การเดินทางเพื่อพิชิตขอดเขาเอเวอร์เรสต์
ไม่ว่าครั้งใด ต้องอาศัยผู้นำทางที่เป็นชาวเ ช อ ร์ ป า
เ ช อ ร์ ป า ค น บ น ห ลั ง ค า โ ล ก
นับแต่รอยเท้ารอยแรก ปรากฏบนยอดเขา ที่สูงที่สุดในโลก
เอเวอร์เรสต์ ไม่เคยเสื่อมมนต์ขลัง พลานุภาพ ที่แฝงเร้นอยู่
ณ จุดสูงที่สุดของโลกนี้เอง ได้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ ชนเผ่าเล็ก ๆ
ที่มีวิถีชีวิตอันสงบ ดำเนินไปตาม วัฏจักรของฤดูกาล
กลับกลายเป็น ชนเผ่าที่ ต้องติดต่อสัมพันธ์กับ คนภายนอก
จนได้ชื่อว่า เป็นชนเผ่า ที่มีชื่อเสียงที่สุด แห่งเทือกเขาหิมาลัย
ถึงวันนี้ แทบไม่มีนักปีนเขาคนใด ไม่รู้จักชาวเชอร์ปา
ผู้เป็นเสมือน เงา แห่งความสำเร็จ ของนักปีนเขา จากทั่วโลก
พวกเขาต่างยอมรับว่า ไม่มีชัยชนะ บนเอเวอร์เรสต์ครั้งใด
เกิดขึ้นได้โดย ปราศจาก ชาวเชอร์ปา
คุมจุง หมู่บ้านที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของชาวเชอร์ปา
.....กล่าวกันว่า บรรพบุรุษกลุ่มแรก ของชาวเชอร์ปา ที่มายังหุบเขาคุมบู เมื่อ ๖๐๐ กว่าปีก่อน ได้อพยพหนีภัยสงคราม และการสู้รบ
มาจาก ดินแดน ที่เรียกว่า Kham-Salmo-Gang
ไกลออกไป ๑,๒๐๐ กิโลเมตร ทางทิศตะวันออก ของทิเบต มาตามเส้นทาง Nang Pa La
ต่อมา ได้กลายเป็น เส้นทางการค้าขาย และไปมาหาสู่ ระหว่างคนสองฟากฝั่ง
พวกเขาจึงเรียกตัวเองว่า เชอร์ปา อันหมายถึง คนจากทิศตะวันออก
ในอดีตชาวเชอร์ปา เป็นพ่อค้าเร่ร่อน นำสินค้าพวก เมล็ดพืช และข้าวบาร์เลย์
จากพื้นราบ ไปแลกกับเกลือ ในแถบทิเบต
กระทั่ง ค.ศ. ๑๙๕๙ การไปมาหาสู่ ของคนสองฟากฝั่ง ก็สิ้นสุดสะดุดลง เมื่อจีนเข้ารุกราน
ยอดเขา Everest และธงสักการะขอพร
.....ชีวิตในดินแดนหลังคาโลกอันหนาวเย็น แร้นแค้น
ชีวิต ที่ดำเนินไป ในแต่ละวัน ฝากไว้กับ เทพเจ้าบนยอดเขา
ชาวเชอร์ปาเชื่อว่า ยอดเขา ทุกยอด ล้วนมีเทพเจ้า สิงสถิตอยู่
และเทพเจ้าประจำถิ่น ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ เทพเจ้าคุมบู ยัวลา
วันสุดท้ายของ เทศกาลดุมเจ ซึ่งเป็น เทศกาลยิ่งใหญ่ ประจำหมู่บ้านคุมจูง
จะมีพิธีกรรม เต้นหน้ากาก ที่ชาวเชอร์ปาเคารพสักการะ
เชื่อกันว่า พิธีกรรมนี้ เป็นการ ถวายสักการะ แด่เทพเจ้า แห่งหุบเขาคุมบู
และเพื่อเป็นการ ขับไล่ สิ่งชั่วร้าย ให้พ้นจากหมู่บ้าน
หมู่บ้าน Chyangba
.....เป็นเรื่องแปลก ที่ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ เป็นสถานที่อันดับท้าย ๆ ของโลก
ที่มนุษย์ เพิ่งสามารถ ไปฝากรอยเท้าไว้ได้
ทั้ง ๆ ที่ เป็นพื้นดิน ที่อยู่บนโลก
ความพยายาม ที่จะพิชิต ยอดเขาเอเวอร์เรสต์นั้น ต้องใช้เวลากว่า ๓๐ ปี จึงประสบผลสำเร็จ
ซึ่งที่จริง อาจต้องใช้เวลา นานกว่านั้น ถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือจาก ชาวเชอร์ปา
