http://www.patjaa.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%87-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2/
รู้แล้วจะอึ้ง!! ความเข้าใจผิดใน วิชาไสยศาสตร์ ที่คนทั่วไปไม่รู้ ”แต่คุณจะได้รู้เกี่ยวกับข้อมูลนี้” เดรัจฉานวิชา!!
ความเข้าใจผิดในวิชาไสยศาสตร์ ที่คนทั่วไปไม่รู้ จะนำมาให้ทุกคนได้รับทราบกัน
เหตุที่ต้องกล่าวถึงเรื่องนี้เพราะสมัยนี้คนไม่เข้าใจวิชาไสยศาสตร์ โดยเฉพาะไสยศาสตร์ด้านเสน่ห์ ถูกกล่าวหาว่าเป็นศาสตร์ลามก ที่จริงแล้วผู้ปฎิบัตินั้่นแหละลามก ตัววิชาไม่ได้ลามกเสื่อมเสียเลย เพราะคนทั้งหลายไม่รู้และเข้าใจในวิชาต่างๆเหล่านี้ จึงต้องเสียตัวเสียเงินให้กับหมอเสน่ห์ ที่ไม่มีคุณธรรมเป็นจำนวนมาก มีทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว ทั้งลือกันไปต่างๆ นานา ว่าถ้าฝึกวิชาไสยศาสตร์มากๆ แล้วจะเป็นบ้าบ้าง ร้อนวิชาบ้าง เป็นเหตุให้คนทั้งโลกประณามวิชาไสยศาสตร์ว่าเป็น”เดรัจฉานวิชา
ทั้งที่จริงๆแล้ว”เดรัจฉาน”แปลว่า”ขวาง”
“เดรัจฉานวิชา”จึงแปลว่าวิชาที่ขวางทางไปพระนิพพาน กล่าวถึงที่สุดคือเรียกว่า”อวิชชา”คือความไม่รู้ ทั้งที่จริงๆ แล้ววิชาที่ไม่เป็นเดรัจฉานวิชานั้นมีเพียงวิชา สมถะกรรมฐานและวิชาวิปัสสนากรรมฐาน เพียงสองวิชาเท่านั้น ที่จะทำให้สัตว์โลกไม่ติดกับกิเลส ไม่ติดในกองทุกข์ และไม่ติดอยู่ในโลก
ส่วนวิชาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น วิชาคณิตศาสตร์ การเงิน การบัญชี วิทยาศาสตร์ กราฟฟิคดีไซด์ การทหาร ศิลปะศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้สัตว์ติดอยู่ในโลก ต้องคอยแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน หลงติดอยู่ในอำนาจ คอยแต่จะประหัตประหารกัน ทำร้ายซึ่งกันและกัน ข่มเหงรังแกมนุษย์ด้วยกันตลอดจนถึงสัตว์โลกชนิดอื่นๆ ก็ถูกมนุษย์รังแกอย่าง แสนสาหัส ซึ่งวิชาเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเดรัจฉานวิชาทั้งสิ้น เป็นอวิชชาทั้งหมด เพราะทำให้สัตว์ติดอยู่ในโลกติดอยู่ในสงสาร วนเวียนแบบนี้เรื่อยไปนับเป็นกัปล์ เป็นอสงค์ไขย มนุษย์ทั้งหลายก็ยังคงสรรเสริญความรู้เหล่านี้ว่าดีเลิศประเสริฐศรี ปล่อยให้กิเลสมันหลอกอยู่อย่างนี้มาตลอด วิชาไสยศาสตร์เสียอีกที่ชักนำให้ต้องฝึกสมาธิ ใช้สมถะกรรมฐานเป็นบาทฐานแห่งพลังจิต เหมือนหลอกเด็กว่าจะให้กินขนม แต่ต้องกินยาเสียก่อน คือต้องฝึกสมาธิก่อนแล้วค่อยใช้คาถาอาคมจึงจะได้ผล ต้องทำจิตให้เข้าถึงคุณพระเสียก่อนจึงจะสามารถดึงแรงครูมาใช้ให้เกิดฤทธิ์ได้ สอนให้ศิษย์เจริญอานาปานสติภาวนามัยอยู่เสมอ ระลึกถึงคุณพระเสมอ จิตของศิษย์ก็จะอ่อนน้อมเข้าสู่กระแสธรรมเองโดยอัตโนมัติ และยิ่งมีกำลังสมาธิสูงมากเท่าไหร่ คุณธรรมในใจที่เพาะบ่มในใจก็จะเติบโตขึ้นมาเท่านั้น จนท้ายที่สุดก็จะละวางวิชาไสยศาสตร์ลงไปเองโดยปริยาย และจะฝึกเพื่อละวางกิเลสโดยตรงอย่างเดียว เท่าที่เห็นครูบาอาจารย์ทางไสยศาสตร์หลายๆท่านก็จะเป็นไปตามนี้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น คุณพ่อ อ.