หลากหลายประโยชน์ของ ” นมแพะ” ที่คุณอาจไม่เคยรู้

ดื่มนมแพะแล้วดียังไง? มาหาคำตอบกัน

นมแพะ แหล่งอาหารที่สำคัญ เด็กที่แพ้นมวัวสามารถดื่มนมแพะได้

 

-นมแพะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ (โปรตีน คาร์โบไฮเดรท วิตามิน แร่ธาตุ และไขมัน) มีคุณค่าทางอาหารใกล้เคียงนมมารดา

-เป็นแหล่งโปรตีน มีวิตามินมากมาย เช่น เอ บี2 บี6 บี12 และซี สำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

-เป็นแหล่งแคลเซียม ฟอสฟอรัส และแร่ธาตุนานาชนิด เสริมสร้างกระดูก ฟัน และเลือดให้แข็งแรง ช่วยป้องกันโรคกระดูกผุ สามารถดื่มได้ทั้งเด็กในวัยเจริญเติบโต ผู้หญิง และผู้สูงอายุ

-มีกรดไขมันอิ่มตัวชนิดดีมากมาย เช่น กรดคาโพรอิค คาพรีลิค และคาปริค

-มีกรดอะมิโนหลายชนิด ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และเด็กที่แพ้นมวัว (โปรตีน)

ย่อยง่าย ดูดซึมเร็ว ได้พลังงานเร็ว และไม่สะสมไขมัน

-นมแพะมีโมเลกุลขนาดเล็ก มีสัดส่วนของ “กรดไขมันอิ่มตัวชนิดดีสายโซ่สั้นและกลาง” (Short and medium chain fatty acids or MCT – Medium chain triglycerides) จำนวนมากกว่านมวัว ทำให้มนุษย์สามารถย่อยสารอาหารในนมแพะ ไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย ได้ดี และมีประสิทธิภาพกว่านมวัว ที่มีกรดไขมันสายโซ่ยาวจำนวนมาก

-เราจะสามารถย่อยและดูดซึมนมแพะได้ในเวลา 20-30 นาที เมื่อเทียบกับนมวัวที่ใช้เวลาถึง 2-4 ชั่วโมง ไขมันในนมแพะจะให้พลังงานได้โดยตรงจากการย่อยและดูดซึม ไม่ต้องนำไปสะสมไว้ในเนื้อเยื่อไขมันก่อนร่างกายเลือกไปใช้ จึงไม่สะสมไขมันให้เหลือเป็นเซลลูไลท์

 

ลดคอเลสเตอรอล นิ่ว และไขมันโคเลสเตอรอลชนิดเลว

-กรดไขมันดีสายโซ่สั้นและกลาง ช่วยร่างกายเผาผลาญคอเลสเตอรอล ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลโดยรวม ลดคอเลสเตอรอลในเลือด สลายนิ่วในถุงน้ำดี และลดจำนวน LDL หรือไขมันโคเลสเตอรอลชนิดเลว (Low density lipoprotein แปลว่าไขมันที่ความหนาแน่นต่ำ หรือเซลลูไลท์นั่นเอง)

ช่วยการทำงานของเม็ดเลือดขาว เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคภูมิแพ้

-เอนไซม์ในนมแพะสามารถสลายสารก่อภูมิแพ้ก่อนเกิดอาหารแพ้ ช่วยสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย บรรเทาและรักษาอาการภูมิแพ้ หอบหืด โรคปอด โรคไซนัส

นมแพะช่วยให้พลังงานแก่ผู้ป่วย และช่วยดูดซึมวิตามินและสารอาหาร

-งานวิจัยให้ข้อมูลว่านมแพะมีประโยชน์ทางการแพทย์ โดยใช้รักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาการดูดซึมของวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหาร (malabsorption syndrome and intestinal disorders)

-นอกจากนี้ ยังถูกนำมาใช้เพื่อช่วยให้สารอาหารแก่ผู้ป่วย ในกรณีของการผ่าตัดลำไส้ บายพาสหลอดเลือดหัวใจ โรคลมชักในวัยเด็ก การให้นมทารกที่คลอดก่อนกำหนด โรคปอดเรื้อรัง และโรคนิ่ว

ที่มา : ข้อมูลจากงานวิจัยเรื่องนมแพะโดย ผศ. ดร. ศศิธร นาคทอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และงานวิจัยเรื่องนมแพะและโภชนาการมนุษย์โดย Park, Y.W. (2012) รับรองโดยมหาวิทยาลัย Putra Malaysia และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)

Credit: http://btsstation.com/32039
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...