เงินกระดาษที่ออกครั้งแรกใน ประเทศไทย



 

หมายชนิดแรก
                 เงินกระดาษที่ออกครั้งแรกในประเทศไทย เรียกว่า "หมาย" ถ้าเราจะเรียกหมายว่าธนบัตรก็เห็นจะไม่ผิด เพราะธนบัตรมีความหมายเป็นบัตรของรัฐบาล ที่ใช้เป็นเงินตรา หมายมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด
                 ชนิดแรกเป็นหมายขนาดใหญ่มี 4 ราคา คือ 3 ตำลึง , 4 ตำลึง , 6 ตำลึง และ 10 ตำลึง ทำด้วยกระดาษปอนด์สีขาว ขนาด 10 คูณ 14 ซม. ด้านหน้ามีกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าสองชั้น ฉบับ 6 ตำลึงมีข้อความว่า

"ใช้หกตำลึง ให้แก่ ผู้ออกหมายนี้ มาให้
เก็บหมาย นี้ไว้ ทรัพย์จักไม่ สูญเลย"

                  ตรงกลางประทับตราชาดสองดวง คือ ตราจักรและตรามหาพิชัยมงกุฎ ด้านหลังเป็นลายเครือเถาเต็มทั้งด้าน มีตราชาดสี่เหลี่ยมประทับอยู่ตรงกลาง

 





หมายชนิด 2 และ ชนิด 3
                 หมายชนิดที่ 2 ทำ ด้วยกระดาษปอนด์สีขาว ขนาด 5 คูณ8.7 ซม. มีราคา 1 บาท , 3 สลึง, 2 สลึง ,สลึงเฟื้อง , หนึ่งสลึง และหนึ่งเฟื้อง หมายเหล่านี้แสดงราคาไว้ถึง 11 ภาษา คือ ไทย จีน ละติน อังกฤษ มาลายู เขมร พม่า ลาว สันกฤต และบาลี
                 ด้านหน้ามีกรอบรูป ภายในกรอบมีข้อความว่า "เงิน+๑ ใช้หมายนี้แสดงแทนเถิด เข้าพระคลังจักใช้เงินเท่านั้น ให้แก่ผู้เอามหายนี้มาส่ง ในเวลาแต่เที่ยงไปจนบ่ายสามโมงทุกวัน ณ โรงทหารพระบรมมหาราชวังฯ"
                 หมายชนิดที่ 3 เป็น หมายราคาสูง ขนาด 6.2คูณ 8.7 ซม. มี 2 ราคา เท่านั้นคือ ราคา 20 บาท และ 80 บาท ด้านหน้ามีข้อความว่า "หมายสำคัญนี้ ใช้แทน 320 ซีกฤา 640 เสี้ยว ฤา 1280 อัฐ ฤา 2560 โสฬส คือ เป็นเงินยี่สิบบาท ฤาห้าตำลึง ฤา 12 เหรียญนก ฤา 28 รูเปีย ได้ให้ไปเปลี่ยนที่พระคลังจะได้ จงเชื่อเถิด"

 


อัฐกระดาษ
               เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2417 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 โปรดเกล้าฯ ให้ใช้กระดาษแทนเบี้ย เพราะเหรียญกษาปณ์ไม่มีพอใช้ประจำวัน
               กระดาษอัฐเป็นกระดาษหน้าเดียว ทพด้วยกระดาษขาว 80 ปอนด์ ขนาด 9.3 คูณ 15 ซม. มีกรอบใบเทศต่อก้านสัดำสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในกรอบตรงกลางพิมพ์อักษรสัดำว่า "ราคาหนึ่งอัฐ" มุมด้านซ้ายเขียนหมาบเลขที่ของอัฐกระดาษ ลามมือสีดำ ตราประทับลงในอัฐกระดาษ เป็นตราดุนแผ่นดินสองดวง ดวงใหญ่เป็นตรารูปพระเกี้ยวยอดมีพานรอง 2 ชั้น และฉัตรตั้ง 2 ข้าง ดวงเล้กประทับตราสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปอย่างเดียวกันกับดวงใหญ่
                 กระดาษอัฐไม่เป็นที่นิยมแก่ประชาชนมากนัก เพราะชำรุดเสียหายง่าย จึงได้ถูกถอนคืนไปโดยปริยาย ในระยะเวลาอันสั้น

