dailynews
ลึกลงไปใต้มหาสมุทรแปซิฟิก นักประดาน้ำลึกและนักประวัติศาสตร์ใต้ท้องทะเลกำลังช่วยกันค้นหาเรือ ประจัญบานลำใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างขึ้นมา
ที่ท่าเรือคูเระทางตอนใต้ ของญี่ปุ่น อู่ต่อเรือ ณ วันนี้ คือ สถานที่ผลิตเรือบรรทุกสินค้าที่ทันสมัยที่สุดในโลก แต่ราว 60 ปีที่แล้วมันคือสถานที่ก่อกำเนิดอาวุธทางทะเลที่น่าเกรงขามที่สุดในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2
ยามาโต คือ เรือรบที่ร้ายกาจที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างขึ้นมา มันถูกออกแบบขึ้นอย่างเป็นความลับสุดยอด ไม่มีแม้กระทั่งภาพวาดและแบบแปลนฉบับสมบูรณ์ นอกจากภาพวาดลายเส้นไม่กี่ชิ้นกับภาพถ่ายอีกหยิบมือเดียวที่เหลืออยู่ และข่าวลือที่ว่ายามาโตมีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของคู่ต่อกรจากอเมริกา
บรรดากะลาสีได้ช่วยกันขึงอวนดักปลายาวหนึ่ง ไมล์รอบอู่ต่อเรือแบบแห้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น เพื่อสร้างเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดและทรงพลังที่สุดในโลก ไม่มีใครรู้ว่ามันมีขนาดเท่าไร เพียงแต่รู้ว่าระวางขับน้ำของยามาโตมีขนาดสองเท่าของเรือประจัญบานใดๆ ของฝ่ายสัมพันธมิตร ป้อมปืนที่มีอยู่สามป้อมนั้น แต่ละป้อมหนัก กว่าเรือพิฆาตของอเมริกา ปืนกระบอกหลักๆ ถูกออกแบบให้โจมตีได้ในระยะ 25 ไมล์ ซึ่งไม่เคยมีใครทำได้ มาก่อน โดยในระยะไกลขนาดนั้นจำเป็นต้องอาศัยเครื่องบินระบุตำแหน่งช่วยบินนำวิถี กระสุนอยู่เหนือเส้นขอบฟ้า
ยามาโตก็เหมือนกับเรือขนาดใหญ่ ที่มีการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่ามันจะไม่มีทางจม แต่แล้วเรือเหล่านั้นก็มักจะมีเหตุต้องจมลงจนทำให้เป็นที่มาของประวัติ ศาสตร์และตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา
เรือประจัญบานยามาโตเข้าร่วมกองเรือประจัญบานในเดือนธันวาคม 1941 โดยหน่วยข่าวกรองของอเมริกาก็รับรู้ถึงการประจำการนี้ ทว่าไม่มีใครรู้ถึงอานุภาพอันร้ายแรงของมัน นักวิเคราะห์จากกองทัพเรือสหรัฐเชื่อว่ายามาโตมีขนาดใหญ่พอๆ กับเรือประจัญบานลำใหม่ๆ ของอเมริกา แต่ที่จริงแล้วมันใหญ่กว่า เรือเหล่านั้นถึงสองเท่า เพราะต้องออกแบบเพื่อรองรับปืนประจำเรือที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการติด ตั้งบนเรือประจัญบาน
การยิงปืนขนาด 18 นิ้วด้วยความเร็วเหนือเสียง โดย ที่กระสุนแต่ละนัดหนักพอ ๆ กับรถยนต์หนึ่งคัน ทำให้คาดการณ์ได้ว่า ปืนของยามาโตน่าจะสามารถเจาะเกราะที่หนาเกือบสองฟุตได้
สาเหตุที่ญี่ปุ่นสามารถสร้างเรือใหญ่ขนาดนั้นมาลอยลำ อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกได้ ขณะที่อเมริกาคู่ต่อสู้ทำไม่ได้ทั้งๆ ที่มีศักยภาพไม่ด้อยไปกว่ากัน ก็เพราะเรือของญี่ปุ่นไม่ต้องกังวล เรื่องการผ่านเข้าออกทางคลองปานามา ที่มีล็อกยกระดับขนาด 110 ฟุตเป็นตัวกำหนด
ไม่เพียงอานุภาพของอาวุธที่ร้ายแรง แต่การออกแบบยา มาโตนั้นพิถีพิถันแทบจะทุกขั้นตอน เพราะแม้แต่หัวเรือก็มีการออก แบบให้ลดแรงเสียดทาน ความกว้างของยามาโตทำให้ความลู่น้ำมีความจำเป็นยิ่ง เพราะเมื่อมันแล่นผ่านน้ำหัวเรือก็จะก่อให้เกิดคลื่นอย่างต่อเนื่อง โหนกที่ท้องเรือยามาโตจะก่อให้เกิดคลื่นนำหน้าหัวเรือไปสองสามฟุต ซึ่งจะขจัดคลื่นที่เกิดจากตัวเรือเอง และเมื่อมีคลื่นปะทะน้อยลงแรงเหนี่ยวของน้ำก็ลดลง
