การคัดสรรคู่ทางธรรมชาติกำหนดกลไกที่ทำให้เราสืบพันธุ์ ที่เห็นเด่นชัดสุด การเกิดการกระตุ้นทางเพศ
ผู้หญิงหลายคนได้ยินเสียงลือเล่าความเชื่อเรื่อง “นาฬิกาชีวิต” หรือนาฬิกาทางชีววิทยา เมื่อพวกเขาย่างเข้า 30 บางคนก็ไม่เคยได้ยินเลย บางความเชื่อว่าแรงขับเคลื่อนทางชีววิทยาให้เรามีลูกนั้นถูกกำหนดมาจากข้างใน ถึงขนาดว่ากันว่าหญิงใดที่ปฏิเสธหน้าที่ทางวิวัฒนาการ(อันสมมติ) นี้ถือเป็นความเห็นแก่ตัว
ส่วนความเชื่ออื่นๆ เช่นที่เรียกกันว่า “สัญชาตญาณความเป็นแม่” หรืออย่างเช่นคำว่า “baby fever” หรือเป็นไข้บุตร (อยากมีบุตร) นั้น แท้จริงไม่เกี่ยวอะไรกับชีววิทยา แต่เป็นกระบวนการทางสังคม
มันไม่มีประโยชน์เท่าไร ถ้าจะพิสูจน์ถกเถียงกันด้วยการกำหนดหัวข้อแค่สองทาง “ธรรมชาติ vs การเลี้ยงดู” เพราะทั้งชีววิทยาและวัฒนธรรมต่างมีส่วนสร้างพฤติกรรมการสืบพันธ์ุของเราทั้งนั้น แต่ในเรื่องของสัญชาตญาณความเป็นแม่ที่เกี่ยวข้องกับทักษะของแม่และความต้องการเลี้ยงดูและปกป้องลูก อาจเป็นรากหลักสนับสนุนโดยการหลั่งฮอร์โมนชุดหนึ่งและการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาอื่นๆ
การกระตุ้นทางเพศ
ความหลากหลายอันงดงามของรูปแบบชีวิตทั้งในอดีตและปัจจุบันมาจากคุณสมบัติที่สำคัญข้อเดียว -การสืบพันธุ์ เราแต่ละคนต่างถูกกำหนดให้สืบพันธุ์อย่างเท่าเทียมกันโดยพันธุกรรมถูกคัดจับคู่กัน โดยทางทฤษฎีแล้วกับประชากรที่มีรอบตัวเรา ซึ่งเกี่ยวโยงกันด้วย “ความสัมพันธ์ทางใจที่ยิ่งใหญ่”
ยังคงคลุมเครือว่าความปรารถนาอยากมีบุตรอย่างมาก หรือ ‘baby fever’ ถูกขับเคลื่อนโดยยีนของเรา หรือ กระบวนการทางสังคม
นี่เป็นข้อที่ประจักษ์ได้ด้วยตนเองในเรื่องของกระบวนการทางวิวัฒนาการ
นึกภาพถึงประชาการหนึ่งของสัตว์หรือคนซึ่งพอใจในเซ็กซ์ ในขณะที่ความพึงพอใจนั้นกำหนดโดยยีน นี่ทำให้สามารถนำมากำหนดประเมินความสำเร็จทางการสืบพันธุ์ได้ ทีนี้ลองมาเข้าเรื่องของประชากรโดยพันธุกรรมที่มีแนวโน้มไปทาง "ไม่สืบพันธุ์"
บุคคลที่ดูเหมือนเฉยชาในทางเพศเหล่านี้ก็จะไม่ผลิตตัวอ่อน(บุตร/ลูก) ดังนั้นแล้วก็จะไม่มีบุคคลที่ไม่สืบพันธุ์ทางเพศอีกในรุ่นต่อไป หรือกล่าวต่อไปอีกก็คือ แนวโน้มยีนที่หลีกเลี่ยงการสืบพันธุ์ก็จะไม่มีการสร้างขึ้นมาอีกหรือคงเหลืออยู่อีก
บ้างที่ถกเถียงกันว่าสิ่งนิยมที่เรียกกันว่า “นาฬิกาชีวิต” เป็นตัวกำหนดความสนใจในการสืบพันธุ์ของกลุ่มผู้หญิงที่ยังไม่มีบุตรในวัย 30 ของพวกเธอ น่าจะเป็นการทำงานของการคัดสรรทางธรรมชาติ
มีหลักฐานเกี่ยวกับการตัดสินใจทางเพศนี้ว่าน่าจะเกี่ยวกับพื้นฐานทางพันธุกรรม ยกตัวอย่าง งานวิจัยที่เจาะเรื่องอายุเฉลี่ยของครั้งแรกของผู้ที่พยายามมีบุตรในประชากรประเทศฟินแลนด์ พบว่าเด็กมีพัฒนาการรูปแบบเดียวกันกับพ่อแม่ของพวกเขา แต่ข้อพิสูจน์นี้พิสูจน์แค่เรื่องเดียวว่า มีอิทธิพลตัวแปรในทางพันธุกรรมที่ทำให้มีการตัดสินใจมีลูกเฉพาะในสตรีเท่านั้น ยังไม่มีการตัดสินใจ ระหว่างชายด้วย หรือทั้งคู่