 




 เงินกระดาษหลวง
            ในปี พ.ศ. 2435 เงินกระดาษหลวงที่สั่งไป ได้เข้ามาถึงกรุงเทพฯ บางส่วนพระเจ้าบรมวงเธอ กรมพระนราธิปฯ ได้ทรงร่างพระราชบัญญัติ กฎข้อบังคับและประกาศสำหรับเงินกระดาษหลวง ทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ได้สั่งให้ที่ประชุมเสนาบดีพิจารณา ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบตามร่างดังกล่าว
                เป็นที่น่าเสียดาย ที่เงินกระดาษหลวงนี้ไม่ได้นำออกมาใช้ ตามรายงานเสนาบดีกระทรวงพระคลัง เรื่องเปิดกรมธนบัตรหอรัษฎากรพิพัฒน์ มีตอนหนึ่งให้เหตุผลว่า 
               "ความดำริใช้กระดาษแทนจะนวนเงินในสยามนี้ ใช่เพิ่งเริ่มริขึ้น ณ บัดนี้ ได้ดำริการมาแล้วแต่ก่อนประมาณ 12 ปี การนั้นได้จัดถึงได้สั่งกระดาษ ซึ่งเรียกว่า เตรเชอร์โน๊ต จากยุโรปแล้ว แต่หาได้ออกใช้ไม่ ด้วยเหตุที่การยังไม่พร้อมเพรียง จึงเป็นอันระงับมา "



เงินกระดาษหลวง
            เมื่อธนาคารฮ่องกง ออกบัตรธนาคารใช้แทนเหรียญกษาปณ์ได้สักปีเศษ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนารธิปประพันธ์พงศ์ ทรงดำรงตำแหน่ง รองอธิบดีกรมพระคลัง ได้ทรงพิจารณาเห็นว่า การค้าขายในกรุงสยามเจริญยิ่งขึ้นตามลำดับ สมควรจะสร้างเงินขึ้นแทนเหรียญกษาปณ์ จึงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระบรมราชานุญาตสั่งเงินกระดาษหลวงจากห้าง กีเซคเก้แอนด์เดรี่เอ้นท์ เมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมันนี ธนบัตรที่สั่งมี จะนวน 3,951,500 ฉบับ ราคา 1 บาท 3,200,000 ฉบับ ราคา 5 บาท 320,000 ฉบับ ราคา 10 บาท 320,000 ฉบับ ราคา 40 บาท 40,000 ฉบับ ราคา 80 บาท 40,000 ฉบับ ราคา 100 บาท 24,000 ฉบับ ราคา 400 บาท 5,000 ฉบับ ราคา 80 บาท 2,500 ฉบับ รวมราคาธนบัตร 19,200,000 บาท ค่าจ้าง 145,000 บาท



เงินกระดาษหลวง
                 เงินกระดาษหลวงดังกล่าว เป็นการทำอย่างวิจิตรบรรจง สีสรรค์งดงามกว่าธนบัตรที่ออกในปี พ.ศ. 2445 เงินกระดาษหลวงมีทั้งหมด 8 ราคา ทำขนาดต่างกัน คือ 1 บาท (9 คูณ 15.5 ซม.) 5 บาท (10 คูณ 16 ซม.)  10บาท (11 คูณ17.5 ซม.) 40 บาท (12 คูณ 18.5 ซม.) 80 บาท (13 คูณ 19.5 ซม.)   100 บาท (13.5 คูณ 20.5 ซม.) 400 บาท ( 14.5 คูณ 22.5 ซม.) และราคา 800 บาท (17 คูณ 24.5 ซม.)
           ทั้ง 8 ราคา มีตราอาร์มโยกย้ายไว้ที่ต่างๆ ไม่ซ้ำแบบ มีอักษรและตัวเลขบอกจำนวนเงินเป็นภาษาไทย อังกฤษ จีน มาลายู อาหรับ ลาว และ เขมร เมื่อยดขึ้นส่องดูจะเห็นลายน้ำบอกราคา 
             การสั่งเงินกระดาษหลวงจำนวนและราคาดังกล่าว ได้รับพระบรมราชานุญาติ



