า, มรดก, รับรองบุตร, ฟ้องหย่า, จดทะเบียนสมรสซ้อน

ประโยชน์ของทะเบียนสมรส


อย่างที่เกรินไปตั้งแต่แรกว่าประโยชน์หรือสิทธิ์ตามกฎหมายของการจดทะเบียนสมรส หรือใบทะเบียนสมรสมีเยอะมาก แต่เราลองทราบคร่าวๆ เฉพาะในส่วนที่มักจะได้ยินหรือได้รับผลกระทบเป็นหลักกันก่อนค่ะ

1. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน นั่นหมายความว่าสามีจะหาเลี้ยงภรรยา หรือภรรยาจะหาเลี้ยงสามี หรือจะช่วยดูแลกันและกันก็ได้

2. การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงหรือภรรยามีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลของสามี หรือจะไม่ใช้ก็ได้

3. การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงต่างชาติมีสิทธิ์ขอถือสัญชาติไทยตามสามีได้ (ถ้าอยากถือสัญชาติไทย)

4. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์จัดการสินสมรสร่วมกัน (ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรส)

5. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์รับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน

6. การจดทะเบียนสมรสทำให้มีสิทธิ์รับเงินจากทางราชการ หรือนายจ้าง เช่น กรณีที่คู่สมรสตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการทำงาน (บำเหน็จตกทอด) หรือ การรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน

7. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสียชีวิตได้ เช่น สามีโดนรถชน ภรรยาสามารถเรียกค่าเสียหายถึงชีวิตกับผู้ขับรถชนได้

8. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาสามารถหึงหวงคู่สมรสของตัวเองได้อย่างออกหน้าออกตามกฎหมาย และหากพบว่าคู่สมรสมีชู้ ก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากคู่สมรสของตัวเอง และเรียกค่าเสียหายได้จากชู้ด้วย

9. การจดทะเบียนสมรสทำให้บุตรมีฐานะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้นามสกุลพ่อได้ สมัครเข้าเรียนได้ และรับมรดกจากผู้เป็นพ่อได้ (บุตรเป็นสิทธิ์ตามชอบธรรมของแม่อยู่แล้ว)

10. การจดทะเบียนสมรสทำให้ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้

11. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาที่ทำความผิดระหว่างกัน เช่น สามีขโมยเงินภรรยา ภรรยาบุกเข้าบ้านสามี ผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย

12. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ร้ายคู่สมรสของตัวเองได้ เช่น ภรรยาโดนกระชากกระเป๋า สามีสามารถแจ้งความฟ้องร้องดำเนินคดีกับคนร้ายได้ หรือ สามีโดนคนพูดจาหมิ่นประมาทว่าร้าย ภรรยาก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทฝ่ายตรงข้ามแทนสามีได้

ทะเบียนสมรส, จดทะเบียนสมรส, การจดทะเบียนสมรส, ใบทะเบียนสมรส, ใบทะเบียน, สามีภรรยา, สามี, ภรรยา, คู่แต่งงาน, ชีวิตคู่, จดทะเบียนซ้อน, กฎหมายการแต่งงาน, กฎหมายแต่งงาน, สินสมรส, การแต่งงาน, จดทะเบียนหย่า, ใบหย่า, มรดก, รับรองบุตร, ฟ้องหย่า, จดทะเบียนสมรสซ้อน

ทะเบียนสมรสมีผลทางกฎหมายนานแค่ไหน อายุของทะเบียนสมรส
การจดทะเบียนสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทะเบียนสมรสก็จะมีผลทางกฎหมายหรือมีอายุยาวตลอดไปจนกว่าจะมีการจดทะเบียนหย่า ซึ่งการจดทะเบียนหย่าก็เป็นไปตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย หรือถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องมีการฟ้องหย่าโดยให้ศาลเป็นผู้พิจารณา เพื่อใช้เหตุผลและหลักฐานต่างๆ ประกอบ รวมถึงการหาข้อตกลงต่างๆ เช่น การแบ่งสินสมรส สิทธิ์การดูแลบุตร ค่าเลี้ยงดู เป็นต้น


การจดทะเบียนสมรสซ้อน


ตามกฎหมายระบุว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนนั้นผิดกฎหมาย และไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย เช่น หนุ่มเอจดทะเบียนสมรสกับสาวบี แล้วอีกไม่นานหนุ่มเอก็ไปจดทะเบียนสมรสกับสาวซี แบบนี้เรียกว่าจดทะเบียนสมรสซ้อน ซึ่งกฎหมายระบุว่าการจดทะเบียนสมรสครั้งหลังเป็นโมฆะ หากการจดทะเบียนสมรสครั้งแรกยังไม่มีการจดทะเบียนหย่าที่สมบูรณ์ และภรรยาที่จดทะเบียนสมรสซ้อนจะไม่มีรับสิทธิ์ตามกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น

ในขณะเดียวกัน ถ้าหนุ่มเอลักไก่ด้วยการจดทะเบียนสมรสไว้กับสาวทั้งสองคน แต่อยู่ๆ หนุ่มเอจดทะเบียนหย่ากับสาวบี แล้วไปอยู่กับสาวซี กฎหมายก็ไม่ให้สิทธิ์เช่นกัน เพราะถือว่าหนุ่มเอและสาวซีจดทะเบียนสมรสซ้อนในช่วงที่ยังมีการจดทะเบียนสมรสตัวจริงอยู่

พอจะทราบความสำคัญและประโยชน์ของการจดทะเบียนสมรสหรือใบทะเบียนสมรสกันแล้วนะคะ ใครที่กำลังจะแต่งงาน หรือแต่งงานไปแล้วแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลองกลับมาทบทวนกันอีกครั้งค่ะว่าจริงๆ แล้วการจดทะเบียนสมรสดีกับเราหรือไม่ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและเหตุผลของแต่ละคนและแต่ละคู่สามีภรรยานะคะ เพราะอย่างไรแล้วคู่ชีวิตที่อยู่กับด้วยความรักและความเข้าใจคือสิ่งสำคัญที่สุดค่ะ

Credit: http://variety.teenee.com/foodforbrain/74532.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...