6 วิธีการลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม ที่สาวทุกคนต้องอ่าน

 

โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตนั้น (Lifestyle disease) เป็นผลมาจากการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม โรคเหล่านี้เป็นโรคที่เกิดจากการมีนิสัยและพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพที่กระทำในชีวิตประจำวัน โรคเหล่านี้ก็เช่น โรคปอดที่เกิดจากการสูบบุหรี่ โรคตับที่เกิดจากการดื่มสุรา

แต่โรคมะเร็งนั้นไม่ใช่โรคในกลุ่ม โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิต (Lifestyle disease) เสียทีเดียว แต่มะเร็งบางอย่าง การใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งนั้นได้ หนึ่งในมะเร็งที่ว่านั้นก็คือ มะเร็งเต้านม

มีพฤติกรรมบางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้ และในทางกลับกันการเลิกพฤติกรรมที่ไม่ดีนั้นๆ ก็ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้ด้วย

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้ คือ

1. การไม่สูบบุหรี่

การสูบบุหรี่นอกจากจะสิ้นเปลืองเงินทองแล้ว ยังไม่ดีต่อสุขภาพในด้านต่างๆ ภายในบุหรี่ 1 มวนมีสารเคมีอยู่ถึง 7,000 กว่าชนิด และพบว่า กว่า 250 ชนิดมีผลเสียต่อสุขภาพของเรา และในบรรดาสารเคมี 250 กว่าชนิดที่เป็นอันตรายกับสุขภาพนี้ มีถึง 69 ชนิดที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ เช่นสารหนู (Arsenic), นิเกิล (Nickel) เป็นต้น ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าบุหรี่เป็นสาเหตุของมะเร็งปอด, หลอดอาหาร, ช่องปาก, ช่องคอ, ไต, กระเพาะปัสสาวะ, ตับอ่อน, กระเพาะอาหาร และมะเร็งปากมดลูก และนักวิจัยจากสมาคมมะเร็งของอเมริกา (American Cancer Society) พบว่าบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่เริ่มสูบ ตั้งแต่ก่อนจะมีบุตรคนแรก และเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า “บุหรี่ ก็คือมะเร็ง” นั่นเอง

2. การระวังตนเองไม่ให้อ้วน

คือพยายามคุมน้ำหนักของตนเองให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ความอ้วนนอกจากจะทำให้เราหาเสื้อผ้าใส่ยากแล้ว ,ทำกิจกรรมต่างๆ เช่นเดินขึ้นบันได ลำบากแล้ว ยังมีผลเสียต่อสุขภาพของเราด้วย เพราะทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆมากขึ้น เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ภาวะความอ้วนยังเพิ่มความเสี่ยงของคุณ ต่อการเป็นมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคุณยังอ้วนหลังช่วงหมดเมนส์ ที่เป็นอย่างนี้เชื่อว่าเกิดจากการที่ คนยิ่งอ้วนยิ่งมีฮอโมนส์เอสโตรเจนสูง เพราะหลังหมดเมนส์ ฮอโมนส์เอสโตรเจนไม่ได้ผลิตจากรังไข่ แต่มีแหล่งผลิดที่มากอยู่ในเนื้อเยื่อไขมันทั่วร่างกาย แต่ข่าวดีก็คือการลดน้ำหนักลงจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้

3. การออกกำลังกาย

breastcancerการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะช่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว จากการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ยังพบว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้ถึง 10-20% สมาคมมะเร็งของอเมริกา แนะนำให้ออกกำลังกายแบบหนักปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือออกกำลังแบบหนักหน่วงอย่างน้อย 75 นาทีต่อสัปดาห์ หรือง่ายๆ คือควรเดินอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมงทุกวัน

4. งดการดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมของผู้หญิง ยิ่งดื่มมากต่อวันความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมยิ่งสูงขึ้น มากกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มเป็นเงาตามตัว

5. พยายามใช้ฮอโมนส์ทดแทนหลังช่วงหมดเมนส์เมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น

เพราะจากการวิจัยพบว่าผู้หญิงที่กินฮอโมนส์ทดแทน HRT(Hormone Replacement Therapy)หลังภาวะหมดเมนส์เพื่อช่วยลดอาการวัยทอง เช่นอาการเหงื่อแตกกลางคืน อาการร้อนวูบๆวาบๆตามใบหน้า อาการใจสั่น หรืออาการอื่นๆของภาวะการหมดเมนส์ ซึ่งฮอโมนส์เหล่านี้ประกอบไปด้วยฮอโมนส์ Estrogen และ Progestin จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่ข่าวดีก็คือเมื่อคุณหยุดการใช้ HRT (Hormone Replacement Therapy) ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมของคุณ จะลดลงเท่ากับความเสี่ยงของผู้หญิงทั่วไปภายใน 5 ปี แต่อย่างไรก็ตามถ้าคุณอยู่ในภาวะที่มีอาการทางวัยทอง (Menopausal syndrome) ควรพิจารณาการรักษาภาวะนี้ด้วยวิธีอื่นๆ ที่ไม่ใช้ฮอโมนส์ก่อน ถ้าจำเป็นจริงๆ ที่ต้องใช้ ฮอโมนส์ทดแทน HRT (Hormone Replacement Therapy) ควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ในระยะเวลาอันสั้น และด้วยฮอโมนส์ที่ขนาดต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

6. ลดการสัมผัสกับสารพิษ หรือรังสีที่มีอันตราย

เช่น รังสีเอกซ์ รังสีแกมม่า สารกัมมันตภาพรังสี ยาฆ่าแมลง เพราะสิ่งเหล่านี้ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม ถ้าจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องสัมผัส ควรสัมผัสสิ่งเหล่านี้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เหล่านี้คือวิธีการง่ายๆ ในการลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้ในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม การที่เราไม่มีความเสี่ยงต่างๆ ดังที่กล่าวมานี้แล้วนั้น จะหมายความว่าเราจะไม่เป็นมะเร็งเต้านมเลย 100% สิ่งเหล่านี้เป็นเพี่ยงการลดความเสี่ยงเท่านั้น เพราะสาเหตุของมะเร็งเต้านมนั้นยังมีสาเหตุอื่นอีก เช่น กรรมพันธุ์ เป็นต้น

ข้อมูลดีๆจาก คุณหมอประดิษฐ์

ที่มา: http://healthfood.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=91&id=25840

Credit: http://board.postjung.com/937256.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...