เมื่อพูดถึงยานพาหนะเดินทางที่ใช้สำหรับงานบริการสำหรับหลายๆ คนคงจะนึกถึง รถบัส รถแท๊กซี่ หรือว่ารถไฟ ซึ่งสามารถพบเห็นกันได้ทั่วไปตามในประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่ในบางประเทศก็มียานพาหนะสำหรับการเดินทางที่เก๋ไก๋ไม่ซ้ำใคร จะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไรบ้างนั้นมาดูกันเลย
1. รถไฟรางเดี่ยวแบบห้อย (เยอรมนี)
รถไฟแบบห้อยในเมืองวุพเพอร์ทัลของเยอรมนี ให้บริการมาตั้งแต่ปี 2444 โมโนเรลวิ่งในระยะทาง 13.3 กม.และรับส่งผู้โดยสารวันละเกือบ 82,000 คน
2. สามล้อเครื่อง (อินเดีย)
สามล้อเครื่องเป็นยานพาหนะสำหรับลำเลียงผู้คนที่พบเห็นได้บ่อยในอินเดีย เพราะค่าโดยสารไม่แพงและเรียกหาได้ง่าย
3. รถไฟไม้ไผ่ (กัมพูชา)
เป็นรถไฟที่ทำจากไม้ไผ่และสามารถวิ่งได้เร็วที่สุด 40 กม.ต่อชั่วโมงเพราะใช้เครื่องยนต์ ถือเป็นการเดินทางรูปแบบหนึ่งที่ประหยัดที่สุดในกัมพูชา
4. รถบัสอูฐ (คิวบา)
รถบัสอูฐคือการนำรถบรรทุกกับรถบัสมาเชื่อมกัน ทำให้มีรูปร่างเหมือนอูฐ สามารถบรรทุกคนได้ถึง 300 คน น่าเสียดายที่ปัจจุบันปลดระวางไปแล้ว
5. รถลาก (ญี่ปุ่น)
รถลากเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของญี่ปุ่น และมีใช้ในประเทศมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19
6. บาร์โค เดอ โทโทรา (เปรู)
บาร์โค เดอ โทโทรา เป็นเรือที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำขึ้นมาจากต้นโทโทรา อันเป็นต้นไม้จำพวกอ้อหรือกกที่ปลูกในเปรู เรือประเภทนี้เป็นยานพาหนะที่ได้รับความนิยมในหมู่ชาวประมงท้องถิ่น รวมถึงนักท่องเที่ยว
7. สามล้อถีบ (เวียดนาม)
ส่วนใหญ่มีอยู่ในกรุงฮานอย และเป็นพาหนะที่สามารถนำพาคนท้องถิ่นรวมถึงนักท่องเที่ยวลัดเลาะผ่านการเจรจาอันวุ่นวายในเมืองหลวงได้
8. จี๊ปนีย์ (ฟิลิปปินส์)
ยานพาหนะคันใหญ่นี้เป็นเวอร์ชันดัดแปลงของรถจี๊ปทหารอเมริกันที่เป็นของขวัญหรือขายให้แก่คนท้องถิ่นหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จี๊ปนีย์ออกวาดลวดลายบนท้องถนนเมื่อทศวรรษ 50 จากนั้นก็กลายเป็นยานพาหนะที่แพร่หลายและเก็บค่าโดยสารถูกที่สุด
9. รถสะเทินน้ำสะเทินบก (เนเธอร์แลนด์)
รถสะเทินน้ำสะเทินบกเป็นยานพาหนะที่สามารถวิ่งได้ทั้งในน้ำและบนบก สามารถจุผู้โดยสารได้ 50 ที่นั่งและเป็นที่นิยมในเมืองรอตเตอร์ดัม
10. เรือหางยาว (ไทย)
บ้านเราอาจจะเห็นกันจนชินตา แต่สำหรับคนต่างชาติคิดว่าแปลกแน่นอนเลยล่ะครับสำหรับยานพาหนะที่เรียกว่าเรือหางยาว ซึ่งมีหน้าเชิด เสียงดัง และแล่นได้เร็ว มีบริการอยู่ตามลำคลองและแม่น้ำในกรุงเทพฯ ทั้งนักท่องเที่ยวและคนไทยต่างใช้บริการเรือหางยาวกันอย่างคับคั่ง
ที่มา: