Gecko เป็นสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มหนึ่งบ้านเราเรียก"ตุ๊กแก"
ยิ้มหวานให้ก่อน ขอต้อนรับสู่โลกของตั่ก..ตั่ก..ตั่ก ....ตั๊กแก่
คำว่า “gecko” มาจากภาษามาเลเซีย “gekoq” ซึ่งเลียนเสียงที่มันร้องออกมานั่นเอง มีถึง 1,196 สายพันธุ์
เก็กโค่ มีความหลากหลายทั้งสีและลักษณะ บางสปีชีส์ดูบอบบาง บ้างก็ดูเหมือนยาง บางตัวก็สีสันสดใส บางสปีชีส์ก็เปลี่ยนสีไปตามสภาวะแวดล้อมและอุณหภูมิ บางสปีชีส์เป็น parthenogenesis คือการสืบพันธุ์โดยไม่ต้องอาศัยเพศ ตัวเมียสามารถให้กำเนิดลูกได้โดยไม่ต้องมีตัวผู้มาผสม
เท้าของ เก็กโค่น่าสนใจมากมีความสามารถในการยึดเกาะพื้นผิวได้ดีเยี่ยม โดยทีฝ่าเท้าของเก็กโค่จะมีส่วนที่เรียกว่า setae ลักษณะคล้ายขนเส้นเล็กๆอยู่เป็นล้านๆเส้นก่อให้เกิดแรงดูดที่มากที่ทำให้มัน สามารถไต่ต้านแรงโน้มถ่วงของโลกได้ คนพยายามใช้ข้อมูลของตีนตุ๊กแกในการเอาชนะแรงดึงดูดของโลกเช่นกัน ทั้งการผลิตเทปติดแน่นและการทำชุดมนุษย์แมงมุม
โดยส่วน ใหญ่เป็นพวกออกหากินกลางคืน มีตาขนาดใหญ่และปรับตัวมองเห็นได้ดีได้ดีในที่มีแสงน้อย ไม่มีเปลือกตา มันจึงกระพริบตาไม่ได้ มีแต่เยื่อบางๆแนบไปกับกระจกตา โดยใช้วิธีเลียทำความสะอาดดวงตา
เก็กโค่ เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดเดียวที่รู้จักใช้เสียง(พวกอื่นๆก็แค่ทำเสียงขู่ )พวกมันสามารถเห่าได้ ทำเสียง จิ๊บๆ (chirping ; น่าจะจุ๊ๆมากกว่า)หรือเสียงคลิ๊กเมื่อต้องการสื่อสารกันกับเก็กโค่ตัวอื่นๆ
บางสปีชีส์สามารถฉีดของเหลวที่มีฤทธิ์ระคายเคืองจากปลายหางได้
Leopard gecko หางยาวสวย
Leopard gecko ที่ทำหางหลุดแล้วงอกใหม่
เก็กโค่ สามารถสลัดหางให้หลุดออกได้เป็นการป้องกันตัวอย่างหนึ่ง หางที่หลุดใหม่ๆจะยังดิ้นไปมาได้ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของศัตรูให้ตัวจริงหนีรอดไปได้ การหลุดของหางบางครั้งก็หลุดโดยสมบูรณ์และงอกหางใหม่ออกมา แต่หางใหม่มักสั้นกว่าเดิมและไม่มีกระดูกในหางใหม่ บางทีหางหลุดไม่สมบูรณ์ค้างอยู่ แต่งอกอันใหม่ขึ้นมาด้วย กลายเป็นสองหางในตัวเดียว เคยมีรายงานว่าพบสามหางก็มี
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
Tokay gecko(Gekko gecko)
ตุ๊กแกบ้าน พบ กระจายทั่วไปตั้งแต่อินเดียไปจนถึงออสเตรเลียความแปลกของ tokay คือสามารถมองเห็นได้รอบหัวจรดหู โดยทั่วไปถูกเลี้ยงไว้เหมือนสัตว์เลี้ยงแต่เป็นพันธุ์ที่จัดว่าดุร้ายและกัด ถ้าถูกรบกวนหรือทำอันตราย สามารถอยู่ได้นานถึง 20 ปีปกติอยู่ตามต้นไม้ในป่าดิบชื้น แต่ก็พบได้ทั่วไปตามบ้านคน กินแมลง กินหนู นกเล็กๆและตุ๊กแกตัวเล็กๆเป็นอาหาร จมูกใช้หายใจและรับกลิ่น ลิ้นของมันก็เป็นตัวรับกลิ่นเช่นกัน เป็นเก็กโค่ที่มีขนาดใหญ่ได้ถึง 30 -40 cm ปีนป่ายได้อย่างคล่องแคล่ว ตัวผู้จะมีพฤติกรรมหวงอาณาเขต
ตัว เมียวางไข่ทีละ 2 ฟอง 200วันฟักเป็นตัว ในจีนใช้เป็นยา ทำให้มีจำนวนลดลงในจีนตอนใต้ เวียดนามและไทย เสียงร้อง “ตุ๊กแก” บางทีร้อง gah,eck และเห่าเหมือนหมา
กัด ไม่ปล่อย...ดุนะรู้ไหม