ชุม ไชยคีรี,อ.ฟ้อน ดีสว่าง,อ.เทพย์ สาริกบุตร,หลวงพ่อกวย ชุตินธโร วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท ฯลฯ เพราะว่าพระนิพพานเป็นปลายทางของทุกคน
ศาสนากับไสยศาสตร์มีความคล้ายคลึงกันหลายประการ โดยเฉพาะศาสนาแบบชาวบ้าน ซึ่งมีการผสมผสานความเชื่อต่างๆ เข้าด้วยกัน ศาสนา และไสยศาสตร์ เชื่อสิ่งเหนือธรรมชาติ ที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ มีพิธีกรรมหลายอย่างที่คล้ายกัน การปฏิบัติในชีวิตประจำวันในหลายๆ กรณีก็ไม่แตกต่างกัน
ความแตกต่างระหว่างศาสนากับไสยศาสตร์ที่สำคัญ คือ
ศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพื่อเป้าหมายสูงสุด อันได้แก่ ความหลุดพ้นจากทุกข์ ความสุขอันสมบูรณ์ เมื่อจากโลกนี้ไป เป็นคำอธิบายถึงสาเหตุแห่งทุกข์และแนวทางปฏิบัติ เพื่อการพ้นทุกข์นั้น ซึ่งจะต้องปฏิบัติทุกวัน จนตลอดชีวิต
ไสยศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการควบคุมอำนาจอันลึกลับ ซึ่งเชื่อว่า มีอยู่ในโลก ในธรรมชาติ และในจักรวาล เพื่อให้อำนาจนั้น บันดาลให้เกิดผลที่พึงปรารถนา เช่น การรักษาโรค การทำเสน่ห์ยาแฝดให้ผู้คนหลงใหล การสักลายต่างๆ เพื่อความอยู่ยงคงกะพัน การแขวนวัตถุมงคล เพื่อให้พ้นภัย การทำอิทธิปาฏิหาริย์ เพื่อให้เกิดผลที่ต้องการ การท่อง บ่นคาถา เป็นต้น
ไสยศาสตร์มีทั้งไสยศาสตร์ขาว ซึ่งเป็นวิธีการให้เกิดผลดี โชคลาภ และสิริมงคล เช่น การ รักษาโรคต่างๆ มีไสยศาสตร์ดำ ซึ่งกระทำ เพื่อให้เกิดผลร้ายต่อผู้อื่น เช่น การเสกตะปูเข้าท้อง การทำร้ายด้วยเวทมนตร์คาถา เป็นต้น จะเท็จจริงแค่ไหน เป็นเรื่องที่ผู้คนจำนวนมากยังเชื่อกันอยู่
ไสยศาสตร์จึงเป็นเรื่องการใช้อำนาจลึกลับ เพื่อผลประโยชน์เฉพาะหน้า ให้ได้สิ่งของต้องประสงค์ ไม่ใช่วิถีปฏิบัติ เพื่อผลระยะยาว ที่ทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข และเพื่อความหลุดพ้น ไสยศาสตร์ยังอยู่ในความโลภ และความปรารถนา สำหรับตน แม้อาจจะแก้ปัญหาระยะสั้นได้ แต่ไม่อาจจะช่วยให้พ้นทุกข์ในระยะยาวได้
ศาสนาสอนให้มีความอ่อนน้อมต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และอำนาจเหนือธรรมชาติ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างสม่ำเสมอ ไสยศาสตร์ทำให้คนเชื่อว่า ตนเองมีอำนาจในการควบคุมอำนาจลึกลับต่างๆ เพื่อประโยชน์ของตน