บัตรธนาคาร
                 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มี 3 ธนาคารต่างประเทศ ออกบัตรธนาคารใช้แทนเงินอยู่ในท้องตลาด คือ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์ และธนาคารแห่งอินโดจีน บัตรที่ออกเรียกว่า แบงค์โน้ต (Bank Note)  แต่คนไทยเรียกสั้นๆว่า แบงค์ เลยติดปากเรียกธนบัตรของรัฐบาลว่า แบงค์มาจนถึงทุกวันี้
                 ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เป็นธนาคารแรกที่ออกบัตร เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2432 บัตรธนาคารต่างๆ ที่ธนาคารออกให้ เป็นการออกตั๋วสัญญาจะจ่ายเงินตราโลหะ แก่ผู้ที่นำบัตรนี้มาขึ้นเมื่อถวงถาม ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และบัตรธนาคารเหล่านี้ก็มิได้ใช้กันแพร่หลาย คงใช้เฉพาะในหมู่พ่อค้าชาวต่างชาติ และประชาชนชั้นสูงในพระนครเท่านั้น ชาวบ้านยังคงนิยมใช้เหรียญบาทกันอยู่



บัตรธนาคาร
                 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มี 3 ธนาคารต่างประเทศ ออกบัตรธนาคารใช้แทนเงินอยู่ในท้องตลาด คือ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์ และธนาคารแห่งอินโดจีน บัตรที่ออกเรียกว่า แบงค์โน้ต (Bank Note)  แต่คนไทยเรียกสั้นๆว่า แบงค์ เลยติดปากเรียกธนบัตรของรัฐบาลว่า แบงค์มาจนถึงทุกวันี้
                 ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เป็นธนาคารแรกที่ออกบัตร เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2432 บัตรธนาคารต่างๆ ที่ธนาคารออกให้ เป็นการออกตั๋วสัญญาจะจ่ายเงินตราโลหะ แก่ผู้ที่นำบัตรนี้มาขึ้นเมื่อถวงถาม ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และบัตรธนาคารเหล่านี้ก็มิได้ใช้กันแพร่หลาย คงใช้เฉพาะในหมู่พ่อค้าชาวต่างชาติ และประชาชนชั้นสูงในพระนครเท่านั้น ชาวบ้านยังคงนิยมใช้เหรียญบาทกันอยู่




ธนบัตรแบบ 1 (หน้าเดียว)
                 ธนบัตรหน้าเดียว ประกาศใช้เมือ่วันที่ 7 กันยายน 2445 มี 5 ราคา คือ 5 บาท , 10 บาท , 20 บาท , 100 บาท   และ 1000 บาท ออกทั้งหมด 5 รุ่น แต่ละรุ่นแตกต่างกันในรายละเอียดเล็กน้อย มี 2 ขนาด คือ ชนิดราคา 5 บาท ขนาด 10.5   คูณ 16.5 ซม. ส่วนราคาอื่นๆขนาด 12.6 คูณ 20.5 ซม.
                มุมบนด้านขวามีราคาเลขไทย ด้านบนซ้าย และล่างขวามีเลขอารบิค มีตราแผ่นดิน (ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2461 ธนบัตรชนิดราคา 1 บาท เปลี่ยนจาก ตราแผ่นดินมาเป็นตราครุฑพ่าห์ ) ใต้ลงมามีข้อความ "รัฐบาลสยาม สัญญาจะจ่ายเงินให้แก่ผู่ที่นำธนบัตรนี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม" บรรทัดรองลงมา มีราคาเป็นตัวอักษรในกรอบ ไทยด้านขาว อังกฤษด้านซ้าย ลายมือชื่อเสนาบดีกระทรวงพระคลังด้านขวา ของเจ้าพนักงานด้านซ้าย




