กุมารี (Kumari) คือเทพธิดาผู้มีชีวิตจริงของชาวเนปาล เชื่อว่ากุมารีเป็นการอวาตาลลงมาของ พระแม่ทาเลจู (ปางหนึ่งของพระแม่ทุรคา) ในร่างกายของเด็กหญิงพรหมจรรย์ ในวรรณะล่าง แต่ในอินเดียเชื่อว่าเป็นพระแม่ทุรคาเอง ที่จุติลงมา
ความเชื่อเรื่องกุมารี เป็นการผสมผสมานกันระหว่างความเชื่อในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาแบบธิเบตหรือ วัชรยาน ในท้องถิ่น มีความเชื่อกระจายทั่วไปในอนุทวีปอินเดีย เช่น อัสสัม, ทมิฬนาฑู, เบงกอล, แคชเมียร์ แต่ที่ได้รับความนิยมและเชื่อถือมากที่สุด คือ เนปาล
ประวิตความเป็นมาของ กุมารี มามานานมากก่อนเกิดศาสนาพุทธ ราวๆ ๒๖๐๐ ปีมาแล้ว และ เผยแพร่เข้าสู่ประเทศเนปาลในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 เรื่องราวของ กุมารี มีมากมายหลายๆเรื่องราวซึ่งเจ้าของกระทู้ขอยกตัวอย่างจากทั้งสองประเทศมาอย่างละ1เรื่องราวให้ท่านผู้อ่านได้อ่านกัน
อิเดีย
เมื่อนานมาแล้ว พระแม่ทุรคา หรือที่อินเดียออกเสียงว่า ดุรกาเดวี ได้ลงมายังโลกมนุษย์ตามคำเชิญของ กษัตริย์ เพื่อมาสนทนาทุกๆวัน แต่มีข้อแม้อยุ่ว่า ห้ามผู้ใดแตะต้องพระวรกายของพระองค์เด็จขาด แต่มาวันหนึ่งระหว่างกรสนทนากษัตริย์เผลอแตะพระวรกาย พระแม่ทุรคาทรงกริ้วโกรธ เลยเสด็จกลับไปยังสรวงสวรรค์และไม่กลับมาอีกเลย ทางกษัตริย์หลังจากที่สำนึกผิดจึงสั่งให้ข้าราชบริพาลจัดการบวงสรวงทำพิธีชอชมาต่อพระองค์ด้วยสารพัดวิธีที่คิดได้ จนในที่สุดพระแม่จึงหายโกรธ พระองค์เลยให้สัญญาว่าจะกลับมายังโลกมนุษย์อีกครั้งแต่จะลงมาจุติในร่างของเด็กสาวพรหมจรรย์ในชั้นวรรณล่าง กษัตริย์และประชาชนทราบข่าวก็พากันดีอกดีใจจึงจัดให้คณะพราหมณ์จัดหาเด็กสาวพรหมจรรย์ตามข้อกำหนดและสืบวิธีการคัดเลือกมาจนถึงปัจจุบัน
เนปาล
ตำนานของกษัตริย์เนปาล องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์มัลละ ขณะที่พระองค์กำลังเล่นทอยลูกเต๋า (บางแห่งก็ว่าสะบ้า) กับเทวีทาเลจู เทพผู้ปกป้องรักษาราชวงศ์ของพระองค์ วาบหนึ่งในความนึกคิด พระองค์ทรงหลงใหลในความงดงามของเทวีทาเลจู มาก และทรงคิดว่านางงามกว่ามเหสีของพระองค์เสียอีก ขณะเดียวกัน เทวีทาเลจู ก็อ่านความคิดนั้นออก จึงยุติการเล่นทอยลูกเต๋าทันที นางตำหนิพระองค์ และประกาศว่า ต่อไปนี้ถ้าพระองค์จะพูดคุยกับนางอีก ก็จะไม่อยู่ในร่างของเทวีทาเลจู ให้ทรงเห็น แต่นางจะเป็นเด็กหญิงจากวรรณะล่าง และพระองค์จะต้องออกจากพระราชวังไปสักการะนาง ซึ่งอยู่ในร่างของเด็กหญิงจากวรรณะล่างเท่านั้น
การคัดเลือก กุมารี แบบฉบับเนปาลปัจจุบัน
