หลังจากนักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยในเช็กพบ "หลุมพระศพราชินีเคนทาคาเวสที่ 3" ซึ่งเป็นพระมเหสีของฟาโรห์ เนเฟอร์เรเฟร (Neferefre) แห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณเมื่อ 4,500 ปีก่อน บริเวณสุสานอาบูเซียร์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงไคโร ประเทศอียิปต์
ซึ่งหลังจากที่ราชินีเคนทาคาเวสที่ 3 สิ้นพระชนม์ไปได้ 200 ปี ก็เกิดเหตุการณ์แปลกๆ ขึ้นจนทำให้อาณาจักรอียิปต์ถึงกับล่มสลาย ทั้งแม่น้ำไนล์ที่แห้งขอด และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่เป็นเหตุให้อาณาจักรอียิปต์ถูกทำลายจนย่อยยับ
ทำให้นักโบราณคดีค้นพบว่า อาณาจักรอียิปต์โบราณก่อนที่จะล่มสลายนั้นได้เผชิญกับปัญหาแบบเดียวกับที่มนุษย์ในยุคปัจจุบันกำลังเผชิญอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความวุ่นวายทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
ทั้ง "รอยปะสีดำ" ที่อยู่ใต้พื้นดินในประวัติศาสตร์ของโลกที่สามารถทำลายล้างโลกเราได้ รวมถึงร่องรอยการถูกทุบที่กะโหลกศีรษะของราชินีเคนทาคาเวสที่ 3 ซึ่งน่าจะเป็นฝีมือของคนที่บุกรุกเข้ามาในสุสาาน ไม่ใช่การฆาตกรรม
นอกจากนี้ยังพบเครื่องใช้สมัยโบราณ และหม้อของคนโบราณอีกด้วย เมื่อนำมาตรวจสอบธาตุคาร์บอนก็สามารถทำนายอายุของเครื่องใช้ได้อย่างแม่นยำเลยทีเดียว
ดังนั้นนักโบราณคดีจึงเชื่อว่าหายนะที่เกิดขึ้นกับอาณาจักรอียิปต์สามารถเกิดขึ้นได้กับอนาคตของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่รุนแรงขึ้น และเราควรหันมาสนใจเรียนรู้บทเรียนจากประวัติศาสตร์กันให้มากขึ้น
ข้อมูลและภาพประกอบจาก "thairath"