ธนบัตรแบบ 2 (รุ่นไถนา)
                 ธนบัตรแบบ 2 ออกใช้ 2 รุ่น โดยรุ่นแรกออกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2468 รวม 6 ราคา คือ 1 บาท , 5 บาท , 10 บาท , 20 บาท ,100 บาท , 1000 บาท ,   มีรูปพิธีจรดพระนางคัลแรกนาขวัญอยู่ตรงกลางด้านหลัง จึงเรียกกันว่า แบบแรกนา ไถนา พิพม์บนกระดาษไม่มีลายน้ำ
                  ลวดลายทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เหมือนกันหมดทุกราคา ธนบัตรแบบ 2 รุ่น 2 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2471 ทั้ง 6 ราคา แตกต่างจากรุ่น 1 อย่างเดียวคือ ข้อความ "สัญญาว่าจะจ่ายเงินให้แก่ผู่นำพันธบัตรนี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม " เปลี่ยนเป็น "ธนบัตรเป็นเงินที่ชะรำหนี้ได้ตามกฎหมาย"



ธนบัตรแบบ 3 (รุ่น 1)
                 ธนบัตรแบบ 2 ออกใช้ 2 รุ่น โดยรุ่นแรกประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2477 มี 4 ราคา คือ 1 บาท , 5 บาท , 10 บาท , 20 บาท มีข้อสังเกตสำคัญที่เป็นธนบัตรแบบแรก ที่มีพระบรมฉายาลีกษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7 ) 
                ธนบัตรชนิดราคา 1 บาท และ 10 บาท ซึ่งออกใช้ก่อน ตำแหน่ง "เสนาบดีกระทรวงพระคลัง" เปลี่ยนเป็น "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลัง" แต่บนราคาชนิดอื่นซึ่งออกหลังจากนั้น เปลี่ยนต่อไปอีกว่า "รัฐนมตรีว่าการกระทรวงการคลัง" 
                  พิมพ์บนกระดาษลายน้ำเป็นรูปช้างสามเศียรอยู่ในวงกลม ลายเฟืองด้านหลัง



ธนบัตรแบบ 3 (รุ่น 2)
                 ธนบัตรแบบ 2 รุ่น 2 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2479 มี 4 ราคา เหมือนรุ่นแรก ต่างกันเฉพาะพระบรมฉายาลักษณ์เปลี่ยนจาก รัชกาลที่ 7 เป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8
                  ธนบัตรชนิดราคา 1 บาท ขนาด 7.5 คูณ 13.5 ซม. พื้นสีน้ำเงินลายแสดและเหลือง ด้านหน้ามีรูปเรือสุพรรณหงส์ตรงกลาง ราคา 5 บาท ขนาด 8.5 คูณ 15.5 ซม. พื้นม่วงลายแสดและเหลือง รูปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ราคา 10 บาท ขนาด 9.5 คูณ 17.5 ซม. สีน้ำตาล รูปเรือจอดริมแม่น้ำ ราคา 20 บาท ขนาด 9.5 คูณ 17.5 ซม. สีเขียวใบไม้ลายเหลืองและแสด รูปเรือนไทยกลางน้ำ
                   ด้านหลังของทุกราคา มีรูปวัดและเจดีย์กลางน้ำ





