ความตอแหล หลอกลวงของสงคราม

 

 

 

ความตอแหล หลอกลวงของสงคราม

 

 

When the rich wage war, it's the poor who die.

Jean-Paul Sartre

เมื่อ คนรวยก่อสงคราม เป็นคนจนที่ตาย

ญอง ปอล ซาร์ตร์



บท ความต่อไปนี้เป็นการกล่าวถึงสงครามอ่าวเปอร์เซียเมื่อปี ค.ศ.1991 ระหว่างสหรัฐฯ กับกองกำลังพันธมิตรและอิรัก ตอนนั้นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คือจอร์จ เอช ดับเบิ้ลยู บุช หรือบุชผู้พ่อ ส่วนประธานาธิบดีของอิรักก็คือซัดดัม ฮุสเซน สงครามนี้เริ่มต้นมาจากการที่ซัดดัมได้นำกองทัพเข้ารุกรานเพื่อนบ้านที่มี พรมแดนติดทางตอนใต้คือประเทศคูเวต ในวันที่ 1 สิงหาคม ปี ค.ศ.1990 สหรัฐอเมริกาจึงได้นำกองกำลังพันธมิตรเข้าโรมรันกองทัพอิรักในเดือนมกราคม ปี ค.ศ.1991 จนสามารถปลดปล่อยคูเวตได้สำเร็จในเวลาเพียงหนึ่งเดือน อย่างไรก็ตามบทความนี้ไม่ได้กล่าวถึงสงครามเป็นหลักแต่จะกล่าวถึงอิทธิพลของ สื่อมวลชนอเมริกันในการโน้มน้าวมวลชนอเมริกันให้หันมาสนับสนุนรัฐบาล อเมริกันเพื่อทำสงคราม ซึ่งได้ว่าเป็นการโฆษณาชวนเชื่อครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งจากรัฐบาลของประเทศ ประชาธิปไตย อันแสดงให้เห็นว่าสงครามแท้ที่จริงไม่ได้เกิดความจำเป็นเสมอไปแต่เกิดจากการ โกหกหน้าด้านๆ ของรัฐบาลรวมไปถึงลัทธิคลั่งชาติของอเมริกาเอง







บทความต่อไปนี้เป็นการเก็บความบางส่วนจากจากบทความของ ดักกลาส เคลล์เนอร์ นักสังคมวิทยาในหนังสือที่ ชื่อ Media Culture :culture studies,identity and politics between the modern and the postmodern บทความนี้มีชื่อว่า Reading the GUlf War :production/text/recetpion สลับไปกับความเห็นและสำนวนของผมเอง

ดัลกลาสได้ชี้ให้เห็นว่า ช่วงก่อนการทำสงครามนั้น สื่อมวลชนกระแสหลักอเมริกันต่างก้าวตามรัฐบาลและเพนตากอนอยู่ต้อย ๆ ถึงแม้จะได้ชื่อว่าเป็นประเทศเสรีในการแสดงออกแต่ว่าสื่อมวลชนเองก็เป็น องค์กรทางธุรกิจที่ต้องเอาใจผู้บริโภคส่วนใหญ่ของประเทศ และมักจะตกอยู่ภายการครอบงำของรัฐอยู่บ่อยครั้ง เพราะสื่อมวลชนต้องอาศัยแหล่งข้อมูลสำคัญคือรัฐบาลและกองทัพเพื่อนำเสนอข่าว ยิ่งแข่งกันนำเสนอข่าวก็ต้องพึ่งรัฐบาลมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในช่วงต้นเดือนสิงหาคม สื่อมวลชนทั้งหลายซึ่งถูกรัฐบาลของบุชวางยาจึงหันมาประสานเสียงสนับสนุนให้ รัฐบาลอเมริกันดำเนินนโยบายการต่างประเทศที่แข็งกร้าวต่ออิรัก รัฐบาลของบุชได้โกหกครั้งแรกโดยย้ำว่า กองทัพอิรักเตรียมพร้อมจะบุกประเทศซาอุดิอาระเบียเป็นประเทศต่อไป รัฐบาลจึงมีความชอบธรรมในการนำทหารเข้าไปในประเทศซาอุดิอาระเบียเมื่อวันที่ แปดสิงหาคม ทั้งที่มีหลักฐานในภายหลังว่ากองทัพของซัดดัมไม่ได้มีความต้องการเช่นนั้น

