วัน สุดท้ายของปอมเปอี


thairath

ใน อดีต ปอมเปอี (POMPEII) เป็นเมืองชายทะเลอันงดงาม ที่อยู่ริมอ่าวเนเปิลส์ทางตอนกลางของอิตาลี แต่แล้วในปี ค.ศ.79 ภูเขาไฟวีซูเวียส (VESUVIUS) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมือง ได้ระเบิดพ่นลาวาอันร้อนแรง รวมทั้งไอก๊าซพิษ และขี้เถ้าลงมาถล่มท่วมทับปอมเปอี ฝังร่างชาวเมืองนับพันคนไว้ทั้งเป็น เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่มาเยือนโดยไม่รู้ตัว 


สาเหตุการระเบิดมหากาฬของวีซูเวียส เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก โดยเปลือกโลกแอฟริกาทางตอนใต้ ได้เคลื่อนขึ้นมาทางเหนือและชนกับเปลือกโลกยูเรเชียน (ยุโรปกับเอเชีย) เมื่อแผ่นหินบดอัดกัน บางส่วนก็จมลงสู่เบื้องล่าง ลึกลงไป...ลึกลงไปสู่ใจกลางโลกที่ยังร้อนจัด จนกระทั่งหลอม

ละลาย กลายเป็นลาวาที่เบากว่า แล้วก็พุ่งขึ้นมายังปากปล่อง ก่อความพินาศไปทุกสารทิศ ปอมเปอีที่รุ่งเรืองมายาวนานกว่า 800 ปี ต้องจมหายไปภายใต้ขี้เถ้าที่ตกลงมาทับถมสูงถึง 10 เมตร ภายในชั่วเวลา 2 วัน รายละเอียดของการระเบิดและความพินาศครั้งนี้ ได้มีผู้ที่เห็นเหตุการณ์คือ ไพล นีน้อย (PLINY THE YOUNGER) เขาได้บันทึกไว้และเชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านคงได้เคยผ่านตาแล้ว จึงขอข้ามไปถึงเรื่องราวการขุดค้นเมืองนี้ในกาลต่อมา ซึ่งได้พบกับสิ่งที่น่ารู้น่าสนใจหลายประการ ยิ่งกว่าการขุดค้นเมืองโบราณใดๆ ของโลก



ทั้ง นี้ เพราะเมืองโบราณทั่วไปนั้น ผู้คนได้ทิ้งเมืองและนำข้าวของมีค่าต่างๆ อพยพติดตัวไปด้วย ไม่เหลือร่องรอยของความเป็นอยู่ให้ได้ศึกษาเท่าใดนัก แต่ สำหรับปอมเปอีแล้ว ภัยนี้จู่โจมมาถึงตัวทันที ไม่มีเวลาเก็บสมบัติทัน แม้แต่ตัวเองก็ยังเสียชีวิตในลักษณะอาการที่คงค้างอยู่ในขณะนั้น ทำให้นักโบราณคดีมีโอกาสศึกษาการดำรงชีพของชาวเมืองปอมเปอีได้อย่างสมบูรณ์


ความ จริงแล้ว การขุดค้นปอมเปอีมีขึ้นหลัง จากเมืองถูกภูเขาไฟถล่มไม่กี่วัน โดยพลเมืองปอมเปอีเอง นั่นคือผู้ที่หนีเอาชีพรอดไปได้ ได้หวนกลับคืนมาเพื่อสำรวจ ตรวจดูทรัพย์สมบัติของตน แต่อะไรจะเหลือให้เห็นเล่า ไม่ว่า ถนน วัดวาอาราม โรงละคร ตลอดจนที่อยู่ อาศัยทั้งหมด ล้วนจมอยู่ใต้ขี้เถ้าหนา 10 เมตรดังกล่าว บางคนพยายามขุดอุโมงค์ทะลุขี้เถ้า ที่ทับถมเพื่อเข้าไปสู่บ้านของตน เพราะอีตอนรีบหนีอย่างฉุกละหุกนั้น ได้ทิ้งข้าวของมีค่าไว้มากมาย แต่ความยากลำบากในการขุดค้นทำให้พวกเขาต้องท้อถอยยอมแพ้ หากทว่าด้วยความไม่อยากอพยพไปอยู่ที่อื่น