เราต่างเกิดความรู้สึกหวั่นไหวอย่างผิดๆ จากอิทธิพลของสิ่งอื่นๆ เหล่านี้ (ลูกล่ออันชาญฉลาดของโฆษณาที่ประสบผลสำเร็จ ,ความหวังส่วนตัว ,การศึกษา)
ดังนั้นแล้ว เหมือนกับหลายมุมมองอื่นๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ มันยังคงคลุมเคลือว่า ความอยากอย่างแรงกล้าที่ต้องการจะมีลูก “เป็นไข้บุตร” นั้นถูกขับเคลื่อนโดยยีนของเราหรือกระบวนการทางสังคมกันแน่
ชีววิทยาท้าทาย
เซ็กซ์และการสืบพันธุ์เกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับทุกสิ่งมีชีวิต ปัจุบันไม่นานมานี้ มีการค้นพบเทคโนโลยีต้านการมีบุตรซึ่งนั่นเปลี่ยนแปลงเผ่าพันธุ์ของเราให้ก้าวห่างไกลจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
ด้วยความเชื่อถือวางใจได้ว่าปัจจุบัน มนุษย์สามารถมีเซ็กซ์ได้โดยไม่ตั้งท้องบุตร ดังนั้นในทางความก้าวหน้าของชีววิทยาแล้ว ความเชื่อมโยงในทางยีนต่อกิจกรรมทางเพศก็จะไม่มีผลสมมูลต่อสัญชาตญาณความเป็นแม่หรือพ่อที่ทำให้มีลูกอีกต่อไป
ยาคุมกำเนิด สิ่งที่มนุษย์เราเอาชนะชีววิทยา
มีสตรีมากมายในสังคมเราตอนนี้ที่เป็นผู้ที่ไม่สนการมีบุตร
ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐ มีผู้หญิงช่วงอายุ 34 ถึง 44 ปี ที่ไม่เคยมีบุตรเลย เพิ่มขึ้นประมาณ 10% ตั้งแต่ปี 1976 และ ในการเก็บข้อมูลตัวอย่างผู้หญิงชาวออสเตรเลียมากกว่า 7,000 คน ระหว่างอายุ 22 ถึง 27 ปี พบว่าเกือบ 10% ไม่ต้องการมีบุตร
ให้เดาว่าสตรีไร้บุตรเหล่านี้ไม่ใช่ว่าเฉยชาทางเพศหรืออย่างไร (อย่างที่การเลือกคู่ทางธรรมชาติกำหนด) แต่อาจเป็นเพราะมีโอกาสน้อยในการเลือกคู่ในชีวิตปัจจุบันของแต่ละคน
นี่เป็นตัวอย่างที่น่าประทับใจในทางพฤติกรรมมนุษย์ ที่เราเอาชนะธรรมชาติและเกิดความก้าวหน้า แต่วัฒนธรรมและเทคโนโลยีก็กันเราออกห่างจากโอกาสในการเลือกคู่หลายอย่าง ตัวอย่างเช่น เครื่องนุ่งห่ม ช่วยให้เราอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่หนาวเย็นได้ แต่ไม่เหมาะโดยเฉพาะกับพวกนิยมเปลือย เซ็กซ์ก็เป็นหนึ่งในนั้น วัฒนธรรมส่วนใหญ่มองผ่านความสนใจทางเซ็กซ์ -ตั้งแต่ความคิดเหมารวมของพิธีทางการครองคู่ที่กว้างขวางอยู่ในสังคมยุคเก่า จนถึงภาพแนวคิดอันไม่สมควรเกี่ยวกับเซ็กซ์ในโฆษณาทางโทรทัศน์ในสังคมร่วมสมัย
สัญชาตญาณการเลี้ยงดู
ในหลายๆ กรณี การสืบพันธุ์ที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องการความใส่ใจในการพัฒนาการเติบโตของตัวอ่อน และมักพบบ่อยที่สุด แต่ไม่เฉพาะในเพศเมียหรือเพศแม่
การเลี้ยงดูเอาใจใส่เจ้าตัวน้อยคือ รูปแบบหนึ่งของสัญชาตญาณความเป็นแม่ที่เด่นชัด ดังเช่นคำว่า “baby fever” หรือเป็นไข้บุตร และธรรมชาติเป็นผู้สร้างกลไกทางชีววิทยาเพื่อแน่ใจว่าเกิดสิ่งนี้
ตัวอ่อนที่กำลังได้รับการเลี้ยงดู คือรูปแบบหนึ่งของสัญชาตญาณความเป็นแม่ ""
ที่มา: http://www.vcharkarn.com/vnews/50344
ที่มา: [https://theconversation.com/maternal-instinct-and-biology-evolution-ensures-we-want-sex-not-babies-46622]
ภาพสุนัขจาก: [http://attackofthecute.com/on/?i=5537]
[www.dailymail.co.uk]