นักสู้สมัยโรมันดื่มเครื่องดื่มให้พลังงานผสมขี้เถ้า

 

จากการศึกษาทางมนุษยวิทยาของกระดูกจากเหล่านักสู้เหล่านั้นพบว่า แกลดิแอเตอร์ในสมัยโรมันดื่มเครื่องดื่มให้พลังงานจากน้ำส้มสายชูและขี้เถ้าของพืช

นักวิจัยชาวสวิช และออสเตรียทำการตรวจสอบกระดูกจากนักสู้ยุคโรมันในศตวรรษที่สองซึ่งถูกค้นพบเมื่อปี 1993 ในเมืองโรมันโบราน Ephesos ประเทศตุรกี ในเวลานั้น Ephesos เป็นเมืองหลวงของโรมันแห่งเอเชียซึ่งมีผู้คนอาศัยอยู่มากกว่า 200,000 คน

มันปรากฏว่า การกินของนักสู้ในสนามต่อสู้นั้นมีความแตกต่างอย่างมากในการกินโปรตีนปริมาณสูงจากนักกีฬาในยุคปัจจุบัน จริงๆแล้ว อาหารหลักที่กินโดยนักสู้เหล่านั้นคือแป้งสาลี ข้าวบาร์เลย์ และถั่ว

“ข้อความเกี่ยวกับโรมันสมัยใหม่ได้กล่าวว่า นักสู้แกลดิเอเตอร์นั้นจะกินอาหารชนิดพิเศษที่เรียกว่า 'gladiatoriam saginam' ซึ่งประกอบไปด้วยข้าวบาร์เลย์และถั่ว การกินข้าวบาร์เลย์ของพวกเขานั้นนำไปสู่ชื่อเล่นอันเสื่อมเสียคือ hordearii (แปลว่า ผู้กินบาร์เลย์)” Fabian Kanz จาก Medical University of Vienna และทีมวิจัยของเขาได้เขียนไว้ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ PLOS ONE

ทีมวิจัยของ Kanz ได้วิเคราะห์กระดูกที่ยังคงเหลืออยู่ 53 ชิ้น ประกอบด้วย 22 ชิ้นจากเหล่านักสู้กว่า 1,800 ปีก่อน

ด้วยการใช้สเปกโตรสโคปี นักวิจัยสามารถวัดระดับของคาร์บอน ไนโตรเจน และซัลเฟอร์ในคอลลาเจนของกระดูกได้ รวมไปถึงอัตราส่วนของ strontium (สารเคมีที่พบได้ในเถ้า) ต่อแคลเซียม

การทดสอบเปิดเผยว่า กระดูกแต่ละอันนั้น ทั้งของนักสู้และไม่ใช่ของนักสู้ จะกินพืชเป็นหลัก โดยหลักๆ ประกอบไปด้วย อาหารที่ปราศจากเนื้อและพวกถั่ว

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังพบความแตกต่างที่สำคัญระหว่างนักสู้และผู้คนปกติอีกด้วย

จำนวนของ strontium ที่วัดได้จากกระดูกของนักสู้นั้น เปิดเผยว่า นักสู้ในสังเวียนจะมีการกินแร่ธาตุปริมาณสูงจากแหล่งแคลเซียมที่มี strontium สูง นั่นหมายความว่า เครื่องดื่มที่มีขี้เถ้าของพืชที่ถูกกล่าวถึงในโบราณนั้นมีความเป็นได้สูงที่ใช้กันจริง

“เครื่องดื่มขี้เถ้าเหล่านี้ถูกให้หลังจากการต่อสู้และอาจจะให้หลังการฝึกอีกด้วยเพื่อใช้ในการรักษาอาการบาดเจ็บของร่างกาย” นักวิจัยเขียน

“สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันกับที่พวกเราทำในวันนี้คือ พวกเขากินแมกนิเซียมและแคลเซียมสำหรับกิจกรรมที่ต้องใช้แรงทางกายภาพมากๆ” Fabian Kanz กล่าว

ที่มา: http://www.vcharkarn.com/vnews/501114

ที่มา: www.abc.net.au/science/articles/2014/10/28/4116124.htm

Credit: http://board.postjung.com/934596.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...