สื่อ มวลชนอเมริกันได้สนับสนุนรัฐบาล โดยเปิดช่องว่างให้กับผู้ไม่เห็นด้วยกับสงครามในการแสดงความเห็นเพียงน้อย นิด หนังสือพิมพ์บางฉบับได้ตอกไข่ใส่สีว่ากองทัพของซัดดัมมีความดุร้าย ไม่เปิดให้มีการเจรจาใดๆ ทั้งสิ้นและจะบุกซาอุดิอาระเบียถ้าถูกตัดท่อน้ำมัน หรือถ้าอเมริกาบุกเข้าไป เลือดของทหารอเมริกันจะนองเลือด ทั้งที่ความจริงแล้วทางกองทัพอิรักมีความยินยอมอย่างเต็มที่ในการเจรจาทาง การทูตกับอเมริกา หนังสือพิมพ์บางฉบับก็เสนอว่าซัดดัมเป็นที่เกลียดชังอย่างมากทั้งในบ้านและ ในกลุ่มประเทศอาหรับ การโค่นเขาย่อมจะได้รับการต้อนรับอย่างล้มหลาม ทั้งที่ความจริงทั้งในอิรักและกลุ่มอาหรับต่างมีความแตกแยกในเรื่องความนิยม ต่อตัวซัดดัม หนังสือพิมพ์บางฉบับได้เร่งเร้าให้ประธานาธิบดีบุชส่งกำลังทหารไปรบกับอิรัก โดยพลันเพราะการบุกุรกอิรักของซัดดัมนั้นเป็นภัยต่อราชวงศ์ทั้งหลายในกลุ่ม ประเทศอาหรับ ทั้งที่ความจริงมีความพยายามระหว่างประเทศในกลุ่มอาหรับในการยุติความขัด แย้งในครั้งนี้และอิรักได้ส่งตัวแทนอย่างลับๆ ในการเจรจาถึงแปดครั้ง แต่ถูกขัดขวางโดยรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อบุชได้ประกาศส่งทหารอเมริกันไปยังซาอุดิอาระเบียโดยกล่าวว่าเป็นคำร้อง ขอของรัฐบาลซาอุดิอาระเบียแต่ต่อมามีการเผยว่าเป็นอเมริกาเองที่กดดันให้ทาง ซาอุดิอาระเบียยอมให้ทหารอเมริกาเข้ามาในประเทศ นอกจากนี้ยังทางสื่อและรัฐบาลยังพยายามใส่สีของจำนวนทหารอิรักที่ตั้งอยู่ คูเวตรวมไปถึงบริเวณพรมแดนระหว่างคูเวตและซาอุดิอาระเบียจนเกินจริงด้วย เหตุผลเช่นนี้วิธีการเดียวในการแก้ไขวิกฤตการณ์ก็คือการทำสงครามเท่านั้น การเจรจาทางการทูตเป็นวิธีแบบ"ผู้หญิง" ที่ไม่ได้ผล







นอก จากนี้ยังมีความพยายามของรัฐบาลอเมริกันในเติมสีแต้มสันให้กับอิรักว่าเป็น ผู้ชั่วร้ายและเป็นภัยต่อโลก เหตุการณ์หนึ่งที่สร้างความสะเทือนใจให้กับสาธารณชนทั่วโลกอย่างมากก็คือ เด็กวัยรุ่นผู้หญิงชาวคูเวตคนหนึ่งได้ให้การต่อหน้าสภาสิทธิมนุษยชนของ สหรัฐฯ ทั้งน้ำตาว่าเธอเห็นกับตาว่าทหารอิรักได้นำเอาเด็กทารกจำนวนสิบห้าคนออก เครื่องอบแล้วทิ้งไว้บนพื้นให้ตายอย่างน่าอนาจ แต่ต่อมาก็มีเปิดโปรงว่าเด็กวัยรุ่นคนนั้นแท้ที่จริงเป็นลูกสาวของเอกอัคร ทูตคูเวตประจำสหรัฐฯ ที่บริษัทประชาสัมพันธ์ฮิลล์แอนด์โนว์ทันซึ่งมีความสัมพันธ์กับรัฐบาลได้นำ ตัวไปฝึกการแสดงและป้อนข้อมูลเท็จ ๆ ให้ตั้งแต่แรก นอกจากความชั่วร้ายอื่นๆ ของทหารอิรักในคูเวตยังถูกสร้างขึ้นมาเรื่อยๆ โดยบริษัทแห่งนี้โดยชาวอเมริกันและชาวโลกไม่มีโอกาสรู้เลยว่าความเป็นจริงใน คูเวตเป็นอย่างไร สื่อมวลชนอเมริกันในแขนงอื่นๆ ยังสร้างภาพของซัดดัมว่าโหดเหี้ยมไม่ต่างจาก ฮิตเลอร์ เป็นซาตาน เป็นนักข่มขืน ชื่อของซัดดัมหรือ Saddam ยังถูกผันไปเป็นคำว่า Sadism (ชอบความรุนแรง) หรือ Sodomy (การตุ๋ย) การทำสงครามระหว่างอเมริกากับอิรักจึงไม่ต่างจากสงครามระหว่างฝ่ายธรรมะและ ฝ่ายอธรรม