ธนบัตรแบบพิเศษ
                 ธนบัตรแบบพิเศษ ประกาศใช้ระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน 2485 ถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2486 มี 5 ชนิดด้วยกัน ล้วนอุบัติขึ้นเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มีราคา 1 บาท , 1000 บาท , 50 บาท , 50 สตางค์ และ ราคา 1 บาท แบบบุก
                 ในภาพเป็นธนบัตรแบบบุก ราคา 1 บาท
                 ธนบัตรนี้ทางการทหารอังกฤษจัดพิมพ์ไว้เตรียมใช้ เมื่อมาตีประเทศไทยจากญี่ปุ่น และพอสงครามสงบก็ยื่นให้ทางการไทย ทางการไทยขาดธนบัตรก็นำไปพิพม์ดัดแปลง ขนาดของธนบัตร 7.3 คูณ 11.4 ซม. สีน้ำเงิน
                 ด้านหน้า กรอบลายเฟือง มีเลขไทยและเลขอาหรับกำกับอยู่ มีอักษรอังกฤษ ONE BATH ตรงกลาง เหนือนั้นพิมพ์ทับ "รัฐบาลไทยและธนบัตรเป็นเงินชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย"   ด้านหลังมีเลขอาหรับตรงกลาง

 





ธนบัตรแบบ 4 (โทมัส เดอลารู)
                 ธนบัตรแบบ 4 ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2481 เรียกกันว่า แบบโทมัส เพราะพิมพ์ที่บริษัท โทมัส เดอลารู ให้ต่างกับแบบเดียวกันแต่พิพม์ที่กรมแผนที่ และออกใช้รุ่นหลัง รุ่น 1 นี้มี 5 ราคา ลวดลายด้านหน้า 1 บาท มีรูปพระสมุทรเจดีย์ 5 บาท รูปพระปฐมเจดีย์ 10 บาท รูปป้อมมหากาฬที่ปากน้ำ 20 บาท รูปพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย และพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท 100 บาท รูปพระปรางค์วัดอรุณฯ
                   รุ่น 2 เปลี่ยนเฉพาะคำว่า "รัฐบาลสยาม" เป็น "รัฐบาลไทย" ประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2482 ราคา 1 บาท , 5 บาท ,10 บาท และ 1000 บาท
                     รุ่น 3 ออกใช้เฉพาะราคา 1 บาท ผิดจากรุ่น 2 คือ อักษรหมวด และหมายเลขด้านซ้าย เปลี่ยนจากเลขไทย เป็นอักษรโรมันและเลขอาหรับ



 


ธนบัตรแบบ 4 (กรมแผนที่)
                 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลได้สั่งพิมพ์ธนบัตรจากญี่ปุ่น แต่เนื่องจากอุปสรรคในการลำเลียง และความต้องการสูงของกองทัพญี่ปุ่นในไทย รัฐบาลจำต้องดำเนินการพิมพ์ธนบัตรเองในประเทศไทย โดยใช้อุปกรณ์แล้วแต่จะหาได้
                  ธนบัตรเหล่านั้นมี 2 ขนาดเท่านั้น มี 4 ราคา คือ 1 บาท , 10 บาท , 20 บาท, และ 100 บาท โดยทุกแบบพิมพ์ใกล้เคียงแบบพิมพ์ของโทมัส เอดลารูที่สุดที่ทำได้
                      ลวดลายราคา 1 บาท , 10 บาท ,20 บาท คงเหมือนแบบ 4   ส่วน 100 บาทแปลกออกอีกที่มีรูปครุฑอยู่บนมุมซ้าย ตรงกลางมีรูปวัดอรุณฯ ตัวสะกดไทยใช้ตามที่รัฐบาลบังคับสมัยนั้น (อักขรวิบัติ





