ชะนีมงกุฎ

ชะนีมงกุฎ(ชะนีหัวมงกุฎ) Pileated Gibbon ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Hylobates pileatus -------------------------------------------------------------------------------- ลักษณะทั่วไป ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีขาวนวล เมื่อเกิดใหม่สีขาวนวลเหมือนกัน พออายุ 4-6 เดือน ขนที่หน้าอกจะเปลี่ยนสีเป็นสีดำเกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมลงที่ท้อง และบนหัวขนเปลี่ยนเป็นสีดำ เกิดขึ้นตรงกลางหัวเป็นรูปทรงกลม พออายุประมาณ 3-4 ปี ตัวผู้ขนจะเปลี่ยนเป็นสีดำทั่วตัว ยกเว้นคิ้ว ถุงอัณฑะ หลังมือหลังเท้าและวงรอบใบหน้า ซึ่งขนจะเป็นสีขาวดังเดิม รอบ ๆ จุดดำบนหัวจะมีขนสีขาวยาวเป็นลอนแซมขึ้นมาเห็นเด่นชัด ส่วนตัวเมียขนทั่วตัวไม่เปลี่ยนสีดำ สีขนจะคงเดิม ที่หน้าอกและบนหัวจะมีสีดำ มองดูที่หน้าอกคล้ายผูกเอี๊ยมดำและ บนหัวดูคล้ายเป็นมงกุฎสีดำ ขนรอบจุดดำบนหัวเป็นลอนยาวสีขาวเช่นเดียวกับตัวผู้ ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในประเทศลาวและกัมพูชาทางด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง สำหรับประเทศไทย พบทางทิศตะวันออก เช่น จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ตราด และพบที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ด้วย กินผลไม้ ยอดไม้ ไข่นก และแมลงต่างๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ มีพฤติกรรมและการสืบพันธุ์เหมือนชะนีทั่วไป แต่มีนิสัยดุร้ายเมื่อโตเต็มที่แล้ว เมื่อมีอายุ 7-8 ปีจึงผสมพันธุ์ได้ ตั้งท้องนานประมาณ 240 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา


Credit: http://www.electron.rmutphysics.com/science-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=11372&Itemid=12
#ชะนีมงกุฎ
havi
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
6 มิ.ย. 53 เวลา 03:54 2,850 4 36
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...