พวกเขาจึงใช้แผ่นดินที่อุดมด้วยปุ๋ยขี้เถ้า นั้นทำฟาร์มขนาดใหญ่โต หรือทำไร่องุ่นเสียเลย พอหลายชั่วอายุคนผ่านไป คราวนี้ทุกคนจึงลืมสนิทจริงๆ ว่าพื้นดินเบื้องล่างนั้นเดิมเคยเป็นเมืองอันรุ่งเรืองมาก่อน



กาลเวลาล่วงเลย มากว่า 1,600 ปี คือใน ค.ศ. 1754 ชาวไร่คนหนึ่งได้ขุดหลุมในที่ดินของตน แล้วพบรูปสลักหินอ่อนหลายชิ้น การค้นพบนี้ทำให้ ชาร์ลส์ที่ 3 กษัตริย์แห่งเนเปิลส์สนพระทัย เพราะพระองค์โปรดการตกแต่งวังด้วยรูปประติมากรรมสไตล์โรมัน จึงมีบัญชาให้ขุดหาต่อไปในแถบบริเวณวีซูเวียส

และในช่วงเวลาเดียวกันนั้น นักโบราณคดีบางคนก็ได้เดินทางมาศึกษาค้นคว้าในปอมเปอี แรกนั้น พวกเขาคิดว่าสิ่งที่ค้นพบ เป็นเพียงซากอาคารโบราณธรรมดา แต่แล้วใน ค.ศ. 1763 ก็ได้พบจารึกแผ่นหนึ่ง ซึ่งระบุว่าอาคารที่ฝังจมอยู่นั้น ที่แท้เป็นส่วนหนึ่งของปอมเปอี นครที่หายสาบสูญไปช้านาน จากนั้นจึงได้มีการขุดค้นกันขนานใหญ่ ตลอดมาจนถึงเดี๋ยวนี้


สิ่งซึ่งถือกันว่าน่าสนใจที่สุด จากการค้นพบ ก็คือซากมนุษย์ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นชาวนครปอมเปอี โดยใน ค.ศ. 1860 เป็นต้นมา กุยเซปเป้ ฟิโอเรลลิ นักโบราณคดีอิตาเลียนได้นำเอาวิธีจำลองร่างต่างๆ ด้วยการใช้ปูนปลาสเตอร์เหลวเทลงไปในโพรงดินที่ว่างเปล่า ซึ่งคาดว่าเป็นร่างมนุษย์ที่ถูกฝัง แต่วันเวลาที่ผ่านไป ทำให้เนื้อหนังสูญสลายไปหมด เหลือเพียงกระดูก และโพรงอากาศที่มีลักษณะมนุษย์ในอิริยาบถต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจากเถ้าภูเขาไฟนั้นอัดแน่นจนคงรูปโพรงอยู่ได้นั่นเอง สิ่งที่ได้ออกมานั้นน่าอัศจรรย์ใจยิ่ง  เพราะเมื่อปูนปลาสเตอร์แห้ง แกะออกมาแล้วปัดเป่าเอาขี้ดินกับเศษใบไม้ใบหญ้าที่ติดอยู่ออกไป


สิ่ง ที่เห็นก็คือรูปร่างของมนุษย์ ในสภาพเกือบสมบูรณ์ที่สุด นอกจากนี้ สิ่งของสมบัติที่พบอยู่ข้างกายของเขานั้น ก็ยังช่วยบอกฐานะของแต่ละร่างด้วย เช่น โครงกระดูกที่มีตุ้มหู หรือสร้อยทองคำ ก็ย่อมชี้ชัดว่าเขาผู้นั้นอยู่ในตระกูลมั่งคั่ง ส่วนทาสนั้นก็ง่ายที่จะระบุ โดยเห็นได้จากโซ่ที่ล่ามข้อมือไว้นั่นเอง ในยามที่รู้ว่าภัยมาถึงตัว ชาวปอมเปอีทุกคนก็จะฉวย คว้าเอาสิ่งมีค่าที่สุดของตนติดตัวไปด้วย บางซากถึงกับมีลูกกุญแจบ้านอยู่ในมือ