นอกจากนี้ คนอเมริกันเองรวมไปถึงนักวิชาการที่ต่อต้านสงครามเช่น เอ็ดวาร์ด ซาอิด และนอร์ม ชอมสกี้ไม่ได้รับการอนุญาตจากสื่อให้มีเวทีในการแสดงออกเท่าที่ควรและสื่อ ยังนำเสนอคนเหล่านี้ในภาพด้านลบว่าอ่อนแอ ไร้ระเบียบวินัย ตัวสื่อเองยังถูกรัฐบาลอเมริกันจำกัดในวงข้อมูลเพราะผู้สื่อข่าวจะเข้าไปใน พื้นที่ได้ก็ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐบาลเท่านั้น สื่อมวลชนจึงเป็นผู้สร้างภาพของสงครามที่เกินจริงอย่างเช่น ในช่วงต้นๆ ของสงครามภาคพื้นอากาศเช่นจรวดแพทริอ็อตปะทะกับจรวดสกัด สื่อมวลชนได้นำเสนอในภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจมีการสร้างปั้นแต่งเนื้อเรื่อง และฉากในสงครามฉกเช่นเดียวกับการแข่งขันอเมริกันฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศ จนมีนักปรัชญาแนวหลังนวนิยมคือญอง บาวดริล่าบอกว่าสงครามอ่าวไม่มีอยู่จริง สิ่งเหล่านี้ส่งเสริมลัทธิชาตินิยมของอเมริกาเป็นอย่างมาก จึงไม่ต้องประหลาดใจว่าในตอนแรกสัดส่วนของคนอเมริกันที่เคยคัดค้านสงครามถึง ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ต้องมาแปรผันในด้านตรงกันข้ามจนรัฐบาลสหรัฐฯ สามารถระดมพลไปรบในคูเวตได้ ในช่วงสงครามเองรัฐบาลของบุชก็โกหก โป้ปดถึงความเก่งกาจของตัวเองจนการทำสงครามทั้งที่มีการวางแผนได้ผิดพลาด เช่นมีการพลาดพลั้งถล่มสังหารพวกเดียวกันเอง






คน อเมริกันนั้นถูกปลุกปั้นโดยสื่อมวลชนให้เกิดกระแสชาตินิยมแบบสุดโต่งจนเกิด ความฮึกเหิมผ่านสัญลักษณ์หลายประการเช่นตะโกนคำว่า USA อย่างบ้าคลั่งเมื่อคนจำนวนมากมาทำกิจกรรมร่วมกันเช่นแข่งกีฬาหรือพร้อมใจกัน สวมริ้บบิ้นสีเหลือง หรือเล่นงานประนามคนที่ไม่เห็นด้วยกับสงคราม นอกจากการปลุกปั่นของสื่อแล้วปัจจัยที่ทำให้เกิดชาตินิยมแบบเทียมๆ เช่นนี้มีหลายประการเช่น ความหดหู่จากสงครามเวียดนามและความหลงคิดว่าชาติตนเก่งกาจเพียงผู้เดียว เพราะสหภาพโซเวียตกำลังล่มสลาย แต่ในขณะเดียวกันคนอเมริกันเดียวกันก็ถูกรัฐบาลปลูกฝังภาพของอิรักเกินจริง เพื่อเป็นการปลุกกระแสความกลัวแบบไร้เหตุผลซึ่งสามารถทำได้อย่างง่ายดาย เพราะสังคมอเมริกันถูกภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดปลูกฝังให้คุ้นเคยกับความรุนแรงใน ด้านต่างๆ เช่นอาชญากรรมและสงคราม จนชนิดที่ว่ามีคนอเมริกันคิดว่าอิรักอาจจะบุกอเมริกา ส่วนคนอเมริกันเชื้อสายอาหรับซึ่งไม่รู้เรื่องด้วยต้องตกเป็นเหยื่อจากความ รุนแรงจากสังคมอเมริกันที่ถูกสื่อมวลชนเช่นภาพยนตร์ล้างสมองให้เกิดอคติต่อ พวกเขาเช่นกัน อำนาจของสื่อเช่นนี้ทำให้สังคมอเมริกันเกิดภาวะเหมือนทารก (infantize) ที่ต้องพึ่งพายอมมอบเสรีภาพให้กับผู้นำเช่นบุชเพียงคนเดียว สังคมต้องทำตามอย่างไม่พลาดแม้แต่ก้าวเดียว คนอเมริกันที่ไม่เห็นด้วยกับกระแสสังคมจะถูกโจมตีด้วยอารมณ์ที่ดุเดือดหรือ ถูกคุกคาม ทำร้ายทั้งจิตใจและร่างกาย ถูกประนามว่าไม่ใช่คนอเมริกัน อันเป็นสิ่งที่เรียกว่าความทดถอยของสังคมอเมริกันที่เป็นประชาธิปไตยจนดูไม่ ต่างจากสังคมแบบฟาสซิสต์แม้แต่น้อย