วิธการคัดเลือกกุมารีจะมีวิธีที่พิถีพิถันเริ่มจากคัดเลือกชาติกำเนิดของเด็กแต่ละคนจะต้องมาจากเชื้อสายของพระพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อมีการคัดเลือกตระกูลแต่ละตระกูลที่รู้ว่าตัวเองสืบเชื้อสายมาจากพระพุทธเจ้าก็จะมารวมตัวกันเพื่อส่งเด็กมาคัดเลือก หนึ่งในนั้นยังมีสกุลใหญ่ ก็ต้องการที่จะเป็น "กุมารี" คือ สกุล"ศากยะ" เพราะมีเกียรติสูงที่สุด นอกจากชาติกำเนิดแล้วยังมีความพร้อมทางอารมย์และจิตใจ เด็กที่ได้รับเลือกต้องอยู่ในวัยก่อนมีประจำเดือน ต้องมีลักษณะดีครบ 32 ประการ เช่น สุขภาพดี ผิวพรรณดี ไม่มีตำหนิ มีดวงตาสีดำ ผมสีดำ ไม่มีกลิ่นตัว มีฟันครบ ที่สำคัญต้องไม่เคยมีเลือดไหลออกจากร่างกาย ไม่ว่าจะเพราะบาดเจ็บหรือกรณีใดๆก็ตาม ต่อจากนั้นจะถูกทดสอบสภาวะทางอารมย์ เพราะเมื่ออยูในสถานะร่างประทับทรงของพระแม่ตาเลจูจำเป็นต้องสงบนิ่งไม่หวั่นต่อสิ่งใดๆ มีการนำเข้าไปอยู่ในห้องมืดที่มีภาพดุร้ายน่ากลัว รวมทั้งซากสัตว์ที่ถูกฆ่าสังเวยจมกองเลือด เมื่อได้ร่างตรงตามลักษณะที่ต้องการแล้ว ก็จะเข้ามาสู่การเลือกเครื่องประดับและเครื่องแต่งกายจากกองของเครื่องแต่งกายมากมาย และเครื่องประดับที่รูปร่างหน้าตาคล้ายๆกันหมดหากเลือกถูกเด็กคนนั้นก็จะถูกส่งไปหา โหรหลวง เพื่อตรวจดวงชะตาของเธอให้แน่ใจว่า สอดคล้องกับกษัตริย์ (เจ้าของกระทู้คิดว่าเพื่อไม่ให้ชงกัน) ต่อจากนั้จะทำการชำระร่างกายจนบริสุทธิ์เพื่อให้เหมาะแก่การเป็นที่ประทับของเทพนารี เด็กหญิงในฐานะกุมารีจะได้แต่งกายเต็มยศทั้งเครื่องประดับและการแต่งหน้าล้วนมีความหมายทางสัญลักษณ์ จุดสำคัญที่สุดคือ ดวงตาที่สามตรงหน้าผาก อันเป็นสัญลักษณ์ของผู้รู้แจ้งในสรรพสิ่ง การดูแลกุมารีปัจจุบันจะมีผู้ดูและทั้งหมด 11 คนส่วนมากจะเป็นพระญาติ และพี่เลี้ยงจากวังกุมารี โดยเราจะไม่เรียกชื่อจริงของกุมารี โดยจะเรียกว่า กุมารี ไปเลย
หน้าที่ของกุมารี
กุมารีจะมีหน้าที่หลักๆคือเป็นองค์ประธานในพิธีกรรมต่างๆทั้ง13ครั้ง นั่นแปลว่าตลอดทั้งปีพระองค์จะออกมาสู่โลกภายนอกเพื่อพบเจอกับผู้คนเพียงแค่ 13 ครั้งต่อปีท่านั้น โดยมีพิธีสำคัญก็คือ เทศกาลกุมารี หรือ พิธีขอฝน จะจัดระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม ของทุกปีเป็นเวลา20วัน ในวันสุดท้ายของเทศกาลกุมารีจึงจะออกมาให้ประชาชนได้เห็น ทุกวันพระองค์ต้องตื่นแต่เช้า เพื่อแต่งตัว ในตอนสายต้องขึ้นบัลลัง รับเครื่องสังเวย จาก นักบวช พระสงฆ์ และต้องให้พร แก่ผู้ที่มาสักการะ พระองค์ หลังจากนั้นจึงเรียนหนังสือ (ปัจจุบันทางรัฐบาลมีกฎให้กุมารีทุกพระองค์ต้องได้รับการศึกษา)
การเป็นกุมารีไม่ใช่เรื่องง่าย อำนาจที่ได้มานั้นย่อมมากับภาระที่ยิ่งใหญ่เสมอ ต่อไปนี้คือ กฎและข้อห้ามของกุมารี
ถึงแม้กุมารีจะมีอายุราวๆ 8-10ขวบ แต่เวลาพระองค์จะเสด็จไปไหนก็ไม่สามารถเดินบนพื้นดินได้ จะต้องมีคนอุ่ม หรือ มีผ้าขาวชนิดพิเศษ ปลูพื้นก่อนเดินเท่านั้น พระองค์ไม่สามารถออกนอก การ์ (Ghar) หรือวัง ของพระองค์ได้ในยามพระอาทิตย์ขึ้น พระองค์จะออกได้ก็ต่อเมื่อมีงานวันสำคัญต่างๆที่จะต้องออกไปปฏิบัติภารกิจ ของกุมารี
ตำแหน่งของกุมารี
กุมารีในเนปาลไม่ได้มีแค่องค์เดียวแต่จะแบ่งแยกตามนี้
1. ราชกุมารี หรือ กุมารีแห่งกาฐมาณฑุ (กุมารีหลวง) จะเป็นกุมารีที่อาศัยอยู๋ในพระราชวังกุมารีในกรุง กาฐมาณฑุ
2. กุมารีเมือง จะเป็นกุมารีที่อาศัยอยู่ในเมืองที่สำคัญใหญ่ๆ
