อีอยู่ นักโทษประหาร
เรื่องจริงของนักโทษประหารในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่สะท้อนภาพวงจรของสังคม กับ การมีส่วนร่วมในการบรรเทาปัญหาอาชญากรรม มาถึงปัจจุบัน..
ฆ่าฉันเสียเร็วๆ ฆ่าฉันเสียเร็วๆ ” เสียงตะโกนจากนักโทษประหารซึ่งเป็นหญิง เพชฌฆาตหกคนยังคงร่ายรำดาบ ถอยหน้าถอยหลังอยู่เบื้องหลังนักโทษอีกครู่ ก่อนที่เพชฌฆาตมือหนึ่งจะวิ่งเข้าฟันคออย่างแรง จนศีรษะขาด เลือดพุ่งกระฉูด ผู้คนที่มุงดูการประหารจึงค่อยเริ่มแยกย้ายกันกลับไป เสียงพึมพำดังจับความได้ว่า ต่างก็พอใจที่ผู้ตายได้รับกรรมที่กระทำไว้แล้ว แม้แต่ในหมู่ญาติพี่น้องของหล่อนเอง!
เพชฌฆาตยังคงทำงานต่อไปด้วยการตัดข้อเท้าซึ่งมีโซ่ตรวนพันธนาการไว้ และตัดศพออกเป็นชิ้น แล่เนื้อออกจากกระดูก ทิ้งตับไตไส้พุงไว้เป็นทานแก่แร้งกา ส่วนศีรษะเอาไปเสียบไม้ไผ่ปักประจานไว้ให้มองเห็นได้แต่ไกล
เธอเป็นใครทำผิดอะไรไว้จึงต้องรับโทษถึงเพียงนี้..?
เพราะเมื่อกิ๊กผู้เป็นนายได้ฟังเท่านั้นแหละ เรื่องสงสัยว่าอีอยู่ฟ้องผัวคุณพระ ยังไม่กระตุ้นต่อมโทสะ เท่ากับกิ๊กโดนนางทาสหารสอง อำแดงอยู่ เต้นผางสั่งตีตรวนอีเกลี้ยงทันที แล้วเอาไม้ไผ่ขนาดสามนิ้วยาวศอกเศษ ตีอีเกลี้ยงอีกราวสี่ห้าที ทำแบบนี้ตลอดมาหลายวัน จนวันหนึ่ง อำแดงอยู่ซึ่งล่อเหล้ามาตั้งแต่เช้าแล้ว ก็ใช้ไม้แสมตีอีเกลี้ยงอีก พอตกบ่ายก็แก้ตรวน แล้วสั่งให้ไปหุงข้าว ขณะที่อีเกลี้ยงกำลังนั่งยองๆหุงข้าวอยู่ อำแดงอยู่เข้ามาข้างหลัง ถีบอีเกลี้ยงล้มลงแล้วกระชากผ้าถุงของนางทาสออก เอาไม้แสมที่กำลังติดไฟแดงๆ ทิ่มอวัยวะเพศของนางทาสสองสามที ยังไม่สะใจแม่เจ้าประคุณรุนช่อง ตกบ่ายราวสี่โมงเศษ ก็เรียกทาสชายหญิงคนอื่นขึ้นมาจับอีเกลี้ยงขึงพรืด จุดไม้ขีดไฟเผาขนที่ลับของอีเกลี้ยงซ้ำอีก เฮ้อ เวรจริงๆ
ให้เฆี่ยนทาสที่เคยช่วยจับขึงพรืดอีเกลี้ยง ให้อีอยู่ ( เปลี่ยนคำนำหน้าจากอำแดงเพราะทำความผิด ) ทำทารุณ คนละ ๖๐ ที ส่วนทาสคนอื่นที่รู้เห็นเหตุการณ์แล้วไม่ยอมแจ้งทางการให้เฆี่ยนคนละ ๓๐ ที เรื่องนี้ทรงพิจารณาว่า คนเป็นทาสก็ต้องฟังนาย และเรื่องก็เกิดในทันที จึงให้ภาคทัณฑ์ไว้ เว้นคนที่เอาศพไปฝัง และพยายามปกปิดไม่ให้ตรวจศพ ให้ลงโทษตามที่ว่ามา
อ้ายไฮ้ โดนตัดสินให้เฆี่ยน ๕๐ ที แต่ทรงเห็นว่าความผิดของอ้ายไฮ้คือฐานชู้สาว และก็โดนนายเงินคือพระบรรฦาฯลงโทษไปแล้ว จึงโปรดให้ยกโทษเสีย
ส่วนพระบรรฦาปรับเป็นเงิน ๑๑ ตำลึง กึ่งสลึงเฟื้อง ๖๓๐ เบี้ยเป็นพิไนยหลวง แต่ในฐานที่รู้อยู่แต่ไม่สนใจ ปกปิดเรื่องศพ เรื่องความร้ายในแผ่นดิน
วันที่ประหารอีอยู่คือ วันเสาร์ เดือน๑๑ แรม ๗ ค่ำ ตรงกับ วันเสาร์ที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๒๔ เป็นเวลากว่าร้อยปีล่วงมาแล้ว ต้นเรื่องนั้นมาจากหนังสือราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ ออกเมื่อกรุงเทพมหานครมีอายุครบ๑๐๐ปี และบันทึกของนาย Carl Bock นักธรรมชาติวิทยาชาวนอร์เวย์ ที่เดินทางเข้ามาสำรวจดินแดนไทยและได้ไปดูการประหารอีอยู่ด้วย แต่ไปอ่านเจอจากหนังสือ หญิงชาวสยาม โดย เอนก นาวิกมูล
โดยส่วนตัวเห็นเพิ่มเติมอีกอย่างคือ แสดงว่าในสมัยนั้นชีวิตทาสก็มีความหมาย อันนี้เป็นรูปธรรมจากบทลงโทษและพระราชวินิจฉัยของพระเจ้าอยู่หัวในคดีนี้
สุดท้าย อุทาหรณ์อีกเรื่องคือ ไม่ว่าเมื่อไหร่เบาะแสจากประชาชนนี่สำคัญ ไม่มีนายหนู อีเกลี้ยงก็คงไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะไม่มีใครไปแจ้งบ้านเมือง และก็ต้องขอบคุณสัปเหร่อที่ทำหน้าที่ได้อย่างไม่บกพร่อง นี่ถ้าเป็นสมัยนี้ยัดเงินสักหน่อย ไม่แน่ศพอีเกลี้ยงคงลงดินไปตั้งแต่หนแรกแล้วมั้ง
ตรงนี้เห็นชัดอีกเช่นกันว่า หน้าที่พลเมือง นั้นมีความสำคัญขนาดไหน.