การปฏิบัติศาสนากลายเป็นเรื่องไสยศาสตร์ไป เมื่อคนปฏิบัติศาสนา โดยคิดแบบไสยศาสตร์ ปฏิบัติเพื่อผลเฉพาะหน้า บนบานขอโชคลาภ เช่น การแขวนพระ น่าจะมีความหมายเพียง เพื่อเตือนสติให้รำลึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า คนจำนวนมากแขวนพระ เพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง ให้พระคุ้มครองรักษา โดยอาจจะไม่เคยคิดถึงพระธรรม หรือรักษาศีลเลย คนที่คิดเช่นนี้ย่อมสงสัยว่า ทำไมทำดีไม่ได้ดีเสมอไป ทำไมคนชั่วจึงได้ดีมีบ่อยครั้ง คนที่ปฏิบัติศาสนาอย่างถูกต้องจะไม่สงสัยหลักธรรมข้อนี้เลย เพราะเขาทำดีเมื่อใด เขาก็ได้ดีในจิตใจเมื่อนั้น ไม่ได้หวังผลตอบแทนเป็นลาภยศ นอกนั้นชีวิตของเขาที่ประกอบแต่กรรมดี ย่อมเป็นชีวิตที่ดีงามอยู่แล้ว
ทุกศาสนาจะมีปัญหาความสับสนระหว่าง ศาสนากับไสยศาสตร์ เพราะศาสนิกจำนวนหนึ่ง ยังคงยึดติดกับความเชื่อ ที่ผสมผสานกับศาสนา ส่วนใหญ่เป็นความเชื่อท้องถิ่น ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องผีมากที่สุด นอกนั้น ถ้าหากความเชื่อในศาสนาไม่แข็งแกร่งพอ ก็ย่อมยังมีความโลภ และความเห็นแก่ตัว วิธีคิดจึงยังคงเป็นไป เพื่อประโยชน์เฉพาะหน้าของตน มากกว่าที่จะคิดถึงคุณค่า ความดีงาม และความหลุดพ้น
การเรียนไสยศาสตร์ให้สัมฤทธิ์ผลนั้น เป็นเรื่องของการฝึกจิตให้เกิดสมาธิผนวกกับอำนาจของแรงครูและศรัทธาของตัว ผู้เรียนเอง ตามหลักการแล้วเราสามารถจำแนกประเภทของผู้เรียนไสยศาสตร์ ได้สามประเภท ซึ่งจะเกิดสัมฤทธิ์ผลได้สองประเภทตามนี้
ประเภทที่ 1 เรียกว่าพวกโง่ที่สุด คือมีการศึกษาวิชาไสยศาสตร์น้อย แต่มีศรัทธาสูง มีจิตมั่นในไสยเวท อาจารย์สั่งอะไรก็เชื่อตามนั้น ไม่ลังเลสงสัย สามารถเสกคาถาอาคมให้เกิดผลสำเร็จตามปราถนาได้ แสดงฤทธิ์ได้ จะยกตัวอย่างให้เข้าใจชัดเจนตามนี้ เกี่ยวกับ คำบริกรรมว่า “นะ โม พุท ธา แยะ” มีพระรูปหนึ่งเรียนกรรมฐานจากพระอาจารย์ท่านหนึ่ง โดยให้บริกรรมว่า “นะ โม พุท ธา ยะ” แต่พระรูปนั้น ท่านจำผิดว่า “นะ โม พุท ธา แยะ” เมื่อท่านเข้าไปบำเพ็ญเพียรในป่า ด้วยคาถา “นะ โม พุท ธา แยะ” นี้ ท่านสามารถเนรมิตสิ่งต่างๆ ได้ สามารถแสดงปาฏิหาริย์ได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นคำบริกรรมที่ผิด แต่เพราะความศรัทธาและมั่นใจในตัวคาถาตลอดจนครูบาอาจารย์ จึงทำให้ท่านไม่มีความลังเลสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น ทุกอย่างจึงสัมฤทธิ์ผล
จนกระทั่งวันหนึ่ง มีคณะพระภิกษุเข้าไปธุดงค์ในป่า ไปพบภิกษุรูปนี้เข้า ท่านเองจึงเนรมิตสิ่งต่างๆ ถวาย ด้วยฤทธิ์ที่เกิดจากการบริกรรมพระคาถา “นะ โม พุท ธา แยะ” นี้เอง เพื่อเป็นการต้อนรับ ทำให้คณะพระธุดงค์เกิดความเลื่อมใส จึงถามว่า ท่านบริกรรมคาถาอะไรถึงได้เก่งขนาดนี้ พระองค์นี้จึงตอบว่า “นะ โม พุท ธา แยะ” คณะพระธุดงค์ถึงกับตกใจ และตอบไปว่า ท่านท่องคาถามาผิดแล้วนะ อันที่จริงต้องท่องว่า “นะ โม พุท ธา ยะ” ต่างหาก พระรูปนี้ถึงกับจิตตกที่ตนท่องผิด เมื่อจิตมีความเศร้าหมอง การแสดงปาฏิหาริย์ต่างๆ จึงไม่เป็นผล ท่านเกิดความร้อนใจ จึงรีบออกจากป่าไปหาพระอาจารย์ที่เคยเรียนวิชามา เมื่อไปถึง ท่านจึงถามพระอาจารย์ว่า ผมท่องคำบริกรรมผิดหรือครับ ด้วยความฉลาดของพระอาจารย์ ท่านรู้ว่าถ้าตอบตรงๆ จะทำให้เสียหายใหญ่ จึงตอบว่า ที่ว่า “นะ โม พุท ธา ยะ” นั้น เป็นตัวผู้ ที่ว่า “นะ โม พุท ธา แยะ” นั้น เป็นตัวเมีย จะใช้อย่างไหนก็ได้เหมือนกัน ที่ตอบอย่างนี้ก็เป็นการรักษากำลังใจไม่ให้จิตตก เมื่อพระลูกศิษย์ได้รับคำตอบแล้ว รู้สึกดีใจ จึงรีบกลับเข้าไปในป่าอีกครั้งหนึ่ง ในเมื่อท่านเข้าใจว่าคำบริกรรมทั้งสองนั้นไม่ผิด จิตของท่านจึงไม่มีความกังวลใดๆ ความผ่องใสแห่งจิตจึงเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ไม่ว่าจะบริกรรมด้วยคาถาใดก็ตาม สามารถแสดงฤทธิ์ได้ทั้งนั้น ดังนั้น ความศรัทธาสูงและมั่นในพระคาถา จึงมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับผู้เรียน
ประเภทที่ 2 เรียกว่าพวก เชื่อครึ่งๆ กลางๆ มีความลังเลสงสัยมาก กล่าวคือมีการศึกษามาก ทำให้ลังเลสงสัยในเรื่องจิตและวิชาไสยศาสตร์ กังวลว่าเสกแบบนี้แล้วจะเป็นไปตามคำสั่งอาจารย์จริงหรือเปล่า หรือเรียนวิชามาหลายแห่งแต่ข้อมูลที่ได้มาไม่เหมือนกัน เช่นเรียนวิชาเดียวกันแต่วิธีการต่างกัน ทำให้เกิดสงสัยในตัววิชา ส่งผลให้ความเชื่อมั่นลดลง และทำให้อำนาจจิตลดลงด้วยเช่นกัน คนประเภทนี้จึงเรียนให้สัมฤทธิ์ผลได้ยาก นอกจากจะพัฒนามาเป็นประเภทที่ 3
ประเภทที่ 3 เรียกว่าพวกฉลาดที่สุด พวกนี้มีความเข้าใจเรื่องจิต เรื่องคุณพระ รักพระพุทธเจ้า รักครูบาอาจารย์จริงๆ เข้าถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า รู้ที่มาของอักขระตัวคาถา ว่ามาจากไหน เหตุใดตัวคาถาไม่กี่ตัว จึงมีอิทธิปาฏิหาริย์มากนัก เข้าถึงความมหัศจรรย์แห่งจิต สามารถสัมผัสพลังคุณพระได้ จิตจึงไม่มีความลังเลสงสัย เพราะได้ทำการค้นคว้าหาเหตุผลอยู่ตลอดเวลาจนเข้าใจ และเข้าถึงคุณพระ สามารถเสกคาถาอาคมให้เกิดผลสำเร็จตามปราถนาได้ แสดงฤทธิ์ได้เหนือล้ำกว่าประเภทแรก และมีความพิศดารมากกว่า
คำว่า ไสย หมายถึง ลัทธิอันเนื่องด้วยเวทย์มนต์ คาถา และวิทยาคม ไสยนั้นแบ่งออกเป็น
ไสยขาว อันหมายถึงวิชชาอันลึกลับใช้เวทย์มนต์ไปในทางที่ดี เช่นการทำเครื่องราง ของขลังและวัตถุมงคลต่างๆ เพื่อป้องกันภัยอันตราย หรือเพื่อเป็นเมตตามหานิยม เมตตามหาเสน่ห์และอิทธิวิธี
ส่วนไสยดำ หมายถึงวิชชาที่กระทำคนให้เป็นไปต่างๆนาๆเช่น ปล่อยคุณไสย ปล่อยตะปูเข้าท้องคนอื่น ปล่อยหนังควายเข้าท้อง บิดลำใส้ ปล่อยผีไปทำร้ายผู้อื่นให้มีอันเป็นไปต่างๆนาๆ นำบาตรวัดร้างไปฝังเพื่อทำให้บ้านแตกสาแหรกขาด เป็นต้น
คำว่า“ไสย”นี้แปลความหมายอีกอย่างก็หมายถึงสิ่งที่ลึกลับที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเนื้อได้นอกจากเมื่อมันได้ออกมาเป็นผลลับแล้วเท่านั้น