 ธนบัตรแบบ 5 (พิมพ์ญี่ปุ่น)
                 เมื่อกองทัพญี่ปุ่นยาตราเข้าประเทศไทยในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 รัฐบาลไทยจำเป็นต้องหันหน้าไปขอร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่น จัดหาผู้พิมพ์ธนบัตรให้ รัฐบาลญี่ปุ่นมอบให้บริษัทมิตซุยบุซซันไกซา เป็นผู้ติดต่อกับโรงพิมพ์ธนบัตร ของกระทรวงคลังญี่ปุ่นอีกต่อหนึ่ง 
                 ธนบัตรรุ่นนี้มี 7 ขนาด คือ 50 สตางค์ , 1 บาท , 5 บาท , 10 บาท , 20 บาท , 100 บาท และ 1000 บาท
                   ด้านหน้าราคา 50 สตางค์ ไม่มีรูปใดเลย ราคา 1 บาท รูปวัดภูมินทร์ จ. น่าน 5 บาท รูปวัดเบญจมบพิตร 10 บาท รูปกำแพงและวัดพระเชตุพน 20 บาท รูปพระที่นั่งบางปะอิน 100 บาท รูปพระปรางค์วัดอรุณฯ และ 1000 บาท รูปพระที่นั่งจักรี
                   ด้านหลังของทุกราคา รูปพระบรมหาราชวัง







ธนบัตรแบบ 6 (กรมแผ่นที่และกรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ)
                 ธนบัตรแบบ 6 ออกใช้ 2 ราคา เท่านั้น คือ 20 บาท เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2488 และ 100 บาท เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2488 เช่นกัน ลักษณ์เหมือนราคาเดียวกันกับแบบ 4 (พิมพ์กรมแผนที่) เกือบทั้งหมด เว้นแต่ลายน้ำตรงกลางใต้ข้อความ "รัถบาลไทย" บนราคา บาท เป็นสีชมพูสีเดียว และบนราคา 100 บาท เป็นสีม่วงอ่อนกับเขียว ส่วนธนบัตรที่พิมพ์จากกรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ ไม่มีคำว่า "กรมแผนที่" อยู่ตรงกลางกรอบด้านล่าง สำหรับชนิดราคา 100 บาท มีตราของธนาคารแห่งประเทศไทย สีแดงประทับบนด้านหลังให้คาบกับต้นขั้ว
                    รุ่น 2 ทั้ง 2 ราคา มีเส้นไหมสีแดงและน้ำเงินโปรยทั่วธนบัตร และลายน้ำเปลี่ยนเป็นเส้นริ้วพาด มีพานแว่นฟ้าประดิษฐ์รัฐธรรมนูญ อยู่ในวงกลมขาว




 ธนบัตรแบบ 7 (รุ่นธนาคารแห่งประเทศไทย)
                 การขนส่งจากญี่ปุ่นขลุกขลัก และกรมแผ่นที่ทหารฯ กับกรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ ต่างทำงานจนสุดกำลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้จัดจ้าง โรงพิมพ์เอกชนพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเติม แม้จะได้ควบคุมอย่างเข้มงวด สีของธนบัตรก็ผิดไปจากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เฉพาะอย่างยิ่ง ชนิดราคา 10 บาท ขนาดก็ต่างไปจากที่ประกาศไว้ บางทีถึง 1.5 มม. คงเป็นเพราะใช้หลายโรงพิมพ์
                 ธนบัตรชุดนี้มีพระบรมฉายาลักษณ์ รัชกาลที่ 8 พระพักตร์ตรงเช่นเดียวกับแบบ 5 (ญี่ปุ่น) ธนบัตรราคา 1 บาท และ 5 บาท คล้ายกับแบบ 4 (โทมัส) ราคา 10 บาท คล้ายราคา 10 บาทของแบบ 4 (กรมแผนที่) ราคา 50 บาท คล้ายแบบ 4 และแบบ 6 ตรงกลางขอบล่างทุกราคา มีข้อความว่า "ธนาคารแห่งประเทศไทย" ด้านหลังเหมือนแบบ 4 กับแบบ 6





