เหตุผลที่ตะเกียบในร้านอาหารญี่ปุ่นต้องติดกัน

เมื่อเราไปร้านอาหารญี่ปุ่น หลายร้านจะให้ตะเกียบไม้ที่ต้องจับฉีกแยกเป็นสองชิ้นก่อนถึงจะใช้ได้ ตะเกียบแบบนี้ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า วาริบาชิ (割り箸) แต่อะไรคือเหตุผลที่ตะเกียบแบบนี้ต้องติดกันล่ะ? ทำไมไม่ใช้ตะเกียบธรรมดาๆ ? ก่อนอื่นเรามารู้จักประวัติย่อสุดของวาริบาชิกันดีกว่า

 

วาริบาชิเป็นตะเกียบที่ชนชาวญี่ปุ่นคิดทำขึ้นมาใช้เอง โดยเริ่มใช้กันทั่วไปตามเมืองใหญ่ในศตวรรษที่ 18 ช่วงยุคกลางสมัยเอโดะ ซึ่งตอนนั้นยังมีชื่อว่า ฮิคิซากิบาชิ (引裂箸) โดยมีที่มาจากบริเวณเขตชิโมอิจิในจังหวัดนาระปัจจุบัน ซึ่งเริ่มทำตะเกียบนี้จากเศษไม้เหลือใช้จากการแปรรูปไม้สนญี่ปุ่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่าโยชิโนะซึกิ (吉野杉)

 

ปัจจุบันวาริบาชิทำจากไม้หลากหลายชนิด ว่ากันตามสถิติปี 2005 ในประเทศญี่ปุ่นนั้นวาริบาชิร้อยละ 98 นำเข้ามาจากนอกญี่ปุ่น และในจำนวนนั้นถึงร้อยละ 99 มาจากจีน!

 

วาริบาชิเป็นสิ่งที่กำเนิดจากจิตใจที่รู้สึกเสียดายทรัพยาการของชนชาวญี่ปุ่นโบราณ เหมือนเป็นผลจากการรีไซเคิลเศษไม้ กระนั้นก็ตาม ยุคนี้วาริบาชิถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นวาริบาชิเป็นตะเกียบแบบใช้แล้วทิ้ง และไม่ได้ทำมาจากเศษไม้อย่างเดียวอีกต่อไป วาริบาชิเลยมีภาพลักษณ์เล็กๆ ว่าเป็นความสูญเปล่าอย่างนึง ในญี่ปุ่นเลยมีการรณรงค์ให้ใช้ตะเกียบของตัวเองที่พกมาจากบ้านเวลาไปร้านอาหารญี่ปุ่น ภาพด้านล่างคือต้นไม้จำลองที่ทำขึ้นมาจาวาริบาชิที่ใช้แล้ว เป็นตัวอย่างของงานศิลปะที่สื่อถึงเรื่องนี้ครับ

 

แล้วเหตุผลที่ร้านอาหารญี่ปุ่นใช้วาริบาชินั้นหรือคืออะไร?

วาริบาชิต้องฉีกแยกก่อนจึงจะสามารถนำมาใช้ได้ การใช้วาริบาชิจึงหมายถึงการบอกที่แฝงความเอาใจใส่ลูกค้าว่า “เราได้เตรียมตะเกียบใหม่ที่ยังไม่มีใครใช้ไว้เพื่อคุณโดยเฉพาะ” นั่นเองครับ

ที่มา:http://anngle.org/th/j-culture/waribashinoriyuu.html

ที่มา : watashinomori, b-chive, ja.wikipedia, item.rakuten, yamaishishoten, blogs.yahoo, e-waribashi, adgang ผู้เขียน : Vachi

Credit: http://board.postjung.com/939805.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...