ส่วนคำว่า“ศาสตร์”หมายถึง ตำรา วิชา วิทยา คำสั่ง ข้อบังคับบัญชา ศาสนา รวมเข้ากับไสย เป็น”ไสยศาสตร์”อันหมายถึง ตำราทางไสยยาศาสตร์ลึกลับเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาร เวทย์มนต์ คาถา อำนาจจิต เป็นต้น
“ไสยเวทย์ ไสยศาสตร์”หมายถึงตำราทางไสย วิชาทางไสย ไสยศาสตร์ เป็นวิชาว่าด้วยลัทธิเวทย์มนต์คาถาและวิยาคมเป็นศาสตร์ๆหนึ่งที่แยกย่อยมาจากศาสตร์ 18 ประการของอินเดียโบราณ
ไสยศาสตร์แทรกอยู่ในความเชื่อของคนไทยมาตราบนานเท่านานกว่า ๗,๐๐๐ ปี และแทรกอยู่กับความเป็นอยู่ของคนไทยตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย เช่นการเสกทำน้ำมนต์ให้คลอดง่าย โกนผมไฟ ทำขวัญ สร้างบ้านใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ ทำขวัญ สวดบ้าน ตราสังข์ ทำโลงศพ เอาศพลงจากเรือน ทำประตูป่า ทำบันไดผี นำศพขึ้น เผา การเสกน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ และประเพณีไทยหลายๆอย่างล้วนแต่แทรกด้วยไสยศาสตร์ทั้งสิ้น ไม่ว่าวิทยาศาสตร์จะเจริญไปถึงไหนเพียงใดวิทยาการอินฟอเมชั่นเทคโนโลยี่จะก้าวหน้าไปเพียงใดขนาดไหน แต่ความเชื่อทางไสยศาสตร์ไม่มีวันที่จะหมดไปจากมนุษย์ชาติได้เหตุผลเพราะว่าเป็นศาสตร์ๆหนึ่งที่ดำรงอยู่ในโลกมนุษย์มานาน มากแล้วและมิใช่เพียงแต่เมืองไทยเท่านั้นที่มีความเชื่อในด้านไสยศาสตร์หลายๆประเทศที่เจริญและพัฒนาแล้วก็ยังมีความเชื่อในด้านไสยศาสตร์ของประเทศนั้นนั้นอยู่
ส่วนพิธีกรรมไสยกรรมนั้นอาจไม่เหมือนกัน ในเมืองไทยในแต่ละภาคนั้นการประกอบพิธีกรรมต่างๆในแต่ละภาคนั้นก็ไม่เหมือนกัน สรุปแล้วไสยศาสตร์และไสยเวทย์มิใช่สิ่งที่ เลวร้ายขึ้นอยู่กับผู้ที่นำไปใช้เช่นการสกยันต์หากสักแล้วไม่ไปเป็นโจรผู้ร้ายไม่ไปปลิ้นชิงรบราฆ่าฟันเบียดเบียนเขาและตั้งตนอยู่ในศีลธรรมของนั้นก็จะคงทนถาวรไม่เสื่อม และยิ่งเข้มขลังยิ่งนัก และเป็นไสยศาสตร์ที่ประดับบารมีชายชาตรีมาแต่โบราณกาล ดังหลักฐานบันทึก .ความทรงจำ.พระนิพนธ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า
สงสัยกันหรือเปล่า ทำไม ต้องเป็น อักษร ขอม ToriTalk อธิบายให้
อักษรขอมพัฒนามาจากอักษรปัลลวะ และอักษรยุคหลังจากนั้นในอินเดียใต้ ใช้ในอาณาจักรต่างๆสองฝั่งแม่น้ำโขงตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนคร ต่อมาจึงกลายเป็นอักษรท้องถิ่นในสมัยพระนคร และเป็นต้นแบบของอักษรไทยและอักษรเขมรในปัจจุบัน
เอกลักษณ์ของอักษรขอมคือเปลี่ยนบ่าอักษรของอักษรปัลลวะเป็นศกหรือหนามเตย อักษรนี้พัฒนาไป 2 ทิศทาง คือ เป็นอักษรขอมในประเทศไทย (ใช้เขียนภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาเขมร) และอักษรขอมในประเทศกัมพูชา (ใช้เขียนภาษาเขมร ภาษาบาลี)
อักษรขอมไทยกับขอมกัมพูชา
