โดย Craig Franklin ศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มหาวิทยาลัยควีนแลนด์ ได้จัดทำโครงการติดตามการเดินทางของ "จระเข้" ด้วยการนำ GPS ติดไว้ที่จระเข้น้ำเค็มจำนวนกว่า 130 ตัว แล้วปล่อยพวกมันออกจากเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่า จากนั้นก็เฝ้าติดตามการเดินทางของพวกมันผ่าน GPS มาตั้งแต่ปี 2008
ซึ่งศาสตราจารย์ Franklin ได้ตั้งสมมติฐานในการศึกษาไว้ว่า "สิ่งมีชีวิตจะมุ่งหน้าเดินทางขึ้นทิศเหนือ หากไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ไหน" แต่แล้วเขาก็พบว่ามี "จระเข้" ตัวหนึ่งที่ถูกปล่อยลงทะเลในแหลม Cape York ทำให้สมมติฐานของเขาต้องสั่นคลอน เมื่อมันว่ายทวนน้ำลงไปทางทิศใต้เพื่อเดินทางกลับบ้านเก่าในเขตแม่น้ำเวนล็อก เป็นระยะทางไกลกว่า 400 กิโลเมตร ในเวลาน้อยกว่า 20 วันเท่านั้น
ทำให้ศาสตราจารย์ Franklin รู้ว่าสมมติฐานของเขานั้นยังไม่ชัดเจน แต่การทดลองนี้ก็ช่วยให้มนุษย์เรียนรู้สิ่งต่างๆ เกี่ยวกับจระเข้และสัตว์ชนิดอื่นได้มาก โดยเฉพาะในยุคที่โลกร้อนจนส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา...
ข้อมูลและภาพประกอบจาก "dailymail"