พระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ฟาโรห์หญิงองค์แรกแห่งอียิปต์

       กษัตริยาแห่งอาณาจักรใหม่ พระนางฮัตเซปซุตผู้ทำหน้าที่สำเร็จราชการแทน พระโอรสแห่งธุตโมซิสที่ 2 (พระสวามี) ซึ่งเกิดจากพระชายา "ธุตโมซิสที่ 3" เป็นเวลาเกือบ 7 ปี พระนางได้เปลี่ยนตำแหน่งของตัวเองจาก "ราชินี" เป็น "กษัตริย์" และทรงราชกกุธภัณฑ์เสมือนผู้ชาย ซ้ำยังมีหนวดเคราอีกด้วย รัชสมัยของพระนางถือว่าเป็นอีกยุคหนึ่งที่อียิปต์ มีความเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก...

       ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 2 ตามประเพณีการสืบราชสมบัติแล้ว ทายาทซึ่งเป็นโอรสองค์โตของฟาโรห์จะต้องขึ้นครองราชย์แทนฟาโรห์องค์ก่อน แต่เนื่องจากทายาทที่มีสิทธิ์และศักดิ์ในขณะนั้น ซึ่งก็คือ "ธุตโมซิสที่ 3" พระโอรสแห่งฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 2 ที่เกิดจากพระชายาอีกพระองค์ ยังทรงพระเยาว์มาก ครั้นจะให้นั่งบัลลังก์ว่าราชการบ้านเมืองปกป้องประชาชนก็คงจะไม่ได้ ภาระจึงต้องตกเป็นของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ผู้เป็นพระราชินีแห่งฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 2 ต้องขึ้นบัลลังก์ว่าราชการบ้านเมืองแทนฟาโรห์องค์น้อยไปก่อน จากพระราชินีเคียงข้างองค์ฟาโรห์ กลายเป็นฟาโรห์องค์ที่ 4 แห่งราชวงค์ที่ 18 ของปฐพีไอยคุปต์ คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และยิ่งเป็๋นหญิงการจะขึ้นนั่งบัลลังก์เสมือนฟาโรห์ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น เสมือนสมมุติเทพคงไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ๆ ที่จะให้ประชาชนยอมรับถึงการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

       พระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ประสูติเมื่อช่วง 1508 ปีก่อนคริสตกาล เป็นพระราชธิดาแห่งฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 1 กับพระชายาองค์แรก อาห์เมส (Ahmes) มีพี่ชาย 2 คน และได้เสียชีวิตไปทั้งคู่ ต่อมาได้สมรสกับเจ้าชายธุตโมซิสที่ 2 ซึ่งเป็นพระโอรสของฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 1 ที่เกิดจากพระชายาองค์รองชื่อ มัตเนเฟอร์เรต (Mutneferet) สรุปคือ พระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) และ ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 2 เป็นพี่น้องต่างมารดา ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกครับสำหรับอียิปต์โบราณที่พี่น้องจะครองคู่กัน สำหรับพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) และฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 2 มีพระราชธิดาด้วยกันเพียงพระองค์เดียวคือ เนเฟอร์รู (Neferure) ส่วนฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 นั้นเป็นพระโอรสที่เกิดจากพระชายาอีกองค์ครับ ซึ่งเมื่อเกิดเป็นชายก็ย่อมมีสิทธิ์ในบัลลังก์ตามธรรมเนียม

 

       ภายหลังฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 2 พระสวามีสิ้นพระชนม์ หลังครองราชย์ได้เพียงประมาณ 4 ปี พระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ก็ขึ้นนั่งบัลลังก์แทนฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 เป็นเวลาเกือบ 7 ปี จากนั้นได้ตั้งตนเป็นฟาโรห์หญิงองค์แรก พระนางได้ปกครองดินแดนแห่งแม่น้ำไนล์ให้ร่มเย็นได้ไม่แพ้ฟาโรห์องค์อื่นๆ ตามหลักฐานด้านประติมากรรมค้นพบรูปสลักพระนางทรงราชกกุธภัณฑ์เหมือนผู้ชาย ซ้ำยังมีหนวดเคราอีกด้วย รัชสมัยของพระนางถือว่าเป็นอีกยุคหนึ่งที่อียิปต์ มีความเฟื่องฟูเป็นอย่างมากอีกยุคหนึ่งเลยทีเดียว ด้วยความฉลาดหลักแหลมพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) บวกการการเป็นนักการเมืองที่ได้ต้นแบบมาจากพระบิดา พระนางข้ามพ้นข้อกังขาทั้งหมดไปได้ และสามารถปกครองอียิปต์ได้ยาวนานกว่า 20 ปี

