http://www.patjaa.com/
คลายปริศนาหลายพันปี นี่แหละคือวิธีที่คนอียิปต์ใช้สร้างพีระมิด!
พีระมิดคูฟู หรือ พีระมิดคีออปส์รูปทรงสามเหลี่ยม จัดว่าเป็นสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ที่มีมีความเก่าแก่และมีขนาดใหญ่มากที่สุด ทั้งยังเป็น1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ทางประวัติศาสตร์ของโลกซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน เมื่อดูจากร่องรอยสัญลักษณ์ภายในพีระมิด คาดว่าถูกสร้างขึ้นในช่วง 2580-2560 ปีก่อนคริสตกาลจึงสามารถสร้างแล้วเสร็จด้วยความสูง 146.59 เมตร ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันผู้คนจำนวนไม่น้อยต่างรู้สึกแปลกใจเป็นอย่างมากว่า ช่วงก่อนคริสตกาลจะมีการใช้เทคโนโลยีหรือเทคนิคอะไรในการก่อสร้างอาคารให้มีประสิทธิภาพได้ขนาดนี้ ? หรือเป็นได้ว่านี่เป็นฝีมือของมนุษย์ต่างดาว?
ปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ภายในพีระมิดมีร่องรอยของท่อน้ำ ดังนั้นจึงสันนิษฐานกันว่าช่วงเวลาในการก่อสร้างพีระมิดนอกจากจะใช้กำลังคนจำนวนมาแล้ว การสร้างพีระมิดให้อยู่ในระหว่างกลางแม่น้ำ และสร้างทางส่งน้ำนั้น ก็เพื่อใช้แรงดันของน้ำเป็นทางผ่านในการขนส่งหินกว่า 2,300,000 ก้อนไปใช้ก่อสร้างนั่นเอง
ในความเป็นจริงแล้ว ก้อนหินถูกส่งมากจากเหมืองหินที่อยู่ไกลออกไป โดยคนงานใช้วัสดุดั้งเดิมอย่างหนังแกะและเชือกมาผูกเงื่อนต่อกันเป็นแพ จากนั้นก็นำหินผูกไว้กับแพแล้วปล่อยให้ลอยเข้าไปภายในพีระมิด
เพียงแค่มีการอัดอากาศเข้าไปในหนังแกะ ก็จะทำให้เกิดเป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้ลอยน้ำได้อย่างง่ายดาย ชาวอิยิปต์โบราณจึงใช้วิธีการนี้ในการขนส่งอุปกรณ์ก่อสร้างพีระมิด
ส่วนเชือกที่นำใช้มัดนั้นก็ทำมาจากพืชที่ขึ้นอยู่ริมน้ำอย่างต้นกกนั่นเอง
คนงานในเหมืองก็จะใช้ระดับน้ำและเครื่องมือทำการประมวลผล เพื่อเปลี่ยนแปลงขนาดของหินให้มีความเท่ากัน
หลังจากทำการเปลี่ยนรูปหินเสร็จแล้ว ก็ใช้แพหนังแกะขนส่งผ่านแม่น้ำ ช่วยในการลำเลียงหินส่งขึ้นไปยังส่วนต่างๆของพีระมิด
ความฉลาดของชาวอียิปต์โบราณในการใช้น้ำขนส่งก้อนหิน เป็นเทคนิคที่ยอดเยี่ยมจริงๆ!
เพียงแค่บรรจุน้ำให้เต็มปริมาณ ก็สามารถลดการใช้แรงงานลงไปได้ เพราะน้ำมีแรงดันจำนวนมากพอที่จะดันหินส่งขึ้นไปโดยอัตโนมัติ
เพียงแค่นำเอาอุปกรณ์มาช่วยพยุงวัตถุที่มีน้ำหนักให้ลอยตัวอยู่บนน้ำได้ ก็จะสามารถใช้พยุงเพื่อขนส่งวัสดุได้ด้วย
ทั้ง 4 ด้านของพีระมิด ต่างก็มีท่อน้ำที่ใช้ในการขนส่งหินเป็นของตนเอง
คนงานเพียงแค่ประมาณตำแหน่งในการก่อสร้างให้เหมาะ แล้วแกะหิน ออกจากแพก็จะสามารถประหยัดเวลาและแรงงานในการเคลื่อนย้ายหินไปยังตำแหน่งที่ถูกต้องได้
ท่อน้ำที่ถูกสร้างให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ นั้นเป็นไปตามการสร้างขึ้นพีระมิดในแต่ละชั้นที่สูงขึ้นไป ซึ่งทุกชั้นจะมีการกำหนดมุมความลาดเอียงไว้อย่างแน่นนอนที่ 53 องศา
โดยมุมดังกล่าวได้ผ่านการคำนวณมาเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่าท่อน้ำจะมีสถานะความลาดเอียงเหมาะสมต่อการลำเลียงหินส่งขึ้นไป ดังนั้นหลังจากก่อสร้างพีระมิดแล้วทั้ง 4 ด้านจึงมีขนาดของมุมองศาที่เท่ากัน
ผู้เชี่ยวชาญยังสันนิษฐานอีกว่า ชาวอียิปต์โบราณน่าจะใช้วิธีวัดมุม 53 องศา มากำหนดขนาดการสร้างมุมองศาของหินแต่ละก้อนด้วย
และหลังจากที่สร้างพีระมิดแล้วเสร็จ ก็ทำการเปิดประตูระบายน้ำออกเพียงเท่านี้น้ำก็จะไหลออกไปจนหมด
และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็มีหลักฐานว่ามี นักวิชาการที่ศึกษาพีระมิดพบร่องรอยของทางระบายน้ำที่ยังหลืออยู่
หลังจากการก่อสร้างพีระมิดแล้วเสร็จ ก็มีสิ่งสร้างขนาดใหญ่ทางประวัติศาสตร์อีกจำนวนมากที่ใช้วิธีการขนส่งทางน้ำแบบนี้ไปช่วยในการก่อสร้าง อย่างเช่นที่นครวัด เป็นต้น
สมัยก่อนชาวกรีกเชื่อว่า การก่อสร้างพีระมิดต้องใช้แรงงานและทาสจำนวนมาก แต่ปัจจุบันจากหลักฐานอ้างอิงต่างๆทำให้พบว่า พีระมิดสร้างมากจากแรงงานที่ทักษะความรู้จำนวนกว่าหมื่นคน ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการลอยตัวของวัตถุในการขนส่งทางน้ำนั่นเอง
วิดีโอไขปัญหาการก่อสร้างพีระมิดฉบับสมบูรณ์
แหม นึกว่าพีระมิดเป็นฝีมือการก่อสร้างของมนุษย์ต่างดาวซะอีกนะนี่ แต่ตอนนี้มีทฤษฏีใหม่เกิดขึ้นแล้ว คนอียิปต์โบราณฉลาดขนาดนี้เลย อย่าลืมแบ่งปันความรู้ให้คนอื่นได้เพิ่มพูนความฉลาดกันด้วยล่ะ