รถ1940 Indian Chief 1200

สิ้นสงคราม Indian กลับมาทำตลาดอีกครั้ง แบบพิมพ์จากก่อนสงครามได้รับการปัดฝุ่น Chief เจเนอเรชั่น ที่ 3 กับภาพลักษณ์ หน้าตะเกียบสปริงเกอร์ โช้คสไลด์ บังโคลนบาน มีชีวิตชีวาอีกครั้งในปี 1947 มันสวยสุด แถมยังวิ่งอีกต่างหาก โรงงานเคลมว่ามันสามารถทำความเร็วได้สูงถึง 85 ไมล์/ชม. (136 กม./ชม.) สำหรับรุ่นสแตนดาร์ด และทำความเร็วสูงขึ้นเป็น 100 ไมล์/ชม. (160 กม./ชม.) เมื่อทำการปรับแต่ง และปลดเปลื้องน้ำหนักโดยเฉพาะที่บังโคลนหน้า/หลัง...1950 Chief เจเนอเรชั่น ที่ 4 ได้รับการสังคายนา เครื่องยนต์ V-Twin 42 องศา ได้รับการขยายความจุขึ้นเป็น 80 คิวฯ (1,300 ซี.ซี.) ขุมพลัง 50 แรงม้าที่ 4,800 รอบ/นาที มาพร้อมระบบโช้คอัพเทเลสโคปิคที่นิ่มนวล เคียงข้างซับหลังที่ยังคงเป็นฟอร์แมทมาตรฐาน Chief 1300 คันใหม่ ยังได้สรรพนามต่อท้ายเก๋ๆ ว่า...โรดมาสเตอร์ (Roadmaster) เป็นของแถมพก ทว่า ที่น่าสังเกตจาก "จุดขาย" ที่ภูมิใจนักหนาในตอนต้น Indian กลับมาเลือกวางตำแหน่งของคันเกียร์ไว้ที่ด้าน "ซ้าย" ย้ายตำแหน่งคันเร่งน้ำมันสลับกับตัวเร่งไฟกลับมาทางด้าน "ขวา" (เหมือนอย่าง Harley-Davidson) เราไม่รู้เหตุผล...แต่...ก็พอทำนายได้ว่า Harley-Davidson คงแอบสะใจ...อย่างไรก็ตาม.. "ตัวเลข" ทางการตลาดยังไม่กระเตื้อง รถรุ่นใหม่นี้กลับไม่เดิน Indian ประสบปัญหา "การเงิน" อย่างหนักหน่วง...สุดท้าย...ก็ต้องถอนทัพ ปิดโรงงานธรรมเนียมเดิมๆ อย่างเป็นทางการ กิจการทั้งหมดถูกขายให้กับ Royal Enfield แบรนด์ผู้ผลิตจากอังกฤษในปลายปี 1953...นี่เอง !?!?! 1940 Indian Chief 1200 รถ INDIAN รุ่น/ ปี CHIEF/ 1940 เจ้าของ ป๋าเหน่ง ชลฯ เครื่องยนต์ SV. V-Twin 42 องศา 4 จังหวะ 1,213 ซี.ซี. (74 คิวฯ) 40 แรงม้าที่ 4,000 รอบ/ นาที กระบอกสูบ/ ช่วงชัก 82.5/ 112.5 มม. ระบบไฟ จานจ่าย / (แสงสว่างไดชาร์จ) ระบบเกียร์ 3 สปีด (มือ) ระบบคลัตช์ แห้ง (หลายแผ่น) ระบบขับเคลื่อน โซ่ ระบบโช้คอัพ (หน้า/หลัง) แหนบชั้น/ โช้คสไลด์ ระบบเบรก (หน้า/หลัง) ดรัมเบรก (ดุมเสี้ยว) บนล้อขนาด 16 นิ้ว น้ำหนักรวม 445 ปอนด์ (202 กก.) ความเร็วสูงสุด 105 mph. (169 กม./ ชม.) อ้างอิง :THE ENCYCLOPEDIA OF THE MOTORCYCLE / Hugo Willson : ON 2 WHEEL / Roland Brown : CHOLBURI CLASSIC CLUB / ป๋าเหน่ง ชลฯ Indian โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์แบรนด์แรกเริ่มที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 1901 ด้วยฐานการผลิตเครื่องยนต์ใน Springfield รัฐ Massachusetts "รถจักรยานยนต์คันแรก" เครื่องยนต์ 288 ซี.