เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นไม่มีเซรุ่มแก้พิษงู ดังนั้นในปี 1975 "Karl P. Schmidt" นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานจึงได้ลงทุนและเสียสละชีวิตตนเอง เพื่อบันทึกอาการหลังจากถูกงูพิษกัด ให้คนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาต่อไป
โดย "Karl P. Schmidt" เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา แต่แล้วในขณะที่เขากำลังศึกษางูสายพันธุ์ใหม่ที่มาจากแอฟริกันอยู่ ซึ่งมีขนาดตัวยาวกว่า 30 นิ้ว และคาดว่าน่าจะเป็นงูพิษบูมสแลง...
เขาก็พลาดถูกมันกัดเข้าที่มือข้างซ้ายจมเขี้ยวเลยทีเดียว แต่แทนที่เขาจะรักษาพิษงูให้ทันท่วงที แต่เขากลับเลือกทำสิ่งที่อันตรายเป็นอย่างมาก โดยการหยิบสมุดขึ้นมาบันทึกอาการหลังจากถูกงูกัด
และถึงแม้ว่าจะมีคนห้ามและแนะนำให้พบแพทย์เพื่อฉีดยาต้านพิษงู แต่เขากลับปฏิเสธเพราะยาต้านพิษงูอาจส่งผลรบกวนการศึกษาอาการได้ ซึ่งในบันทึกของเขานั้นมีการบันทึกข้อมูลของงูพิษและอาการไว้อย่างละเอียดเลยทีเดียว
โดยพิษงูบูมสแลงนั้นมีความร้ายแรงมาก เพราะปริมาณแค่ 0.0006 มิลลิกรัม ก็สามารถฆ่านก 1 ตัวได้ภายในเวลาไม่กี่นาที และหลังจากที่เขาถูกงูกัด 24 ชั่วโมงต่อมาเขาก็เสียชีวิตลงเนื่องจากพิษงูเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เลือดของเหยื่อไหลออกจากร่างกายจนตายในที่สุด
ข้อมูลและภาพประกอบจาก "kapook" และ "viralnova"
http://hilight.kapook.com/view/128778