ระเบิดนิวเตลียร์ ทรงอนุภาพ และใหญ่ที่สุดในโลก

บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด ระเบิดนิวเคลียร์ ทรงอนุภาพ และ ใหญ่ที่สุดในโลก ( Biggest Nuclear bomb) Tsar Bomb ระเบิดซาร์ เป็นชื่อย่อที่ใช้เรียก ระเบิดไฮโดรเจน RDS-220 ( ระหว่างการพัฒนาจะใช้รหัสว่า Ivan ) เป็น ระเบิดนิวเคลียร์ ทรงอนุภาพ และ ใหญ่ที่สุดในโลก เท่าที่เคยมีการสร้างขึ้นมาบนโลกใบนี้ ระเบิดซาร์ ได้รับการพัฒนาโดย สหภาพโซเวียต ( Soviet Union ) ซึ่งในตอนแรกระเบิดซาร์ ออกแบบให้มีพลังทำลาย 100 เมกะตัน แต่ตอนหลังระเบิดซาร์ ได้ถูกลดอนุภาพลงมาครึ่งหนึ่งเนื่องจากต้นทุนในการก่อสร้างสูงมาก และหากมีขนาดถึง 100 เมกะตัน จะมีน้ำหนักมากจนไม่สามรถมีเครื่องบินที่จะขนส่งไปทิ้งระเบิดได้ ทำให้ลดอนุภาพลงเหลือเพียง 50 เมกะตัน ระเบิดลูกแรกได้ทำการทดลองเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 1961 ที่ Novaya Zemlya ส่วนลูกระเบิดซาร์จำลอง ได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์อาวุธนิวเคลียร์ (Russian Nuclear Weapons Museum) ระเบิดนิวเคลียร์ซาร์ เป็น ระเบิดนิวเคลียร์ ไฮโดรเจนแบบ 3 สเตรท คือ สเตรทแรก คือ การทำงานแบบ Fission Bomb คือทำให้เกิดแรงอัด สเตรทที่สอง คือ การทำงานแบบ Thermonuclear คือทำให้เกิดความร้อน สเตรทสุดท้าย คือ ใช้พลังงานจากการระเบิด นำพาและเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ สเตรทที่สอง ส่งความร้อนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น คุณลักษณะของ ระเบิดซาร์ ระเบิดแบบ อาวุธนิวเคลียร์แบบความร้อน ( Thermonuclear weapon ) ผู้ผลิต สหภาพโซเวียต จำนวนการสร้าง 1 ลูก และมีลูกระเบิดจำลอง อีก 1 ลูก ( mock bomb ) น้ำหนักระเบิด 27 ตัน เนื่องจากข้อจำกัดทางเครื่องบินในการขนส่ง ความยาว 8 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร พลังทำลาย 50 เมกะตันทีเอ็นที ( ซึ่งมันเท่ากับระเบิดที่มีการใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมกัน อี 10 เท่า แถมรวมกับ ระเบิด Little Boy คือระเบิดนิวเคลียร์ที่ทิ้งลงที่ ฮิโรชิม่า และ ระเบิดนิวเคลียร์ Fat Man คือระเบิดนิวเคลียร์ที่ทิ้งลงที่ นางาซากิ รวมกัน ) การทดสอบ ระเบิดนิวเคลียร์ ซาร์ ทำการทดสอบในวันที่ 30 ตุลาคม 1961 เวลา 11:32 เหนืออ่าว Mityushikha บนเกาะ Novaya Zemlya ในมหาสมุทรอาร์กติก ระเบิดลูกทิ้งลงจากระดับความสูง 10.5 กิโลเมตร และจะทำงานสูงจากพื้นดิน 4 กิโลเมตร ( และทำงานสูงจากพื้นน้ำ 4.2 กิโลเมตร ) รูปแสดง ขอบเขตบริเวณที่ได้รับผลจากการทิ้งระเบิด โดยบริเวณวงสีเหลืองคือพื้นที่ถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง ส่วนวงสีแดงคือพื้นที่ถูกทำลายอย่างรุนแรง กินพื้นที่เส้นผ่าศูนย์กลาง ถึง 27 กิโลเมตร ( 60 ไมล์ )



Credit: http://www.neutron.rmutphysics.com/scie ...
5 มิ.ย. 53 เวลา 06:42 5,358 16 124
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...