นอกจากนี้ ซากที่พบยังได้บอกอีกว่าในชั่วโมง แห่งวิกฤตินั้นพวกเขากำลังทำอะไร และตายอย่างไร หลายคนเสียชีวิตอยู่ภายในบ้าน เนื่องจากเมื่อภูเขาไฟระเบิด และพ่นเถ้าถ่านโปรยปราย ลงมาราวห่าฝนนั้น พวกเขาคิดว่า การหลบอยู่ภายในบ้านจะปลอดภัยที่สุด แต่ เป็นความคิดที่ผิด เพราะขี้เถ้านั้นมีปริมาณมหาศาล ท่วมคลุมเมืองถึง 10 เมตร เมื่อทับถมอยู่บนหลังคา อะไรจะทนทานอยู่ได้ หลังคาจึงหักพังลงมาทับพวกเขาเหล่านั้นเสียชีวิต

หรือลักษณะของซาก ศพหลายรายที่อยู่ในอาการใช้มือปิดปากปิดจมูก นั่นก็แสดงว่าพวกเขาต้องเผชิญกับก๊าซพิษร้อนๆ ผสมขี้เถ้า เมื่อ หายใจเข้าไปก็เกิดการสำลัก และสิ้นใจก่อนจะถูกขี้เถ้าทับถมร่าง


การขุดค้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1760 ทำให้สามารถเปิดสิ่งที่ทับถมออก และเผยให้เห็นสภาพเมืองทั้งถนนหนทางและอาคารต่างๆ ของปอมเปอี ทุกวันนี้ ผู้ไปเยี่ยมชมสามารถเดินท่องไปตามถนนที่ชาวปอมเปอีเคยใช้สัญจรไปมา ได้เห็นร้านค้าที่พวกเขาเคยช็อปปิ้ง ได้เห็นบ้านหรือคฤหาสน์ที่พวกเขาเคยอยู่อาศัย อาทิ ฟอน เฮาส์ ที่โด่งดังในอดีต วิหารของจอมเทพ จูปิเตอร์ ลานจัตุรัสฟอรัม ซึ่งเป็นที่เสวนาสังสันทน์ของชาวนคร ถนนสายหลัก วิอา คอนโซลาเร่ (ถนนกงสุล) ซึ่งคุณสามารถนั่งรถม้าทอดอารมณ์ชมผู้คนที่เดินขวักไขว่ หรืออาจหยุดพักนั่งดื่มและกินตามบาร์ที่มีเรียงรายอยู่สองฝั่งถนนได้


คฤหาสน์ บางหลัง เช่น เวสตัลส์ (Vestals = นักบวชสตรีแห่งเทพีเวสตา) ใหญ่โตโอฬารและคงสภาพสมบูรณ์ มีพร้อมทั้งประตูใหญ่ทางเข้า ห้องโถงกลาง ห้องนอน ห้องอาหาร สวน สระ ว่ายน้ำ น้ำพุ ท่อระบาย แม้กระทั่งห้องสุขา นอก จากนี้ ก็ยังมีเครื่อง เรือนเครื่องใช้ในครั้ง 2,000 ปีก่อนโน้นครบครัน ไม่ว่าเหยือกน้ำ ถังเก็บไวน์ ถ้วยชามเซรามิก โมเสกสีสันวิจิตร เหรียญบรอนซ์ โบราณ ผนังปูนที่เขียนภาพงดงาม ฯลฯ

ซากชาวนครปอมเป อีในลักษณะอิริยาบถ ที่คงค้างอยู่ สภาพเมืองที่มิใช่เหลือแต่เสาโด่เด่ ตลอดจนสรรพสิ่งของเครื่องใช้ที่ครบสมบูรณ์ เหล่านี้ล้วนหาไม่ได้ในเมืองโบราณอื่นๆ ที่เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ยกเว้นที่ปอมเปอีและอาณาบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น

Credit: http://www.artsmen.net/
3 มิ.ย. 53 เวลา 03:02 2,686 4 48
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...