แม้จะมีอานุภาพมหาศาลในการทำลาย ล้างแต่ทว่ายามาโตกลับมีจุดอ่อนตรงความเปราะบางของเรือ เพราะเมื่อมันร่วมขบวนไปโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ในวันที่ 7 ธันวาคม 1941 กองทัพเรือญี่ปุ่นสามารถทำลายและสร้างความเสียหายให้แก่เรือประจัญบานของ ฝ่าย สัมพันธมิตรทุกลำในมหาสมุทรแปซิฟิก ด้วยแสนยานุ ภาพทางอากาศ ถึงจะประสบความสำเร็จ แต่ยุคการต่อสู้กันของเรือประจัญบานนั้นกำลังร่วงโรยไป ศึกมิดเวย์เป็นจุดหักเหของสงครามในมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นการต่อสู้กันของเรือบรรทุกเครื่องบิน
ในเดือนมิถุนายน 1942 กองทัพเรือสหรัฐได้ล่อญี่ปุ่นเข้ามาติดกับ และส่งเครื่องบินรบหลายร้อยลำเข้าโจมตีกองเรือของญี่ปุ่นภายในไม่กี่ชั่วโมง ญี่ปุ่นสูญเสียเรือบรรทุกเครื่องบินไปสี่ลำและเครื่องบินกว่า 330 ลำ เป็นความพ่ายแพ้ซึ่งทำให้กองทัพเรือของพระจักรพรรดิไม่สามารถฟื้นตัวได้อีก เลย
การสูญเสียกำลังคุ้มกันทางอากาศทำให้จุดด้อยของยามาโตมี เพิ่มมากขึ้น เพราะเมื่อมันกลับเข้าสู่น่านน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกอีกครั้ง หลังจากจอดรออยู่ในที่ปลอดภัยนานนับปี ช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 1945 ขณะที่กำลังเสียท่าให้กับอเมริกา ญี่ปุ่นส่งอาสาสมัครนักบินกามิกาเซ่ไปพุ่งชนเรือของฝ่ายสัมพันธมิตรไป 300 ลำ คร่าชีวิตลูกเรืออเมริกันไปหลายพันคน แต่การยอมตายเพื่อศักดิ์ศรีของญี่ปุ่นก็ยังไม่จบสิ้นลง เพราะยามาโต คือ คำสั่งลับสำหรับแผนการที่สิ้นหวังลำดับต่อไป
ยามาโตแล่นตรงไปสู่กองเรือของอเมริกา 1,500 ลำ โดยปราศจากการคุ้มกันทางอากาศ เมื่อเครื่องบินลำแรกโจมตียามาโตขณะที่มันอยู่ห่างจาก เรือรบอเมริกาถึงสองร้อยไมล์ ปืนขนาด 18 นิ้วที่มีอยู่ จึงไร้ความหมาย เพราะมันไม่สามารถยิงเครื่องบินที่ เข้ามาใกล้ในระยะ 10 ไมล์ได้สะดวกท่ามกลางเมฆที่ ลอยต่ำ ทันทีที่เครื่องบินทิ้งระเบิดลำแรกสามารถทะลุรัศมีป้องกัน 10 ไมล์เข้ามาได้ ปืนต่อสู้อากาศยานนับร้อยกระบอกของยามาโตก็ถูกยิงขึ้น แต่เครื่องบินเกือบทุกลำก็สามารถบินเข้าสู่ระยะ 20,000 ฟุตเหนือเรือลำนี้พอดิบพอดี ระเบิดหนัก 500 ปอนด์ลูกแรกโดนดาดฟ้าเรือ
แต่สิ่งที่ทำให้เรือประจัญบานลำนี้ถึงจุดจบก็คือตอร์ปิโดนับ สิบๆ ลูกที่ถูกทิ้งจากอากาศและเจาะทะลุ ยามาโตจากใต้ระดับน้ำใกล้กับหัวเรือและท้ายเรือ ซึ่งเป็นจุดที่เปราะบางที่สุด เป็นเวลาหลายสัปดาห์ที่กองทัพเรือญี่ปุ่นไม่ยอมรับว่ายามาโตได้จมลงพร้อมกับ ลูกเรือ 3,000 คน
ผู้รอดชีวิตถูกนำตัวไปยังอาคารท่าเรือที่เคยถูกระเบิด ที่ซึ่งพวกเขาถูกซ่อนไว้ หนึ่งเดือนหลังจากเรือจมผู้รอดชีวิตเหล่านั้นจึงได้รับอนุญาตให้กลับไปหา ครอบครัว
เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือบรรทุกเครื่องบินเข้ามาแทนที่เรือประจัญบาน ในฐานะสัญลักษณ์แห่งอำนาจของชาติบนพื้นน้ำ ในระยะเวลาหกสิบปีหลังจากยามาโตจมลง ไม่มีชาติใดในโลกตัดสินใจสร้างเรือประจัญบานอีกเลย