เนื่อง จากราคาถูกหาง่ายและนิสัยดุร้ายจึงไม่นิยมเลี้ยง เค้าว่าถ้าถูกกัดก็ถึงขั้นเลือดออกได้ ยิ่งไปกว่านั้นบางตัวยังกัดไม่ปล่อย วิธีที่จะหลุดจากมันได้คือการเอามือพร้อมตุ๊กแกจุ่มลงน้ำ พอมันหายใจไม่ออกก็ต้องปล่อย ในนิวยอร์คร้านเพ็ทช็อบจะแนะนำให้เลี้ยงเพื่อกำจัดแมลงสาบ...บ้านเราคงไม่ ต้องหามาเลี้ยงหรอก ไม่ต้องเชิญ...เค้ามาเอง : )
Day Gecko
Phelsuma spp. Gecko
ออกหากินเวลากลางวัน ซึ่งต่างจากสายพันธุ์อื่นๆที่มักออกหากินกลางคืน มีม่านตากลม ขณะที่พวกหากินกลางคืนมีม่านตาเป็นเส้นแนวดิ่ง ปีนผนังและเพดานได้ดี
Phelsuma madagascariensisgrandis, the Giant Madagascar Day Gecko
ถิ่น ที่อยู่คือแถบมาดากัสการ์และเกาะรอบๆในมหาสมุทรอินเดีย เป้นกลุ่มเก็กโค่ที่น่าตาน่ารักและเหมือนแสดงอารมณ์ได้หลากหลาย
Gold dust day gecko (Phelsuma laticauda )
Gold dust day gecko (Phelsuma laticauda )
อยู่บนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่แต่ถ้าจะหลบศัตรูก็อาจ ทิ้งตัวลงมา หลบซ่อนตามเศษใบไม้ที่พื้นดิน มีสายพันธุ์หนึ่งคือP. Abotti ชอบเกาะบนกระดองเต่า โดยจะคอยกินแมลงที่มาตอมอุจจาระเต่าและอาศัยหลบพักใต้กระดองเต่าได้ด้วย เอกลักษณ์เฉพาะของตระกูลPhelsuma day geckos คือเมื่อเอามือไปสัมผัสกับผิวหนังของพวกมันผิวหนังมันจะหลุดออกมาอย่างง่าย ดายและมีพฤติกรรมหวงอาณาเขตอย่างมากกินผลไม้ น้ำผึ้งและแมลง
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
เก็กโค่ที่เล็กที่สุดและเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ที่เล็กที่สุดในโลกด้วยคือ เก็กโค่แคระ Jaragua sphaero ตัวโตเต็มวัยยาวเพียง ¾ นิ้วเท่านั้น พบได้ใน Dominican Rebublic และ Beata Island ในทะเล Caribbean
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
Leopard gecko
เก็กโค่ ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ leopard gecko (Eublepharis macularius) มักถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงและมีการเพาะพันธุ์กันแพร่หลาย ออกหากินกลางคืน อยู่ในโพรงใต้ดินหรือใต้ก้อนหินในทะเลทราย ต่างจากเก็กโค่ชนิดอื่นๆตรงที่มีเปลือกตา และไม่มีฝ่าเท้าสำหรับไต่ขึ้นที่สูง มักใช้ชีวิตตามพื้นราบไม่ปีนป่าย ค่อนข้างเชื่อง หางหลุดง่ายและเมื่องอกใหม่ก็ไม่สวยเหมือนเดิม
เป็นพวก leopard gecko ที่ไม่มีลาย
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
เก็กโค่ที่หายากที่สุดคือ Coromandel Striped Gecko (Hoplodactylus stephensi var. coromandel) พบในนิวซีแลนด์ พบน้อยและมีรายงานเพียง 4 ตัวเท่านั้นที่เคยเห็น ตัวแรกเป็นตัวผู้พบเมื่อปีค.ศ. 1997 ทางศูนย์อนุรักษ์พันธุ์Department of Conservation ได้เลี้ยงไว้เพื่อรอขยายพันธุ์แต่มันก็แก่ตายซะก่อนที่จะหาตัวเมียพบ หลังจากตัวผู้ตัวแรกตายจากไปแล้วค่อยพบตัวเมียแต่มันก็ถูกจู่โจมโดยนกกินปลา และตายไป ตัวที่สามที่พบก็เป็นตัวเมียแต่พบเป็นซากที่ไม่มีชีวิตแล้ว และตัวล่าสุดที่พบเป็นตัวผู้และยังมีชีวิตอยู่
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