       วิหารแห่งฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ในช่วงรัชสมัยของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) พระนางได้สร้างวิหารศักดิ์สิทธิ์เพื่อเตรียมไว้สำหรับฝังศพของตนเองเอาไว้ ชื่อ เดียร์ เอล-บาฮารี Deir el-Bahari ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นการสการะเทพอามุน (Amun) แต่พระนางจะทรงทราบไหมว่าหลังสิ้นพระชนม์จะได้พระศพจะได้เก็บไว้ที่แห่งนี้ หรือไม่

       ช่วงปลายของรัชสมัยของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) เริ่มมีความดึงเครียดทั้งภายในและภายนอกประเทศ เรื่องภายในก็เกิดจากฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 ที่เติบใหญ่ขึ้น และแน่นอนพระองค์ย่อมทวงถึงความชอบธรรมที่พระองค์ควรได้รับในนามของกษัตริย์ และจะทำอะไรได้มากในขณะที่อำนาจทั้งหมดยังตกอยู่ภายได้การปกครองของพระมารดา เลี้ยง ส่วนปัญหาภายนอกประเทศแน่นอนเมื่อชาติศัตรูต่างทราบว่าจริงๆ แล้วฟาโรห์หาใช่ชายชาตรีไม่ ความโอ้อวดในอำนาจ และความต้องการจะยึดอียิปต์ก็ย่อมเกิดขึ้นแน่นอน ฟาโรห์หญิงย่อมมีความเชี่ยวชาญด้านศึกสงครามน้อยกว่าบุรุษเป็นแน่นอน

">

       ในช่วงความวุ่นวายของบ้านเมือง พระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ก็สิ้นพระชนม์ไปอย่างปริศนา ไม่มีใครล่วงรู้ได้ว่าพระศพได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่แห่งใด ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 อัดอั้นความรู้สึกทั้งหมดไว้มานาน พระองค์แสดงออกด้วยการสั่งให้ทำลายรูปสลักเสมือนพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ตลอดจนการสลักชื่อต่างๆ ของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ตามฝาผนังวิหารออกเกือบทั้งหมด น่าเสียดายที่การกระทำนี้ทำให้เราไม่สามารถทราบถึงความปรีชาสามารถของพระนาง ฮัตเซปซุต (Hatshepsut) มากเท่าที่ควร พระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ก็ได้ค่อยๆ หายจากความทรงจำของชาวไอยคุปต์โบราณนับจากบัดนั้น

       จากอดีตกาลความรุ่งเรืองในยุคการปกครองของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) จวบจนปัจจุบันกว่า 3,500 ปีมาแล้ว ไม่มีใครทราบได้ว่ามัมมี่ของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ถูกเก็บไว้ที่แห่งใด ไม่มีใครค้นพบ จนกระทั้งวันที่ 27 เดือนมิถุนายน ปี 2007 มีการขุดค้นพบร่างมัมมี่ของสตรีที่หุบเขากษัตริย์ และจากการตรวจสอบพบว่ามัมมี่ร่างนี้มีอายุราวๆ 3,500 ปีซึ่งใกล้เคียงกับยุคสมัยของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) และผลจากการตรวจ DNA พบว่ามีความใกล้ชิดกับยายของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ที่ชื่อ อามอส เนเฟอเทอรี (Amos Nefreteri) ทำให้ผู้ค้นพบมีความมั่นใจว่ามัมมี่ร่างนี้คือพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ที่หายสาบสูญไปกว่า 3,500 ปี

ที่มา: http://storylegendsth.blogspot.com/2015/06/hatshepsut.html

Credit: http://board.postjung.com/931342.html
2 ธ.ค. 58 เวลา 08:14 1,637 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...