ธนบัตรแบบ 8 (พิมพ์อเมริกา)
                 บริษัท โทมัส เดอลารู ประสบความเสียหายในสงคราม รัฐบาลไทยจำต้องหันไปหารัฐบาลสหรัฐฯช่วยจัดพิมพ์ให้ โรงพิมพ์ธนบัตรของกระทรวงการคลังสหรัฐฯได้ติดต่อจ้าง เดอทิวเอดร์เพรส อิงค์ แห่งบอสตัน เป็นผู้พิมพ์ให้ 5 ราคา คือ 1 บาท , 5 บาท , 10 บาท (ขนาด 6.6 คูณ 11.1 ซม.) ราคา 20 บาท , 100 บาท (ขนาด 6.6 คูณ 15.6 ซม.)
                   ด้านหน้าทางซ้ายมีพระบรมฉายาลักษณ์ ถัดไปคำว่า "รัฐบาลไทย" "ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" ตัวอักษรบอกราคา ลายมือรัฐมนตรี พื้นเป็นลายเฟือง ภาพพระปฐมเจดีย์ รูปครุฑอยู่มุมบนซ้าย ช้างสามเศียรอยู่มุมล่างขวา
                     ด้านหลัง รัธรรมนูญเหนือพานแว่นฟ้าในกรอบลายเถา มีคำกล่าวโทษการปลอมแปลงธนบัตร


 



ธนบัตรแบบ 9
                 ธนบัตรแบบ 9 นี้มี 6 รุ่น ซึ่งแต่ละรุ่นแตกต่างกันเล็กน้อย และใช้มาเป็นเวลายี่สิบปี ระยะหลังเมื่อขาดคราวก็ยังนำชนิด 10 บาท , 20 บาท มาใช้ต่อ ธนบัตรชนิด 50 สตางค์ ซึ่งพิมพ์ก่อนสงครามก็นำมาใช้ด้วย
                   เฉพาะชนิด 50 สตางค์ ไม่มีพระบรมฉายาลักษณ์ มีรูปครุฑอยู่ตรงกลางด้านบน ต่อลงมาคำว่า "รัฐบาลไทย"  "ธนบัตรเป็นเงินชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" และห้าสิบสตางค์ 
                 ส่วนราคาอื่น 1 บาท , 5 บาท , 10 บาท , 20 บาท เหมือนกับแบบ 4 (โทมัส) เปลี่ยนแต่พระบรมฉายาลักษณ์และเพิ่มชื่อ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย 
                 ลักษณะของชนิดราคา 100 บาท ก็เช่นเดียวกับราคาอื่นๆ เพียงแต่ว่าเลขหมายเป็นสีดำ จึงสงเคราะห์เข้ากับรุ่น 2 ของชนิดราคาอื่นๆ




ธนบัตร แบบ 10
                 เนื่องจากมีการปลอมแปลงธนบัตรแบบ 9 ชนิดราคา 100 บาทมาก กระทรวงการคลังจึงจ้างบริษัท โทมัส เดอลารู พิมพ์ธนบัตรราคา 100 บาทขึ้นใหม่ ใช้หลากสี ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2511 ขนาด 8.7 คูณ 14.5 ซม
                    ด้านหน้าทางขาวมีพระบรมฉายาลักษณ์สีน้ำเงิน ล้อมด้วยลายกนกสีเขียวอ่อน แดงอ่อน ใต้ลงมา เลขไทยสีแดง เลขหมายสีดำ ตัวอักษรโรมันเลขอาหรับ อยู่มุมซ้าย ลายน้ำพระบรมฉายาลักษณ์ ภายในนกนสีแดงด้านซ้าย มีรูปครุฑ ต่อลงมา คำว่า "รัฐบาลไทย" "ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" ลายมือชื่อสีดำ พื้นลายกนก
                      ด้านหลัง รูปเรือสุพรรณหงส์สีแดงบนพื้นสีฟ้า เหลือง เลขไทยซ้ายเลขอาหรับขวา เนื้อกระดาษฝังเส้นใยกันปลอมคำว่า "ประเทศไทย" เป็นระยะ