"กุมารีหลวง"องค์ปัจจุบัน นามว่า กุมารีสมิตา ภัชราชาร์ยา (Samita Bajracharya) อายุเพียง 10 ปี
การพ้นจากตำแหน่งของกุมารี
หากกุมารี ประสบอุบัติเหตุมีเลือดไหลมาก หรือมี ประจำเดือน ถือว่าพ้นจากการเป็นกุมารี เพราะเลือดคือ สัญลักษณ์ของการเป็นมนุษย์นั่นเอง
จากที่เจ้าของกระทูได้ศึกษามาได้ไปอ่านบทความหนึ่งของคุณ บุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์ เป็นบทความและการสัมภาษณ์ ที่เล่าเรื่องราวของอดีตกุมารี ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งแหละชีวิตหลังจากลงจากต่ำแหน่งมีความน่าสนใจมากๆ
ชีวิตใหม่ของอดีตกุมารีเนปาล
กรณีของ รัศมี ศากยะ วัย 29 ปี อดีตกุมารีคนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับวิทยาลัยเมื่อปีที่แล้ว(2551) จากนั้นก็หันมายึดอาชีพที่มั่นคงเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
รัศมี ได้รับเลือกเป็นกุมารีขณะมีอายุแค่ 4 ขวบ และใช้เวลาอยู่ในวิหารศักดื์สิทธิ์นาน 8 ปี เผยเป็นครั้งแรกว่าชีวิตของกุมารีนั้นเต็มไปด้วยความเงียบเหงา ว้าเหว่ ทุกๆ เช้าๆ ต้องเตรียมตัวพร้อมสำหรับให้พวกนักบวชเข้ามาสักการะ เวลาที่เหลือก็เล่นตุ๊กตาที่มีคนนำมาถวาย เธอต้องกินอาหารที่แยกปรุงเป็นพิเศษตามลำพัง บางครั้งพวกพี่เลี้ยงอาจจะอนุญาตให้นั่งตรงริมหน้าต่างเฝ้าดูประชาชนที่เดินผ่านไปมา แต่เธอยอมรับว่ารู้สึกแปลกๆ ตอนที่ทำเช่นนั้น
เธอกล่าวว่าช่วงที่โปรดปรานมากที่สุดก็คือช่วงงานฉลองอินทรา จักระ ซึ่งฝูงชนนับหมื่นๆ คนจะไปออกันที่จตุรัสทุรบาร์เพื่อรอยลโฉมขบวนแห่กุมารีในชุดแต่งองค์ทรงเครื่องเต็มยศไปตามถนนสายต่างๆ ทั่วเมืองหลวง ภาพนั้นต่างกันลิบลับกับชีวิตใหม่ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ซึ่งเธอยอมรับว่าการปรับเปลี่ยนชีวิตนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
"ไม่เคยมีใครมาสอนฉันให้รู้จักใช้ชีวิตเยี่ยงคนธรรมดาเมื่อโตขึ้น แล้วต้องออกมาอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ"
อย่างไรก็ดี รัศมีก็เริ่มชินมากขึ้นหลังจากตัดสินใจเข้าโรงเรียนจนจบออกมาทำงาน ประสบการณ์ตรงส่วนนี้ทำให้เธอรู้จักที่จะคบหากับผู้คนบ้าง แต่ก็ไม่ต้องการจะบอกเรื่องราวในอดีตให้ใครฟัง เพราะกลัวว่าจะปฏิบัติต่างออกไป
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แม้ว่าการคัดเลือกกุมารีจะยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่ถูกยกเลิกเหมือนกับสถาบันกษัตริย์ แต่วิถีชีวิตของกุมารีก็เริ่มเปลี่ยนไป เมื่อศาลสูงตัดสินว่าคนที่เป็นกุมารีจะต้องได้รับการศึกษาเยี่ยงเด็กทั่วไป แม้จะต้องเรียนและนั่งสอบในวิหารศักดิ์สิทธิ์ตามลำพังก็ตาม
รัศมีเห็นด้วยกับคำตัดสินนี้ แต่เสริมว่ารัฐบาลต้องหาทางช่วยเด็กคนหนึ่งในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมหลังพ้นจากตำแหน่งนี้แล้ว
.adsense-aftercontent { width:300px; height:250px; } @media(min-width:336px) { .adsense-aftercontent { width:336px; height:280px; } }