5 ดาวเคราะห์ที่มีสภาพคล้ายโลกมากที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยค้นพบมา

นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นหาและศึกษาดาวดวงใหม่ๆ อยู่เสมอ รวมถึงค้นหาดาวดวงใหม่ที่มีสภาพใกล้เคียงกับโลกมนุษย์มากที่สุด เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต แต่ว่ามันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย เพราะทั้งเรื่องเทคโนโลยี ทั้งจำนวนดาวที่มีเป็นหมื่นล้านดวง แต่ 5 ดาวเคราะห์เหล่านี้เป็นดาวเคราะห์ที่ผ่านการศึกษาและวิจัยมาแล้วว่ามีสภาพคล้ายกับโลกมากที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา

 

1. Kepler-438b

ถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Kepler เมื่อต้นปี 2015 เป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอยู่ไกลจากโลกประมาณ 470 ปีแสง โคจรรอบดาวแคระแดงและใช้เวลาโคจรรอบดาวกฤษ์ดวงนั้นเพียง 35 วันเท่านั้น มีขนาดใหญ่กว่าโลก 12% ทั้งอุณหภูมิบนผิวดาวยังอุ่นกว่าและมีอุณหภูมิสูงสุดเพียง 60 องศาเท่านั้น

 

 

2. Gliese 667 Cc

ถูกค้นพบเมื่อปี 2011 เป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะโคจรอยู่ในระบบดาวสามดวง มีขนาดใหญ่กว่าโลกมาก 4.5 เท่า แต่ใช้เวลาโคจรรอบดาวกฤษ์เพียง 28 วันเท่านั้น อยู่ห่างจากโลกประมาณ 22.7 ปีแสง และมีอุณหภูมิต่ำกว่าดวงอาทิตย์ แต่มีอุณหภูมิสูงกว่าโลก 4.3 องศาเซลเซียส ซึ่งเหมาะกับการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตมาก 

 

 

3. Kepler-442b

ถูกค้นพบในเดือนมกราคม ปี 2015 โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Kepler เป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ อยู่ไกลจากโลกประมาณ 1,120 ปีแสง มีขนาดใหญ่กว่าโลก 33% โคจรอยู่รอบดาวกฤษ์และใช้เวลาในการโคจร 1 รอบประมาณ 112 วัน อุณหภูมิสูงสุดบนพื้นผิวดาวเพียง 60 องศา ทั้งยังเป็นดาวเคราะห์หินที่มีความแข็งแรงกว่าโลกถึง 30% เลยทีเดียว

 

 

4. Keplor-62e

ถูกค้นพบในปี 2013 โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Kepler เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 1.6 เท่า อยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,200 ปีแสง โคจรรอบดาวกฤษ์โดยใช้เวลา 122 วัน และคาดว่าบนดาวเคราะห์ดวงนี้น่าจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบเช่นเดียวกับผิวโลก

 

 

5. Kepler-452b

เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก 60% ถูกค้นพบในปี 2015 ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวหงส์ หรือกลุ่มดาวกางเขนเหนือ ใช้เวลาในการโคจรรอบดาวกฤษ์ 385 วัน และอยู่ห่างจากโลก 1,400 ปีแสง โดยคาดว่าพื้นผิวของดาวดวงนี้น่าจะมีภูเขาไฟที่ยังประทุอยู่

ถ้าดาวแต่ละดวงนั้นมีลักษณะคล้ายโลกและเหมาะกับการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต นั่นก็แปลว่าบนดาวดวงนั้นอาจจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ก็เป็นไปได้

ข้อมูลและภาพประกอบจาก "kapook/NASA"

http://hilight.kapook.com/view/130467

Credit: https://www.nasa.gov/
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...