 ธนบัตร แบบ 11
                 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเปิดโรงพิมพ์ธนบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2512 ธนบัตรที่พิมพ์ชนิดแรกคือ ราคา 5 บาท และ 10 บาท จนกระทั่งปี พ.ศ. 2515 ก็พิมพ์ธนบัตรเองทั้งหมด เว้นชั่วคราวที่ขลุกขลักในปี 2517 ได้นำชนิด 10 บาท และ 20 บาท ของแบบ 9 กลับมาใช้
                ธนบัตรแบบ 11 มี 5 ราคา คือ 5 บาท , 10 บาทสีน้ำตาล   , 20 บาท สีเขียว , 100 บาท สีแดง และ 500 สีม่วง
                 ด้านหน้า ทุกชนิดมีลักษณะเหมือนกันคือ พระบรมฉายาลักษณ์ทรงเครื่องบรมขัตติราชฯ อยู่ด้านขวา มีลายไทยหลากสี ราคา 5 บาท มีภาพเทพพนม , 10 บาท สิงห์นั่งแท่น , 20 บาท พญานาค , 100 บาท ครุฑจับพญานาค  500 บาท รูปครุฑ


  
 
 ธนบัตร แบบ 12
                 ธนบัตรแบบ 12 พิมพ์ที่โรงพิมพ์ธนบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นแบบที่ 2 มี 3 ราคา คือ 10 บาท , 20 บาท และ 100 บาท
                  ด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์ทรงเครื่องแบบจอมทัพอยู่ด้านขวา มีลายน้ำพระพักตร์เอียงอยู่ด้านซ้าย ใต้ลงมามีเลขหมายสีดำ อักษรไทยตัวเลขบนลายกนก ราคาอยู่มุมขวา เลขไทยข้างบน อาหรับล่างทั้งสองข้าง ในราคา 20 บาท , 100 บาท ส่วนราคา 10 บาท มุมซ้ายล่างเป็นเลขไทย ด้านบนซ้ายมีรูปครุฑพ่าห์ ถัดเข้ามามีเลขหมายอักษรโรมันเลขอาหรับ
                   ด้านหลัง ชนิดารคา 10 บาท มีภาพพระบรมรูปทรงม้า ราคา 20 บาท มีภาพอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน ราคา 10 บาท ภาพสมเด็จพระนเรศวรทรงช้างที่ดอนเจดีย์ มีคำว่า "ประเทศไทย" อยู่ในเส้นใยฝังกันปลอม




ธนบัตร แบบ 13
                 ธนบัตรแบบ 13 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2528 โดยโรงพิมพ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนบัตรรุ่นนี้ออกมา ได้เพียงราคาเดียว คือ ราคา 50 บาท ขนาด 7.2 คูณ 14.4 ซม. สีโดยทั่วไป เป็นสีน้ำเงินอมม่วง
                ด้านหน้า ทางขาวมีพระบรมฉายาลักษณ์ทรงเตรื่องพระบรมขัตติยราชฯ พระพักตร์ตรงสีน้ำเงิน ถัดมาทางขวา มุมบนและล่างขวามีเลขไทย และเลขอาหรับบอกจำนวน ด้านมุมบนซ้ายมีรูปครุฑพ่าห์ สีน้ำเงิน แดง ลายน้ำพระบรมฉายาลักษณ์อยู่ด้านซ้าย มีตราจักรีอยู่ถัดจากครุฑไปทางขาว
                   ด้านหลัง มีภาพพระบรมราชาอนุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระที่นั่งอนันตสมาคม เครื่องหมายลัญจกรอยู่มุมบนซ้าย รูปครุฑพ่าห์มุมบนขวา และใต้ลงมา เป็นลายน้ำพระบรมฉายาลักษณ์ฯ


Credit: http://atcloud.com/stories/83461
#เงิน
Messenger56
นักแสดงนำ
สมาชิก VIP
28 พ.ค. 53 เวลา 23:54 10,365 7 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...