หนังสือบางเล่มมักจะใช้คำว่า อักษรขอมแบบของไทย เพราะได้พบหลักฐานชื้นหนึ่งที่ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้กล่าวถึงไว้ ในหนังสือ “ตำนานอักษรไทยของท่าน” ซึ่งทำให้วิเคราะห์ได้ว่า อักษรขอมนั้น แท้จริงก็คืออักษรแขก หรืออักษรอินเดียใต้ เมื่อชาวอินเดียใต้เป็นผู้นำพุทธศาสนามาเผยแพร่นั้นก็ได้นำหนังสือของตน หรือหนังสือ (อักษร) ปัลลวะของอินเดียใต้มาเผยแพร่ด้วย ดังนั้น หนังสือเหล่านี้จึงปรากฎว่ามีทั่วไปทั้งในกัมพูชาในชวา และสุมาตรารวมทั้งในสยามประเทศด้วย (รวม พ.ศ. 1100 – 1600)
เมื่อประเทศต่าง ๆ เหล่านี้รับวัฒนธรรมตลอดกระทั่งศาสนาของชาติอินเดียมาปรับปรุงใช้ในประเทศของตน ประเทศเหล่านี้ซึ่งยังไม่มีหนังสือของตนใช้มาก่อน จึงยินดีรับหนังสืออินเดียใต้มาใช้เป็นหนังสือของชาติตนด้วย แต่ครั้นกาลล่วงมานานความนิยมในการเขียนการใช้และความคล่องหรือคุ้นเคยในการเขียนอักษรอินเดียของแต่ละท้องถิ่นย่อมแตกต่างกันไปเป็นธรรมดา และก็ได้เกิดเป็นประจักษ์พยานให้เห็นว่า อักษรขอมที่กัมพูชาใช้เขียนนั้น แตกต่างกับอักษรขอมที่สยามเขียนส่วนจะต่างกันอย่างไรนั้นผู้ศึกษาจงใช้ข้อสังเกตอ่านเอาจากข้อเขียนของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ในหนังสือตำนานอักษรไทยของท่านตอนหนึ่งว่า “ในสยามประเทศนี้พวกสัตบุรุษเคยได้ใช้ตัวอักษรขอมชนิดนี้ (หมายเหตุท่านคงหมายถึงชนิดที่ไทยใช้) ตั้งแต่ครั้งเมื่อสุโขทัยเป็นราชธานีมีตัวอย่างในศิราจารึกวัดป่ามะม่วงภาษามคธเป็นคาถาซึ่งมหาสามีสังฆราช (สังฆราชของประเทศลังกา ซึ่งเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อเผยแพร่ลัทธิลังกาวงศ์หรือลัทธิเถรวาท) ได้แต่งสรรเสริญพระเกียรติยศของพระยาลือไทย (พระธรรมราชาที่ 1) เวลาเสด็จออกทรงผนวช เมื่อ พ.ศ 1905 (ประชุมศิลาจารึกหลักที่ 4) ตัวอักษรในศิลาจารึกนั้น หาเป็นชนิดเดียวกันกับตัวอักษรขอมในศิลาจารึกภาษามคธของพระมหาสามีสังฆราชไม่ ตัวอักษรในศิลาจารึกภาษาเขมรเหมือนกับตัวอักษรจารึกกรุงกัมพูชา เมื่อราว พ.ศ. 1800 ยังไม่ได้เปลี่ยนรูปสัณฐาน เป็นอักษรขอมที่เขียนหนังสือธรรม เหตุที่ในแผ่นดินพระยาลือไทธรรมราชา มีอักษรขอมใช้ทั่วไปชนิดนี้ อาจเป็นเช่นนี้คือ ศิลาจารึกภาษาเขมรเขียนตามแบบเก่าของเขาแต่ศิลาจารึกภาษามคธนั้นเป็นฝีมือคนไทยเขียน หลักฐานชิ้นนี้ น่าจะสันนิษฐานว่า ชนชาติขอมโบราณคงศึกษาลอกแบบอักษรจากอินเดียมาใช้ของตนแบบหนึ่ง ชาติไทยโบราณก็ได้ศึกษาลอกแบบอักษรจากอินเดียมาใช้ของตนแบบหนึ่งเช่นกัน เรียกว่า ต่างคนต่างลอกมาใช้ในภาษาของตน ต่างคนต่างปรับปรุง และลอกคัดตามความเหมาะสมและรสนิยมของชาติตน ยิ่งเวลาล่วงเลยมานานเข้าก็ยิ่งแตกต่างกันมากขึ้น
