'จีน' ค้นพบก๊าซธรรมชาติและปิโตรเลียม เป็นคนแรก!

https://www.yaklai.com/lifestyle

'จีน' ค้นพบก๊าซธรรมชาติและปิโตรเลียม เป็นคนแรก!

 

ภาพนี้ถ่ายโดย ซีซิล บีตัน ในมณฑลซื่อชวน ด้านซ้ายเป็นหัวครอบบ่อ มีปั้นจั่นหลายตัวอยู่ด้านหลังทางฉากหน้าเป็นท่อไม้ไผ่ที่ใช้ลำเลียงก๊าซธรรมชาติ ไปไกลหลายไมล์ข้ามเนินและหุบเขาไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งเผาก๊าซเพื่อให้ความร้อนและแสงสว่าง

น้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติใช้เป็นเชื้อเพลิงในประเทศจีนมาหลายศตวรรษก่อนหน้าตะวันตก และด้วยการประมาณอย่างเคร่งครัด อาจจะกล่าวได้ว่า ชาวจีนเผาก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นเชื้อเพลิงและแสงสว่างมาตั้งแต่ 400 ปีก่อนคริสตกาล นอกจากนี้เรายังทราบอีกว่ามันเกิดขึ้นก่อนที่ชาวฮั่นจะเข้าปกครองชนเผ่าพื้นเมืองในมณฑลซื่อชวนทางตอนใต้ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 300 ปีก่อนคริสตกาล มีการขุดเจาะหลุมลึกหาน้ำเค็มใต้ดินและบางครั้งยังได้ก๊าซธรรมชาติขึ้นมาด้วย ซึ่งบ่อก๊าซมีเทนเหล่านี้มักจะอยู่ใต้ชั้นน้ำเค็มใต้ดิน บางครั้งกลับได้แต่ก๊าซแต่ไม่ได้น้ำเค็มกลับมา โดยชาวจีนเรียกหลุมนี้ว่า ‘บ่อไฟ’ โดยบ่อน้ำเค็มเหล่านี้มีการขุดเจาะอย่างเป็นระบบมากว่า 100 ปีก่อนคริสตกาลเป็นอย่างช้า

ตำราเก่าแก่ได้บรรยายรายละเอียดการจัดเตรียมอันซับซ้อน ซึ่งในที่สุดก็นำไปใช้ในการควบคุมการเผาไหม้ก๊าซธรรมชาติ ในตอนแรกก๊าซจาก ‘บ่อไฟ’ ถูกลำเลียงไปยังห้องไม้ขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้ดินลึกประมาณ 10 ฟุตตลอดเดือนที่ทำการขุดเจาะหลุม ห้องนี้จะมีลักษณะเป็นทรงกรวย ซึ่งจะมีการลำเลียงอากาศเข้าไปผ่านท่อใต้ดิน ดังนั้น ห้องนี้จึงทำหน้าที่เหมือนคาร์บูเรเตอร์ขนาดใหญ่ ลำเลียงอากาศผ่านแผงท่อส่งไปยังห้องเก็บก๊าซทรงกรวยขนาดเล็กหลายห้องที่ตั้งอยู่บนผิวดิน โดยที่ห้องเหล่านี้ก็รับอากาศเข้ามาเช่นกันโดยผ่านท่อและทางเข้าหลายที่ที่สามารถเปิดและปิดได้ ดังนั้น การปรับ ‘เครื่องยนต์’ อย่างละเอียดจึงเป็นไปได้ด้วยการปรับแต่งส่วนผสมของอากาศและเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่อง และหากความดันอ่อนลง ก๊าซจะไหลกลับและทำให้เกิดระเบิดได้ ดังนั้น ห้องเก็บหลักจะเปิดกว้างขึ้นกว่าเดิม แต่เปลวไฟยังสามารถเกิดขึ้นได้หากส่วนผสมมีความเข้มข้นสูงเกินไป จึงมีระบบปล่อยก๊าซเพื่อให้สามารถปล่อยก๊าซส่วนเกินออกสู่ภายนอกได้ ซึ่งจะเรียกว่า ‘ท่อเสียดฟ้า’

 

ภาพนี้ถ่ายเมื่อประมาณปี 1900 โดยเอิร์นส์ท โบเอชแมนน์ แสดงปั้นจั่นขุดเจาะในทุ่งขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในมณฑลซื่อชวน

การใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันปิโตรเรลียมภายในครัวเรือน ดูเหมือนจะจำกัดอยู่เฉพาะการใช้งานแบบพื้น ๆ เช่น ตะเกียงน้ำมัน และคบเพลิงน้ำมัน แต่ก็มีการใช้น้ำมันในระดับใหญ่ คือการย่อยหินให้แตกด้วยไฟ เนื่องจากน้ำมันสามารถติดไฟในน้ำได้ หินขนาดใหญ่ตามท่าเทียบเรือ บางครั้งถูกทำให้แตกด้วยการรดน้ำมันติดไฟลงไป

นอกจากนี้นักวิชาการสมัยใหม่พบกระบอกไม้ไผ่ที่ใช้เป็น ‘ถังก๊าซบิวเทน’ ยังมีใช้อยู่ตามชนบทห่างไกลของจีน แต่ไม่มีภาพขณะกำลังใช้งานให้เห็น ถุงหนังก็ใช้ในการบรรจุก๊าซเช่นกัน โดยบันทึกในศตวรรษที่ 17 หรือ 18 ที่หลงเหลืออยู่ในอังขรานุกรมภูมิศาสตร์ซื่อชวน ชื่อว่า Historcal Geography of Fu-shun in Szechuan

ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือต้นกำเนิด 100 สิ่งแรกของโลก

Credit: หยักไหล่ดอดคอม
22 ธ.ค. 58 เวลา 04:18 1,154
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...