ซี. ก็ได้โลดแล่นบนท้องถนน...Indian พัฒนาและออกแบบรถจักรยายนต์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพื่อการใช้สอยในประเทศอย่างกว้างขวาง ด้วยพิมพ์เขียวโครงสร้างเฟรม "หลังแข็ง หน้าแหนบ" กับเครื่องยนต์บล็อกใหม่แบบ V-Twin ทำมุม 42 องศา ที่พัฒนาความจุขึ้นถึง 1,000 ซี.ซี. (61 คิวฯ) ก็เกิดขึ้นในปี 1907 นี่เอง มันแจ้งเกิด และกลายเป็นสัญลักษณ์ของ Indian ไปโดยปริยาย ในขณะที่คู่แข่งนาม Harley-Davidson ที่ดูเหมือนจะเป็นพระรองในตอนแรก แต่ด้วยรูปแบบการผลิต สมรรถนะ หน้าตา เครื่องยนต์ ที่ใกล้เคียงกัน "ทั้งคู่" กำลังดวลหมัดกันสนุกมือ โดยหวังให้ "ผู้บริโภค" ในท้องตลาดเป็นผู้ตัดสิน...ว่า...จะจบลงที่ความจงรักภักดีกับแบรนด์ผู้ผลิตใด ด้วยการวาง "จุดขาย" ที่ต่างออกไป Indian เลือกใช้ระบบการทำงานสั่งผ่านชุดเกียร์ (มือ) ที่วางไว้ด้าน "ขวา" ของตัวรถ คันเร่งน้ำมันในปลอกมือไว้ทางด้าน "ซ้าย" ส่วนกลไกปรับตั้งไฟถูกวางไว้ทางด้านขวา (Harley-Davidson วางไว้ในตำแหน่งตรงกันข้าม) "ความต่างที่ตั้งใจ" นี้ ลึกๆ แล้ว มันเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี...ยาก...ที่ใครจะลดราวาศอก Indian เลือกแนวทางของตัวเองและมุ่งมั่นที่จะทำตลาดในแนวทางที่ถนัด ภายใต้งานออกแบบ วิศวกรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง...ชื่อของ Scout/Chief เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1920 จากฝีมือนักออกแบบและสร้างสรรค์นาม Charles B.Frankin วิศวกรสายเลือด "ไอริช" ?Scout เลือกใช้เครื่องยนต์ขนาดกลาง (500-750 ซี.ซี.) ในขณะที่ Chief เลือกใช้ขุมพลังที่มากกว่า รถโมเดลใหม่ของปี 1922 Chief ติดตั้งขุมพลังขนาด 61 คิวฯ (1,000 ซี.ซี.) และขยายความจุนั้นอีกครั้งเป็น 74 คิวฯ (1,200 ซี.ซี.) ในปี 1928 หลังจากนั้น ไม่มีใครเชื่อว่า Indian จะขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างหนัก กิจการส่วนใหญ่ถูกขายให้กับผู้ถือหุ้นรายใหม่นาม E Paul DuPont ที่เข้ามากุมบังเหียน พร้อมกับเผยรถสีสันหลากหลายในท้องตลาดที่มีให้เลือกสรรมากถึง 24 สี และเริ่มมีการใช้โลโก้แบรนด์การค้ารูป "หัวหน้าเผ่า" ในปี 1934 นี่เอง ซึ่ง Indian ภูมิอก ภูมิใจ ที่จะติดตั้งไว้ที่บริเวณด้านหน้าของบังโคลน และแก้มซ้าย/ขวา ของถังน้ำมัน ซึ่งถือเป็นรถเจเนอเรชั่น ที่ 2 ที่ยังคงยึดโครงสร้างแบบ หน้าแหนบ หลังแข็ง

Credit: AJS
#รถ #1940 #Indian #Chief #1200
havi
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
3 มิ.ย. 53 เวลา 06:16 6,445 4 90
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...