Leaf tailed gecko พบในป่าดิบชื้นของมาดากัสการ์ มันมีหางขนาดใหญ่กว้างเมื่อเทียบกับลำตัว สามารถอำพรางตัวกลมกลืนไปกับสิ่งแวดล้อมได้ดี มักเกาะอยู่บนต้นไม่ ตัวก็จะคล้ายกิ่งไม้และหางก็เหมือนใบไม้แห้ง พวกนี้มีฟันมากที่สุด
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
ตุ๊กแกบิน
ตุ๊กแกบิน Ptychozoon kuhli
เก็กโค่ ที่แปลกที่สุดคือ flying gecko พบได้ในป่าดิบชื้นของมาเลเซีย โดยจะมีแผ่นหนังยื่นจากผนังท้องไปจรดผังผืดของเท้าทั้งสี่และหางทำให้สามารถ ร่อนได้ในอากาศเมื่อกระโดดจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปอีกต้นหนึ่ง ออกหากินตอนกลางคืน
ตุ๊กแกบินหางเฟิน
ตุ๊กแกบินหางเฟิน หา กินในเวลากลางคืน มีความว่องไวมาก ในประเทศไทย พบเฉพาะในป่าดงดิบชื้นในชายแดนภาคใต้ติดกับมาเลเซีย สถานภาพในปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่า พ.ศ. 2535 แต่กระนั้น ตุ๊กแกบินหางเฟิน ก็ยังเป็นที่นิยมของผู้ที่ชื่นชอบการเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานอีกด้วย
ตุ๊กแก บินหางเฟิน ยังมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น " ตุ๊กแกบินหางหยัก " เป็นต้น
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
ตุ๊กแกป่าอีสาน เป็นตุ๊กแกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gecko siamensis มีรูปร่าง ลักษณะคล้ายตุ๊กแกบ้าน (Gecko gecko) ทั่วไป แต่มีรูปร่างเล็กกว่า มีส่วนหัวที่ยาวกว่า มีลวดลายที่เป็นระเบียบกว่า พื้นลำตัวสีฟ้าหรือสีม่วง ในประเทศไทยพบเฉพาะในป่าภาคอีสานเท่านั้น
ออก หากินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ แมลงและสัตว์ต่าง ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า มีพฤติกรรมวางไข่บนต้นไม้ โดยจะวางไข่ได้เต็มที่ 2 ฟอง เท่านั้น
ปัจจุบัน เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งที่หายาก ใกล้สูญพันธุ์
ตุ๊กแกป่าอีสาน ยังมีชื่ออื่นอีก เช่น " ตุ๊กแกป่าไทย " หรือ " ตุ๊กแกสีม่วง " เป็นต้น
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
ระ หว่างปีพ.ศ.2547-2550 สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช คณะวิจัยได้เข้าศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ป่า ในดอยเชียงดาว จ.เชียงใหม่ โดยวิธีการเดินสำรวจ และการวางตาข่ายซึ่งผลการสำรวจทำให้พบสัตว์ชนิดใหม่ของโลก 2 ชนิดด้วยกัน คือ จิ้งเหลน และตุ๊กแกป่า โดยได้ตั้งชื่อเบื้องต้นว่า จิ้งเหลนห้วยเชียงดาว ในสกุล Tropidophorus sp. ตุ๊กแกป่าเชียงดาวใน สกุล Cyrtodactylus sp.
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
fat tail gecko
African fat tail gecko แยกหัว - หางออกไหม
สัตว์ เลื้อยคลานหลายพวก รวมถึงเก็กโค่ มีความสามารถในการพรางตัวได้ดีเพื่อนการหลบศัตรูและเพื่อล่าหาอาหาร สำหรับความเชื่อของไทยบ้านไหนมีตุ๊กแกมาอยู่ถือว่าดีแสดงว่าร่มเย็น และช่วยกำจัดแมลงสาบ ตะขาบ แมลงป่อง และหนูได้ดี แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังกลัวตุ๊กแกอยู่ดีด้วยรูปร่างน่าตาของตุ๊กแกบ้านที่ดูน่า กลัวปนสยองขวัญหน่อยๆ และเสียงร้องยามค่ำคืนที่เขย่าประสาทไม่แพ้กัน