เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2016 ที่ผ่านมามีการขุดพบ "ซากฟอสซิลจระเข้ดึกดำบรรพ์" ในทะเลทรายซาฮาร่า ประเทศตูนิเซีย เป็นจระเข้สายพันธุ์ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 130 ล้านปีก่อนมีชื่อว่า "Machimosaurus rex" ขนาดตัวยาวกว่า 9.75 เมตรและหนักกว่า 3,000 กิโลกรัม
ซึ่งใหญ่ว่าจระเข้ในปัจจุบันกว่า 2 เท่าเลยทีเดียวเพราะแค่หัวก็ใหญ่กว่า 1.5 เมตรแล้ว ทั้งปากยังเล็กและแคบกว่าอีกด้วยเพื่อเอื้อต่อการว่ายน้ำและใช้ชีวิตในน้ำนั่นเอง
นอกจากนี้มันยังอาศัยอยู่ในทะเลอีกด้วย โดยนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยโบโลญญาเปิดเผยว่า ในอดีตนั้นทะเลทรายซาฮาร่าน่าจะเคยเป็นพื้นที่ทะเลสาบน้ำเค็มที่อยู่ติดกับมหาสมุทรมาก่อน ก่อนที่จะแยกตัวออกเป็นทวีปยุโรปและแอฟริกา
ส่วนสาเหตุที่จระเข้สายพันธุ์ "Machimosaurus rex" อาศัยอยู่บริเวณนั้นอาจเป็นเพราะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเต่าและปลาขนาดใหญ่ซึ่งเป็นอาหารแหล่งอาหารของจระเข้สายพันธุ์นี้นี่เอง และคาดว่ามันน่าจะเป็นนักล่าอันดับต้นๆ ในห่วงโซ่อาหารเลยทีเดียว
โดยการค้นพบครั้งนี้ไม่ได้ทำให้ทราบถึงข้อมูลวิวัฒนาการของจระเข้ตั้งแต่อดีตยันปัจจุบันมากเท่าไหร่ เนื่องจากจระเข้เป็นสัตว์ที่แทบจะไม่มีวิวัฒนาการเลยตลอดช่วงเวลาหลายล้านปีที่ผ่านมา
แต่การค้นพบครั้งนี้กลับทำให้ทราบว่า จระเข้สายพันธุ์ "Machimosaurus rex" สามารถรอดชีวิตมาได้จากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อ 150 ปีก่อน ระหว่างยุคจูราสสิกสู่ยุคครีเทเชียส เนื่องจากซากฟอสซิลที่พบนั้นมีอายุเพียง 130 ล้านปีก่อน...
ไม่น่าเชื่อว่าทะเลทรายซาฮาร่าที่แห้งแล้งเคยเป็นมหาสมุทรมาก่อน ไม่อยากจะคิดเลยว่าถ้าจระเข้สายพันธุ์นี้ยังมีชีวิตอยู่และไม่ได้สูญพันธุ์ไป มนุษย์เราจะใช้ชีวิตอยู่บนโลกกันยังไงเนี่ย แค่จระเข้ในปัจจุบันที่มีขนาดตัวใหญ่ไม่มากยังกลัวกันจนไม่รู้จะกลัวยังไงแล้ว...? คิดแล้วก็รู้สึกโชคดีที่มันสูญพันธุ์ไปแล้ว
ข้อมูลและภาพประกอบจาก "theropoda.blogspot"