ระวัง!! สารพิษ 10 ชนิดที่คุณต้องพบเจออยู่ทุกวัน

       ทุกวันนี้เราทุกคนต่างก็อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่สารพิษ สารเคมี สารปนเปื้อน ทั้งมลพิษทางอากาศ สารเคมีปนเปื้อนในอาหาร หรือแม้แต่ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ และนี่คือ 10 สารพิษที่เรามักพบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน

1. ยาฆ่าแมลง

ผักผลไม้จำนวนมากมีการฉีดพ่นด้วยยาฆ่าแมลงและเราก็รับประทานสารตกค้างเหล่านั้นเข้าไป หากต้องการหลีกเลี่ยงยาฆ่าแมลงและสารเคมีอื่นๆ เราควรรับประทานอาหารที่ผลิตด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์ซึ่งจะพบสารตกค้างน้อยมากและอาจจะมีสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่สูงเมื่อเทียบกับการผลิตที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์ หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ยาฆ่าแมลงในบ้านและรอบบ้าน รวมถึงใช้วิธีธรรมชาติในการกำจัดศัตรูพืช

2. ยา

ในแต่ละปีมีผู้ป่วยมากกว่า 2 ล้านรายที่มีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและมีจำนวน 100,000 รายที่เสียชีวิต ยารักษาโรคส่วนใหญ่มีสารพิษไมโทคอนเดรียซึ่งทำให้สารอาหารในร่างกายหมดไปและแพทย์ไม่เคยบอกคุณ บ่อยครั้งที่วิธีแบบธรรมชาติสามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาเรื้อรังและลดการใช้ยาที่มีความเสี่ยงได้ นอกจากนี้เราควรรับประทานอาหารเกษตรอินทรีย์ อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รวมถึงการออกกำลังกายและตามด้วยวิธีคลายเครียดที่ดี

3. แอลกอฮอล์

ดูเหมือนว่าการดื่มแอลกอฮอล์จะเป็นการสร้างปัญหาให้กับตัวเองเนื่องจากแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำลายตับและทำให้ขาดสารอาหาร นอกจากนี้ยังทำให้แอลดีไฮด์เสียหายและทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัยด้วย

4. มลพิษทั้งในร่มและกลางแจ้ง

มลพิษทางอากาศไม่ใช่เรื่องตลกเนื่องจากมันจะทำลายเซลล์และอวัยวะต่างๆ ดังนั้นเราควรใช้เครื่องฟอกอากาศอย่างน้อยเพื่อป้องกันฝุ่นละออง ติดตั้งระบบกรองน้ำเพื่อกรองน้ำบริสุทธิ์ ระมัดระวังสารเคมีนอกบ้าน ละอองเกสร และเชื้อรา ที่สำคัญอย่าเดิน วิ่ง หรือปั่นจักรยานในเมืองหรือในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน

5. ควันบุหรี่

โรคมะเร็งปอดมีสาเหตุมาจากบุหรี่ที่ทำลายทั้งหัวใจและอวัยวะเกือบทุกส่วนในร่างกาย การสูบแต่ละครั้งจะอัดแน่นไปด้วยสารพิษและสารก่อมะเร็ง รวมทั้งนิโคตินซึ่งเป็นสารกำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้ยังมีก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ แอมโมเนีย สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว และฟอร์มาลดีไฮด์

6. ฟอร์มาลดีไฮด์

สารเคมีนี้นิยมใช้ในการผลิตปุ๋ย กระดาษ ไม้อัด แผ่นไม้อัดเคมี และยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์ ขณะที่เรซินใช้เป็นสารกันบูดในอาหารบางชนิดและในผลิตภัณฑ์หลายๆอย่าง เช่น สีทาบ้าน ยาฆ่าเชื้อ ยา เครื่องสำอาง เครื่องเรือนต่างๆ และพรม ฟอร์มาลดีไฮด์สามารถสร้างความระคายเคืองให้แก่ ผิว คอ จมูก และตา รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งบางชนิดด้วย

7. ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยส่วนบุคคล

ไม่ว่าจะเป็นครีมกันแดด โลชั่น สบู่ หรือน้ำหอม ทางที่ดีเราควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและใช้ให้น้อยที่สุดเนื่องจากสิ่งที่เข้าไปในผิวสามารถซึมเข้าสู่ร่างกายได้ ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นกายส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยอลูมิเนียมเพื่อป้องกันไม่ให้เหงื่อออกและอาจทำให้ดีเอ็นเอเกิดการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมด้วยหากมีการใช้เป็นประจำทุกวัน ขณะที่สบู่ฆ่าเชื้อทั้งในรูปของเหลวและเป็นก้อนก็ไม่ได้ผลดีไปกว่าสบู่ปกติเลย ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ประกอบด้วยส่วนผสม 2 อย่างคือ ไตรโคลคาร์บานกับไตรโคลซานที่ตรวจพบว่ามีการรบกวนฮอร์โมนสืบพันธุ์และกิจกรรมการสื่อสารระหว่างเซลล์ รวมทั้งในสมองและหัวใจ ดังนั้นผู้ซื้อควรระมัดระวัง! อย่างไรก็ตามควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีน้อยที่สุด

8. ปิโตรเคมี

พบได้มากที่สุดในอาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวรวมทั้งโรคมะเร็งด้วย คุณควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปและรับประทานอาหารเกษตรอินทรีย์แทน นอกจากนี้ควรระวังสารทำละลายซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อปอดและลำคอ ส่วนน้ำยาขัดเงาเฟอร์นิเจอร์เป็นวัตถุไวไฟซึ่งอาจทำให้บาดเจ็บสาหัสหากบังเอิญกลืนกินเข้าไป

9. โลหะหนัก

สิ่งเหล่านี้มักมาพร้อมกับฝุ่น สิ่งสกปรก สีบ้านเก่า แบตเตอรี่ ของเล่นใหม่ หรือแม้กระทั่งน้ำที่ไหลผ่านท่อก็สามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ ระบบประสาทของเด็กเล็กและทารกในครรภ์มีความเสี่ยงมากที่สุด แคดเมียมก็เป็นโลหะอีกชนิดที่เป็นพิษและมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้แคดเมียมยังพบได้ในแบตเตอรี่ สีย้อม สีเคลือบโลหะ พลาสติก และปุ๋ยเคมี ขณะที่สารปรอทก็เป็นสารพิษไมโทคอนเดรียอีกชนิดที่พบได้มากในปลาน้ำจืดและปลาทะเลขนาดใหญ่ เช่น ปลาฉลาม ทูน่า ปลากระโทงดาบ ปลาออเรนจ์รัฟฟี่ ปลาตาเดียวขนาดใหญ่ และปลาเก๋า

10. สาร BPA

นี่คือสารประกอบที่นิยมนำมาใช้ในการผลิตพลาสติกและอาจเสี่ยงต่อสุขภาพรวมถึงระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ พาทาเลตเป็นสารเคมีที่มักพบได้ในพลาสติกอ่อน ส่วน BPA ก็พบได้ในพลาสติกแข็งและกลุ่มผลิตภัณฑ์บรรจุอาหาร นอกจากนี้ยังพบได้ในเครื่องสำอาง สบู่ และโลชั่นไปจนถึงบรรจุภัณฑ์อาหารและขวดน้ำ คำแนะนำคือพยายามหลีกเลี่ยงภาชนะพลาสติกและอาหารกระป๋องเท่าที่คุณสามารถทำได้ และหันมาดื่มน้ำจากขวดแก้วหรือภาชนะอื่นๆที่ปลอดภัยกว่าแทน 

ที่มา issue247>>rodalewellness.com

Credit: http://variety.teenee.com/foodforbrain/73483.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...