.....แน่นอนว่า ชนชาติ ที่ขึ้นไปบนจุดสูงสุดนั้น
บ่อยครั้งที่สุดก็คือ ชาวเชอร์ปา แห่งเนปาลนั้นเอง
และผู้ที่สังเวยชีวิต ให้แก่ยอดเขาแห่งนี้ ก็มีจำนวนถึง ๑๔๒ คน
ในจำนวนนี้ เป็นชาวเชอร์ปาถึง ๔๓ คน
สำหรับชาวเชอร์ปาเอง การเข้าร่วมกับ คณะนักไต่เขา ขึ้นสู่ยอดเขา เอเวอเรสต์
ก็ไม่ต่างอะไรกับ การเดินทางของ นักผจญภัย
ที่ไม่มีใครรู้ถึง ชะตากรรม ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า
แต่ชาวเชอร์ปา ส่วนใหญ่ ล้วนเคย ขึ้นไปพิชิต ยอดเขาเอเวอเรสต์ มาแล้วทั้งนั้น
บางคน เคยขึ้นไปมากถึง เจ็ดครั้ง
หนทางไปสู่ เอเวอเรสต์ สำหรับคนหนุ่มสาว ชาวเชอร์ปา
เป็นเสมือน ลายแทงไปสู่ขุมทรัพย์
การได้เข้าร่วม คณะสำรวจ ขึ้นพิชิตยอดเขา ของชาวเชอร์ปา
นับว่า เป็นโอกาสครั้งสำคัญ ในชีวิต ที่ยากจะปฏิเสธ
เพราะนอกจาก รายได้ จะมากพอ สำหรับการใช้จ่าย ไปตลอดปีแล้ว
หากพวกเขา กลับลงมาได้ อย่างปลอดภัย
ก็จะเป็น ประกาศนียบัตร ชั้นเยี่ยม ที่การันตี ความสามารถ ของพวกเขา
ต่อนักท่องเที่ยว เพื่อเรียกค่าแรง สำหรับการเดินทางเพิ่มขึ้นได้
ในอัตรา วันละกว่า ๑๐ ดอลลาร์
ชีวิตในยามปกติของชาวเชอร์ปา
ชื่อเสียง ของชาวเชอร์ปา เป็นที่ยอมรับมาก
ในหมู่นักท่องเที่ยว ที่มายัง หุบเขาคุมบู
ทำให้ชาวเขาจากเผ่าอื่น ๆ ที่ขึ้นมาหารายได้
จากการเป็น มัคคุเทศก์ ต้องแอบอ้างตัวว่า เป็นชาวเชอร์ปา
เพื่อให้นักท่องเที่ยว ไว้วางใจ ในความสามารถ
.....ปัจจุบันชาวเชอร์ปา กว่าร้อยละ ๗๐
มีอาชีพเกี่ยวกับ การท่องเที่ยว ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ไม่ว่าจะเป็น เจ้าของโรงแรม ที่มีมากกว่า ๘๐ แห่ง กระจายอยู่ทั่ว หุบเขา
เป็นมัคคุเทศก์ หรือเลี้ยงจามรี ไว้ให้นักท่องเที่ยว
เช่น ขนสัมภาระ
แทบไม่มี ชาวเชอร์ปาคนใด ยึดอาชีพ พ่อค้าเร่ร่อน นำของไปขาย ในทิเบต อีกต่อไปแล้ว
ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่า ค่าตอบแทน เทียบไม่ได้กับ ธุรกิจท่องเที่ยว
วิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวเชอร์ปา
.....ดูเหมือนว่า อิทธิพลจาก การท่องเที่ยว พร้อมจะแสดงอิทธิฤทธิ์ ไปทุกที่
ไม่เว้นแม้แต่ ดินแดน ที่เคยได้ชื่อว่า ตัดขาดจากโลกภายนอก
แม้การท่องเที่ยว จะทำให้ หุบเขาคุมบู เป็นดินแดนที่มั่งคั่ง แห่งหนึ่ง ของเนปาล
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ วัฒนธรรมดั้งเดิม ของชาวเชอร์ปา
ที่กำลังสูญหาย เพราะกระแส วัฒนธรรมภายนอก เข้ารุกราน
การรักษา ระบบนิเวศ ตามธรรมชาติ เป็นเรื่องจำเป็นอีกเรื่อง ของชาวเชอร์ปา
ดังนั้น การรักษาวัฒนธรรม ที่เก่าแก่ และธรรมชาติ
จึงเป็นสิ่งที่ ต้องควบคู่ไปกับ การท่องเที่ยว