อย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าอักษรนั้น ดั้งเดิมจะมีที่มาจากแหล่งเดียวกันก็คือ อินเดียก็ตาม ฉะนั้น จึงไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าไทยเอาอย่างจากขอมหรือขอมเอาอย่างจากไทย เพราะหลักฐาน ก็แจ้งจัดอยู่ในศิราจารึกแล้วว่าต่างกันอย่างไร หาใช่ต่างกันเพราะลายมือ ชาตินั้น ชาตินี้เขียนไม่ เช่นเดียวกับอักษรโรมัน ที่ชาติโรมันนำไปเผยแพร่ในทวีปยุโรปชาติต่าง ๆ มีเช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฯลฯ ก็ล้วนแต่ใช้อักษรโรมัน เขียน ภาษาของตนทั้งสิ้นไม่เห็นมีใครเคยอ้างว่า อังกฤษเอาอย่างฝรั่งเศส หรือฝรั่งเศสเอาอย่างอักษรเยอรมัน
อักษรขอมในประเทศไทย
พบหลักฐานการใช้อักษรขอมโบราณเขียน ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ในบริเวณภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ของประเทศไทยปัจจุบัน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ แต่จะไม่พบเอกสารโบราณประเภทจารึกที่ใช้อักษรขอมโบราณ ในแถบภาคเหนือตั้งแต่จังหวัดตากขึ้น ไป หลักฐานทำนองนี้รวมไปถึงโบราณสถาน ที่เรียกว่า ปราสาทหิน ปราสาทอิฐ และพระปรางค์แบบกัมพูชา หรือลพบุรีที่มีอยู่ทั่วไปในภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ แต่ไม่เคยปรากฏอยู่ทางภาคเหนือ
ในประเทศไทย อักษรขอมถือเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ ใช้ในงานด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่ อักษรขอมที่ใช้เขียนภาษาบาลีเรียก อักษรขอมบาลี ส่วนที่ใช้เขียนภาษาไทยเรียก อักษรขอมไทย ซึ่งมีอักขรวิธีต่างจากอักษรขอมกลุ่มอื่นๆ ต่อมา อักษรขอมไทยถูกแทนที่ด้วยอักษรไทย ส่วนอักษรขอมบาลียังคงใช้เขียนภาษาบาลีเรื่อยมา แม้จะมีการพัฒนาอักษรไทยและอักษรอริยกะมาเขียนภาษาบาลีก็ตาม อักษรขอมบาลีถูกยกเลิกไปในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม
พยัญชนะมีทั้งหมด 35 ตัว โดยแต่ละตัวมีทั้งรูปตัวเต็มกับตัวเชิงหรือพยัญชนะซ้อน มีการจัดแบ่งเป็นวรรคตามระบบภาษาสันสกฤต
พยัญชนะมีทั้งหมด 35 ตัว โดยแต่ละตัวมีทั้งรูปตัวเต็มกับตัวเชิงหรือพยัญชนะซ้อน มีการจัดแบ่งเป็นวรรคตามระบบภาษาสันสกฤต
รูปพยัญชนะตามผังอักษรข้างต้นถอดเป็นพยัญชนะไทยได้ดังนี้
วรรค กะ (แถวที่ 1 จากบน) ก ข ค ฆ ง
วรรค จะ (แถวที่ 2) จ ฉ ช ฌ ญ
วรรค ฏะ (แถวที่ 3) ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
วรรค ตะ (แถวที่ 4) ต ถ ท ธ น
วรรค ปะ (แถวที่ 5) ป ผ พ ภ ม
เศษวรรค (แถวที่ 6) ย ร ล ว ศ (แถวที่ 7) ษ ส ห ฬ อ
สระ แบ่งเป็นสระลอยกับสระจม รูปสระลอยใช้เขียนคำที่มีเสียง อ มีทั้งหมด 8 ตัว ได้แก่
ไสยศาสตร์อิสลาม รุนแรงไม่แพ้ ไสยศาสตร์ใดๆ ToriTalk อธิบายให้
ไสยศาสตร์อิสลาม! ใครว่าไสยศาสตร์เป็นเรื่องต้องห้ามในอิสลาม แต่มุสลิมหลายคนกล่าวว่าไม่เกี่ยวข้องกับอิสลาม