สงครามครั้งนี้ไม่ต้องน่าสงสัย ว่าจะมีผู้ได้รับประโยชน์มากมายเช่นบุชเมื่อสงครามสิ้นสุดลงบุชมีคะแนนเสียง ความนิยมถึงเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ตามจุดประสงค์ สื่อมวลชนไม่ว่าซีเอ็นเอ็น ฟอกซ์นิวส์ เอบีซีก็ขายข่าวได้ ส่วนบริษัทค้าอาวุธซึ่งร่วมกันประโคมความชั่วร้ายของกองทัพอิรักตั้งแต่แรก ก็ร่ำรวยจากการขายอาวุธ อเมริกายังได้ประกาศความยิ่งใหญ่หรือระเบียบโลกใหม่หลังสงครามเย็น ทว่าการที่กองทัพสหรัฐฯ ก็ไม่ได้ตามไปโค่นล้มซัดดัมในอิรัก เพราะความกลัวว่าจะเป็นสงครามเวียดนามครั้งที่สอง (บุชผู้ลูกจึงรับหน้าที่นี้แทนในภายหลังและก็เจอเหตุการณ์เช่นนี้จริง ๆ) รัฐบาลจึงได้แต่ปลุกระดมให้ชนกลุ่มน้อยเช่นพวกเคิร์ดรุกฮือขึ้นแทนและ ชนกลุ่มน้อยก็ถูกรัฐบาลซัดดัมปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม ความล้มเหลวเช่นนี้รวมไปถึงความโหดร้ายของสงครามของสื่อมวลชนที่ถูกรัฐปู้ ยี้ปูยำจนอิ่มตัวจนเป็นดาบสองคมได้นำเสนอภาพสงครามด้านลบ ทำให้คะแนนความนิยมของบุชตกลง เสริมย้ำด้วยความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้เขาไม่ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง ทหารอเมริกันถึงแม้จะเสียชีวิตจากสงครามครั้งนี้เพียงสองร้อยเจ็ดสิบเก้าคน แต่พวกที่ไปรบเมื่อกลับมาบ้านล้วนมีปัญหาทางด้านจิตใจและร่างกาย มีสถิติการฆ่าตัวตายและการก่ออาชญากรรมสูงมาก นายทิโมธี แม็คเวซึ่งวางระเบิดตึกที่ทำการของรัฐบาลในเมืองโอกลาโฮมาเมื่อปี ค.ศ. 1995 ก็เป็นทหารผ่านศึกของสงครามอ่าวเปอร์เซีย

จริงที่ซัดดัมเข้ายึดครอง คูเวตโดยใช้กองกำลัง ทว่าสหรัฐฯสามารถใช้วิธีทางการทูตได้แต่ไม่ทำเท่านั้นเอง อันสะท้อนว่า สงครามบางทีไม่ใช่ "สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้" แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นสูงรวมไปถึงการปลุก ปั่น โกหกตอแหลของสื่อมวลชน หากอ่านบทความนี้แล้วหันกลับมาวิเคราะห์สงครามที่เคยเกิดในบ้านเราเมื่อไม่ นานมานี้เช่นสงครามบ้านร่มเกล้าที่ไทยรบกับลาว (พ.ศ.2531) หรือความพยายามที่จะทำให้ไทยรบกับเขมรของบุคคลบางกลุ่มในปัจจุบันก็คงจะก่อ ให้เกิดกุศลแก่คนอ่านไม่มากก็น้อย






Credit: http://www.bloggang.com
28 พ.ค. 53 เวลา 17:26 5,861 9 118
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...