แต่อัลกุรอ่านได้อธิบายสิ่งนี้ไว้ นั่นคือเรื่องไสยศาสตร์ มันก็ต้องเกี่ยวข้องกับอิสลามโดยเฉพาะความเชื่อว่าไสยศาสตร์มีจริงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
1.และพวกเขาได้ปฏิบัติตามสิ่งที่บรรดาชัยฏอนในสมัยสุลัยมานอ่านให้ฟัง และสุลัยมานไม่ได้ปฏิเสธความศรัทธา แต่ทว่า 2.ชัยฏอนเหล่านั้นต่างหากที่ปฏิเสธความศรัทธาโดยการสอนไสยศาสตร์ให้แก่ผู้คนและ 3.สิ่งที่ถูกประทานมาแก่มลาอิก๊ะฮฺทั้งสองคือฮารูตและมารูต ณ เมืองบาบิล และเขาทั้งสองจะไม่สอน ผู้ใดจนกว่าจะกล่าวว่า “แท้จริง เราแค่เป็นผู้ทดสอบเท่านั้น ท่านจงอย่าปฏิเสธความศรัทธาเลย” แม้กระนั้น 4. ผู้คนก็ยังศึกษาจากเขาทั้งสอง 5.ซึ่งมันได้เป็นสาเหตุให้เกิดการแตกแยกระหว่างผู้ชายกับภรรยาของเขา และ 6.พวกเขาไม่อาจใช้สิ่งนั้นทำอันตรายแก่ผู้ใดได้นอกจากด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺเท่านั้นและ 7.พวกเขาก็เรียนสิ่งที่เป็นอันตรายต่อพวกเขาและมิได้เป็นคุณแก่พวกเขา และแน่นอน 8.พวกเขารู้ว่าใครก็ตามที่ซื้อมันจะไม่มีส่วนแห่งความดีใดในโลกหน้าและความชั่วคือราคาที่พวกเขาขายชีวิตของพวกเขาถ้าหากพวกเขารู้ (กุรอาน 2:103)
อธิบายได้ดังนี้
1. สุลัยมานได้รับไสยศาสตร์มาจากมลาอิกะห์ หรือเทวทูตสองท่านชื่อ ฮารูตและมารูต ซึ่งสุลัยมานยังคงเป็นมุสลิม (ไม่ปฏิเสธศรัทธา) 2. ชัยฏอนก็ได้สอนไสยศาสตร์ให้แก่ผู้คน โดยที่มาจากแหล่งเดียวกันคือ เทวทูตสองท่านนั้น 3. อัลลอฮ์ให้มลาอิกะห์นำไสยศาสตร์ลงมาแก่สุลัยมาน รวมถึงคนอื่น ๆ เพื่อการทดสอบไม่ใช่การใช้งาน 4. นอกจากมลาอิกะห์สอนสุลัยมาน มลาอิกะห์สองท่านนั้นยังสอนคนอื่นอีกด้วย ไม่ใช่แค่ชัยฏอน 5. ผลของไสยศาสตร์ทำให้สามีภรรยาแตกแยกกัน 6. ไสยศาสตร์ทำอันตรายกับผู้ใดก็ได้ หากอัลลอฮ์อนุญาต 7. ไสยศาสตร์เป็นอันตรายกับตัวผู้เรียนด้วย และไม่มีคุณค่าใด 8. ราคาของไสยศาสตร์คือความความดีที่เสียไป
ถามว่า
1. ความพิเศษของสุลัยมานคือ สามารถติดต่อกับสิ่งมีชีวิตชนิดพิเศษอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ญิน” และสามารถใช้งานพวกมันได้ ไสยศาสตร์คือวิธีติดต่อและใช้งานพวกมันใช่หรือไม่ และการที่ชัยฏอนได้ยินวิธีการนี้และนำไปเผยแพร่ให้คนอื่น ๆ ก็เพราะพวกมันเป็นญิน 2. ไสยศาสตร์ของสุลัยมานตกทอดมาถึงปัจจุบันหรือไม่ 3. หากไสยศาสตร์ของสุลัยมานตกทอดมา ก็ต้องมี เพื่อการทดสอบ และใช้งานจริง ตรงนี้ตัดสินอย่างไร 4. อัลลอฮ์เกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์ เพราะไสยศาสตร์จะสำเร็จหรือไม่มันต้องผ่านการอนุมัติใช่หรือไม่
เป็นการพิสูจน์ว่า อิสลามกับไสยศาสตร์เป็นของคู่กันไม่ใช้สิ่งต้องห้ามอันใดและเป็นการพิสูจน์ว่า ไสยศาสตร์ ปัญญาและชีวิตเป็นสิ่งที่พระเจ้าประทานให้เพียงแต่ว่าให้ใช้ไปทางขาวหากจะใช้ไปทางมืดต้องขออนุญาติต่อพระอัลลอห์ ก่อน
ขอบคุณข้อมูลจาก ToriTalk